westbank


สุขศึกษาและพลศึกษา ม.3 สัปดาห์ที่4

อิทธิพลของสังคมที่มีผลต่อพฤติกรรมของบุคคล

5.อิทธิพลของสังคมที่มีผลต่อพฤติกรรมของบุคคล(Novabizz, 2560)

5.1อิทธิพลทางสังคม

อิทธิพลทางสังคม หมายถึง การที่พฤติกรรมของยุคคลหนึ่ง ๆ มีอิทธิพบต่อพฤติกรรมและทัศนคติของบุคคลอื่นในลักษณะท่งเดียว ส่วนการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมหมายถึง การที่พฤติกรรมของบุคคลมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมและทัศนคติซึ่งกันและกันในลักษณะที่มีการโต้ตอบ และมีปฏิกิริยาต่อกันและกัน

5.2อิทธิพลทางสังคมโดยไม่ตั้งใจ

        เนื่องจากวิชาจิตวิทยาสังคมเป็นการศึกษาบุคคลในสังคม ดังนั้น บุคคล จึงเป็นสิ่งเร้าที่มีผลต่อพฤติกรรมของเรา ซึ่งจะกระทำโดยผ่านกระบวนการ ๓ กระบวนการ คือ การเร้าการเสริมแรง และการเปรียบเทียบทางสังคม อิทธิพลทางสังคมนี้เกิดขึ้นโดยที่บุคคลอื่นไม่ได้ตั้งใจให้เกิดขึ้น ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้

5.3  การเร้าทางสังคม

ถ้าเราสังเกตพฤติการรมในชีวิตประจำวันจะพบว่า การเพียงแต่ปรากฏกายของยุคคลอื่น ๆ โดยที่เขาไม่ได้ทำอะไรเลยก็มีผลต่อพฤติกรรมของเรา เช่น เราได้ซักซ้อมการกล่าวสุนทรพจน์ไว้เป็นอย่างดีแต่เมื่อต้องพูดต่อหน้าคนจำนวนมาก เราอาจลืมข้อความบางข้อความที่เตรียมไว้แล้วก็ได้ ถ้าเราวิ่งออกกำลังกายมาพักใหญ่รู้สึกเมื่อยล้าและวิ่งช้าลงแล้ว แต่เมื่อมาพบนักวิ่งอีกกลุ่มหนึ่ง เราจะรู้สึกว่ามีกำลังและวิ่งได้เร็วขึ้น

บรูช เบอร์กุม และโดนัลด์ ลี รายงานว่า บุคคลจะกระทำพฤติกรรมมากขึ้นเมื่อมีผู้อื่นอยู่ด้วย เช่น เราขึ้นธรรมาสน์เทศน์ ซึ่งมีคนมาฟังเทศน์มากมายทุกวัย ซึ่งเราก็ขึ้นเทศน์เป็นครั้งแรก ทำให้เราเกิดความสี่น ประหม่า เสียงสั่น แต่มีนักจิตวิทยาพบว่า ถ้าให้บุคคลเรียนคำที่ไม่มีความหมายบุคคลจะเรียนได้ดี ถ้าอยู่คนเดียว หรือ เราอ่าน หนังสือ ตอนกลางคืนคนเดียวทำให้มีสมาธิ สามารกอ่านหนังสือได้ยาวนาน

โรเบิร์ต ซาจอนซ์ ได้อธิบายความแตกต่างของข้อค้นพบนี้ในลักษณะของการเร้า โดยสร้างทฤษฎีการเร้าขึ้น ทฤษฎีนี้กล่าวว่า การปรากฏกายของบุคคลอื่นจะกระตุ้นพลังงานและระดับแรงขับของเรา แรงขับที่เพิ่มขึ้นจะทำให้พฤติกรรมของบุคคลที่เด่นหรือดีอยู่แล้ว เด่นหรือดียิ่งขึ้น และทำให้พฤติกรรมที่ด้อยอยู่แล้วยิ่งด้อยลง ถ้างานง่ายหรือเป็นสิ่งที่เรียนรู้มาแล้วอย่างดี บุคคลจะทำน้าที่ได้เร็วและดีขึ้น แต่ถ้าเป็นงานที่ยากหรือซับซ้อนไม่คุ้นเคยซึ่งปกติบุคคลจะทำผิดได้ว่าย อยู่แล้ว เมื่อมีคนอื่นอยู่ด้วยจะทำให้งานนั้นดูเหมือนยากจึงและทำผิดบ่อยขึ้น

นิคโคลัส คอตเตรล ได้ขยายทฤษฎีของซาจอนซ์โดยกล่าวว่า การปรากฏกายชองผู้อื่นไม่เพียงแต่เร้าบุคคลและเพิ่มพฤติกรรมที่เด่นของบุคคลเท่านั้นแต่ยังสามารถประเมินพฤติกรรมของบุคคลด้วย                          ในการวิจัยของ คอตเตรล และคณะ พบว่าเมื่อให้ระลึกคำโดยมีผู้อื่นถูกปิดตาอยู่ด้วย การปรากฏกายของผู้อื่นไม่มีผลต่อพฤติกรรมของผู้ร่วมการทดลองแต่อย่างใดการปรากฏกายของผู้อื่นจะมีผลต่อเมื่อผู้ที่อยู่ด้วยเป็นผู้มีความสามารถที่จะประเมินพฤติกรรมของบุคคล

ดังนั้น การเร้าจึงช่วยเสริมพฤติกรรมที่เด่นอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น และทำให้พฤติกรรมที่ด้อยยิ่งด้อยลง การปรากฏกายของผู้สังเกตการณ์จะเพิ่มการตอบสนอง ที่เด่นอยู่แล้ว ให้เด่นขึนถ้าผู้สังเกตมีความสามารถในการประเมินพฤติกรรมของผู้การทำ

5.4  การเสริมแรงทางสังคม

การเสริมแรงทางสังคมยังเป็นอักวิธีหนึ่งที่บุคคลอื่นมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของเราซึ่งมนุษย์ ทำหน้าที่เป็นทั้งแหล่งที่ให้รางวัลและแหล่งของการลงโทษมนุษย์ด้วยกัน เช่นการให้รางวัล คือ พวก เงิน คะแนน การกอด การจูบ การยกย่อง เป็นต้น

การลงโทษ เช่น การขู่ การตี ทำให้รู้สึกผิด ตัดออกจากสังคม เป็นต้น

บุคคลจะให้แรงเสริมปฐมภูมิ ต่อการดำเนินชีวิต เข่น อาหาร น้ำ ที่อยู่อาศัย

บุคคลจะให้แรงเสริมทุติยภูมิ เช่น เงิน การยอมรับ ความรัก เป็นต้น ที่จริงแล้ว ตัวเงิน ไม่อาจให้รางวัลแก่เราโดยตรงได้ไม่ทำให้เราอิ่ม หรือหายกระหาย แต่สามารถนำเงินไปซื้ออาหารมาบำบัดได้ความหิวหรือกระหาย ทำให้เรามีความสุขได้

5.5  การเสริมแรงทางภาษา

เช่น พ่อแม่ มักจะใช้การเสริมแรงภาษาในการอบรมสั่งสอนลูก เช่น เมื่อลูกพูดจาไพเราะพ่อแม่ชมว่า เก่ง แต่พ่อแม่มักให้ความสนใจ และความรักแก่ลูกมากเกินไปทำให้การเสรมแรงด้อยประสิทธิภาพลง ถ้ามีคนแปลกหน้าเป็นผู้ให้อาจมีประสิทธิภารมากว่า เช่น นักวิจัยพบว่า ในการศึกษาเด็กวัยก่อนเรียนที่กำลังเล่น หยอดลูกหิน ลงหลุมอยู่นั้นเมื่อผู้ใหญ่แปลกหน้าให้แรงเสริมทางภาษา เช่น เก่ง ยอดไปเลย สุดยอด ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อการตอบสนองของเด็กมากกว่าการเสริมแรงที่พ่อแม่ให้อย่างมาก

เชสเตอร์ อินสโกะ ได้ศึกษาอิทธิพลของการเสริมแรงทางภาษาที่มีต่อทัศนคติและความเชื่อของบุคคล โดยการสัมภาษณ์นักศึกษากลุ่มหนึ่งทางโทรทัศน์ เกี่ยวกับ ความรู้สึกทั่มีต่อการจัดงานฉลองฤดูใบไม้ผลิวานหนึ่ง ครึ่งของนักศึกษาจำนวนนั้นจะได้รับการเสริมแรงทางภาษาว่า ดีทุกครั้งที่พูดสนับสนุน การจัดงานส่วนอีกครึ่งหนึ่งจะได้รับรางวัลเมื่อพูดต่อต้านการจัดงานส่วนอีกครึ่งหนึ่งจะได้รับรางวัลเมื่อพูดต่อต้านการจัดงาน หนึ่งอาทิตย์ต่อมา อินสโกะ สำรวจความคิดเห็นทั่ว ๆ ไปของนักศึกษาทั้งหมด โดยมีคำถามอยู่ข้อหนึ่งในคำถามทั้งหมดที่จะถามความคิดเห็นต่อการจัดงานดังกล่าว พบว่า นักศึกษาที่ได้รับแรงเสริมเมื่อต่อต้านการจัดงาน แสดงว่าการเสริมแรงทางภาษาที่ใช้เมื่อสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์มีผลต่อทัศนคติและ ความคิดเห็นในระยะหลังของนักศึกษา

การเสริมแรงทางสังคมสามารถแสดงออกได้หลายรูปแบบ นอกเหนือจากการเสริมแรงงทางภาษา การแสดงการยอมรับอาจกระทำได้โดยไม่ต้องพูด เพียงแต่ยิ้ม พยักหน้า หรือแม้แค่ประสานสายตาก็แสดงถึงการยอมรับ การใช้ภาษาท่าทางเพื่อแสดงการยอมรับ หรือเพื่อเป็นการให้แรงเสริมทางสังคมนี้ สามารถมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคลเช่นกัน และสามารถนำไปใข้ได้ในหลายลักษณะการเพื่อให้เกิดพฤติกรรมที่เราต้องการ เช่น นักจิตวิทยาคลีนิคอาจจะนำไปใช้กับคนป่วย หรือแม้แต่นักการเมืองก็สามารถนำไปใช้ได้เป็นอย่างดี




file:///C:/Users/Win10.DESKTOP-02U1C5E/Downloads/
%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0
%B8%B5%E0%B9%88%204%20%E0%B8%AD%
E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B
8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%97
%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8
%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1.pdf

โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
70 หมู่ 2 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170
โทรศัพท์ 0 2441 3593 E-Mail:satriwit3@gmail.com


Generated 0.005777 sec.