krusunsanee |
|
|
|
|
สามก๊ก
สามก๊กฉบับวณิพก
ผู้แต่ง ยาขอบ
วรรณคดีสโมสรในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ลงมติให้สามก๊กเป็นวรรณคดีที่เป็นยอดของความเรียงเรื่องนิทานสามก๊กมีเนื้อหาเกี่ยวกับการปกครองบ้านเมืองและการแย่งชิงอำนาจกันด้วยการใช้อุบายทางการเมืองที่แยบยลและด้วยการศึกสงครามได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆหลายภาษาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เจ้าพระยาพระคลังหนเป็นผู้อำนวยการแปลและได้มีการชำระหนังสือเล่มนี้ในปีพ.ศ.2470ซึ่งใช้วิธีให้ซินแสอ่านและอธิบายให้ฟังแล้วจึงจับความมาเขียนต่อจึงเป็นลักษณะของความเรียงมากกว่า ต่อมาก็มีแปลอีกมาก
สามก๊กเป็นหนังสืออ่านสนุกใครอ่านใครชอบเป็นที่รู้จักแพร่หลายในประเทศจีนในเมืองไทยและทั่วโลก“ตั้งแต่บุคคลระดับสูงจนถึงชาวไร่ชาวนาเด็กหนุ่มสาวถึงพ่อแก่แม่เฒ่าล้วนชอบฟังหรือชอบอ่านหนังสือชุดนี้สนทนากล่าวขานกันถึงบุคคลและเรื่องราวในสามก๊กและมักหยิบยกขึ้นมาเป็นอุทาหรณ์เสมอ”ฉบับที่น่าสนใจคือฉบับของวณิพกซึ่งเป็นฉายาของยาขอบจัดพิมพ์ขึ้นในหนังสือพิมพ์ไทยสมัยก่อนเขาสมมติเป็นวณิพกที่เล่าเรื่องราวต่างๆ เพื่อแลกเงิน
งานฉบับนี้เป็นงานที่เดินตามโครงเรื่องของภาษาอังกฤษซึ่งแปลมาจากภาษาจีนโดยตรง
ความเป็นมาของสามก๊กฉบับวณิพก“วณิพก” หมายถึง “คนขอทานโดยร้องเพลงหรือคีตสีตีเป่าให้ฟัง” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2545 กำหนดการเขียนเป็น วนิพก หรือวันนิพกก็ได้ ตามฉบับพิมพ์ครั้งแรกๆ ยาขอบเขียนเป็น “วณิพพก” เป็นการคงรูปคำบาลีไว้
ยาขอบเลือกใช้คำนี้เหมือนจะส่องใจให้เห็นว่าชอบถ่อมตนแม้จะใช้ชื่อเป็นนักประพันธ์เอก
อุปมาตัวเป็นเช่นวณิพกเล่าเรื่องสามก๊กให้ฟังเพื่อแลกเงิน ยาขอบปรารภไว้ในคำนำเรื่องกวนอูว่า
“ ด้วยสามก๊กเป็นหนังสือเรื่องใหญ่ ตัวที่นับเป็นตัวเอกมากมีหลายตัวทั้งตัวประกอบรองๆ มามีมากขึ้นอีกหลายเท่า ทั้งพฤติการณ์ซึ่งเป็นตัวสำคัญผูกพันต่อกันหลายตลบอีกเล่า ถ้าอ่านโดยขาดสมาธิหย่อนความตั้งใจอันจะกำหนดจดจำแล้วก็ทำให้ลืมเลือนและงงได้ง่ายๆ หรือแม้จะได้อ่านอย่างตั้งใจจริงจังแล้วก็ตาม แต่อ่านเพียงจบเดียวยังไม่ได้รสจริงๆของสามก๊กอยู่นั่นเอง”
“ สามก๊กเป็นเรื่องที่อ่านครั้งที่ 2 สนุกกว่าเมื่ออ่านจบครั้งแรก อ่านครั้งที่ 3 สนุกกกว่าเมื่ออ่านจบครั้งที่ 2 ด้วยเหตุนี้นับวันหนังสือสามก๊กจะหาอ่านได้ยากประการหนึ่งข้าพเจ้าจึงเกิดความคิดจะแปลงรูปสามก๊กมาสู่วงการอ่านให้ได้เป็นล่ำเป็นสันจริงจังขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้อ่านได้รู้เรื่องราวของหนังสือขนาดดีเล่มนี้ได้สะดวกขึ้นกับย่นย่อหาทางลัดให้ท่านเข้าใจถึงพฤติการณ์แต่ละคนตัวละครสำคัญๆในเรื่องง่ายขึ้นบ้างดังในหนังสืออภิธานรามเกียรติ์”.. (ช่วย พูลเพิ่ม )
เนื้อเรื่องโดยสังเขป
ในปลายสมัยราชวงศ์ฮั่น รัชกาลพระเจ้าเลนเต้ ได้มีกลุ่มโจรโพกผ้าเหลืองที่ทำให้ประชาชนเดือดร้อนไปทั่ว ชาวเมืองได้แก่ เล่าปี่ กวนอู และเตียวหุยทั้งสามเป็นพี่น้องร่วมสาบานได้ปราบโจรโพกผ้าเหลืองได้ พระเจ้าแผ่นดินจึงปูนบำเหน็จรางวัลให้เล่าปี่ไปครองเมืองเมืองหนึ่ง โดยมีกวนอู เตียวหุย เป็นทหารเอก และขุนพลหนุ่มชื่อโจโฉก็สามารถปราบโจรโพกผ้าเหลืองแตกพ่ายเช่นกันต่อมาเมื่อพระเจ้าเหี้ยนเต้ขึ้นครองราชย์ได้แต่งตั้งตั๋งโต๊ะคนอธรรมเป็นอุปราชโดยมีลิโป้เป็นทหารเอกชาวเมืองเดือดร้อนไปทั่วจากความอธรรมของตั๋งโต๊ะ มีผู้ทำอุบายให้ลิโป้ผิดใจกับตั๋งโต๊ะและฆ่าตั๋งโต๊ะตายโจโฉจึงเข้ามากุมอำนาจยกกองทัพไปปราบหัวเมืองต่างๆมีอำนาจมากต่อมาภายหลังได้เป็นเจ้าเมืองกุนจิ๋วและสู้รบกับเล่าปี่อย่าเสมอเล่าปี่พ่ายแพ้แก่โจโฉตลอดแต่เมื่อได้ขงเบ้งมาเป็นที่ปรึกษาซึ่งขงเบ้งแนะนำให้เป็นพันธมิตรกับซุนกวนผู้มีอำนาจใจดินแดนแถบลุ่มน้ำแยงซีเกียงทางใต้และร่วมมือกับจิวยี่ขุนพลของซุนกวนตีทัพโจโฉแตกพ่ายได้แต่ภายหลังเล่าปี่กับซุนกวนกลับกลายเป็นปฏิปักษ์กันทำให้สู้รบกับเมื่อพระเจ้าเหี้ยนเต้สิ้นพระชนม์ผ่านดินจีนจึงแบ่งเป็นสามก๊กดังนี้
1. ก๊กจ๊ก (ก๊กฮั่น ) ของเล่าปี่
2 .ก๊กวุ่ย ของทายาทโจโฉ
3 .ก๊กง่อ ของซุนกวน
ทั้งสามก๊กทำสงครามสู้รบกันเป็นเวลา 60ปี จึงรวมอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์องค์เดียวกัน |
|
|
โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล 70 หมู่ 2 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170 โทรศัพท์ 0 2441 3593 E-Mail:satriwit3@gmail.com
|
Generated 0.248645 sec. |
|
|
|
|
|