krusunsanee


ความงามในภาษา
ความงามในภาษา โดย รองศาสตราจารย์จารุณี กองพลพรหม

  
วรรณศิลป์ คือ ความงามในภาษา  เกิดจากเสียง คำ ความหมาย
       คำใช้ภาษาสื่อสร้างสรรค์ แสดงออกมาเป็นภาษา เป็นร้อยแก้ว ร้อยกรอง เป็นภาษาประณีต ผู้รับสารจะประทับใจถ้อยคำที่ เรียบเรียง การเขียนด้วยถ้อยคำไพเราะ ใช้ศิลปะ 
     ศิลปะการประพันธ์ 

     1. การสรรคำ 

          1.1 เลือกคำที่มีความหมายเหมาะสมกับเนื้อเรื่องและฐานะของบุคคลในเรื่อง เช่น นิทานใช้ว่า กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว         
          1.2 เลือกคำโดยเพ่งเล็งเสียงของคำ 
            Embarassed สัทพจน์ การเลียงเสียงธรรมชาติ เช่น ตะแล้กแต้กแตก จะแหลกแล้วจ้า 
            Foot in mouth การเล่นคำ เช่น
         นางนวลจับนางนวลนอน   เหมือนพี่แนบนวลสมรจินตรา 
            Innocent การซ้ำคำ เช่น
         รอนรอนสุริยโอ้    อัสดง
       เรื่อยเรื่อยลับเมรุลง ค่ำแล้ว 
            Surprised อัพภาส เป็นการซ้ำคำ เช่น วะวาว ระรื่น ยะยิ้ม 
            Kiss การเล่นเสียงสัมผัส สัมผัสพยัญชนะ สัมผัสสระ 
            Sealed การเล่นเสียงวรรณยุกต์ เช่น ว่างเว้น โน่นโน้น 
            Wink   คำไวพจน์(การหลากคำ) คำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน บางคำอาจใช้แทนกันได้ บางคำใช้ในบทร้อยกรอง เช่น
                คำที่มีความหมายสวยงาม กัลยาณ ขจี เจริด จรูญ จำรูญ ฉลวย แฉล้ม ไฉไล เฉิด เฉิดฉาย ตรู พริ้มเพรา ประไพ ผุดผาด พรรณรายพริ้มเพรา รางชาง รูจี ลออ ลาวัณย์ ลำเพา สาหรี สิงคลิ้ง สุรางค์ โสภณ โสภา เสาวลักษณ์ อรชร อร่ามอล่องฉ่อง ออนชอน อะเคื้อ อันแถ้ง แอร่ม โอ่อ่า
            ฉูดฉาดบาดตา = สีจัดมาก
            กระจุ๋มกระจิ๋ม = น่ารัก
            ชั่วช้าสามานย์ = เลวทราม
            กระเจิดกระเจิง = กระจายไป
            ชั่วดีถี่ห่าง = ชั่ว
            กระฉับกระเฉง =  คล่องแคล่วตรงข้ามเฉื่อยชา
        1.3 กลวิธีเรียบเรียงคำ 
            Cool เรียงข้อความที่บรรจุสารสำคัญไว้ข้างท้ายสุด 
                เช่น ผู้มีปัญญา จิตใจงามย่อมเป็นผู้ชนะ 
            Money mouth เรียงคำ วลี หรือประโยคที่มีความสำคัญเท่า ๆ กัน เคียงกันไป เช่น 
               รัฐบาลของประชาชน โดย ประชาชน คือรัฐบาลที่คนไทยปรารถนา 
             Innocent เรียงประโยคให้เนื้อเข้มข้นขึ้นไปตามลำดับ ดุจขึ้นบันไดจนถึงขั้นสุดท้ายซึ่งสำคัญที่สุด เช่น 
             ข้าพเจ้าเกิดมาแล้ว แม้ข้าพเจ้าจะยากจน ข้าพเจ้าจะต่อสู้ต่อไป 
            Laughing  เรียงประโยคให้มีเนื้อหาเข้มข้นขึ้นไปตามลำดับแต่คลายความเข้มข้นลงในช่องหรือประโยค สุดท้ายอย่างฉับพลัน
       เช่น ผู้ก่อการร้ายจับตัวประกัน 3,000 คน ตัวประกันร้องขอชีวิต รัฐบาลเจรจาต่อรอง ผู้ก่อการร้ายยังคงเรียกร้องเครื่องบินยานพาหนะ รัฐบาลตัดสินใจขั้นเด็ดขาด ในที่สุดผู้ก่อการร้ายปล่อยตัวประกันอย่างปลอดภัย 
             Yell เรียบเรียงถ้อยคำให้เป็นประโยคคำถามเชิงวาทศิลป์ เช่น 
            ใครหวังไม่ต้องการความรัก ใครบ้างไม่ต้องการความสมบูรณ์พูนสุข 

       กวีโวหารและสำนวนโวหาร
        สำนวนโวหารใช้อธิบายร้อยแก้ว สร้างจินตภาพเป็นภาษาสละสลวย เป็นท่วงทำนองในการเขียนเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจ เกิดความรู้สึกตรงตามความมุ่งหมายของผู้เขียน โวหารจึงเป็นไปตามประเภทและความมุ่งหมายของเนื้อเรื่อง โวหารมีประเภท
         บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร และเทศนาโวหาร และโวหารย่อยซึ่งใช้แทรกในโวหารใหญ่ 2 ชนิด คือ อุปมาโวหาร และสาธกโวหาร
        ลักษณะของโวหาร
            1. บรรยายโวหารหรืออธิบายโวหาร คือ กระบวนความแจกแจงเรื่องอย่างละเอียดแจ่มแจ้ง หรือให้ ผู้อ่านเข้าใจและเห็นจริงแจ่มชัด โวหารชนิดนี้ใช้กับเรื่องทำนองประวัติ ตำนาน ความรู้ทางวิชาการ
            2. พรรณนาโวหาร เป็นกระบวนความเล่าเรื่องเพื่อโน้มน้าวใจผู้อ่านให้เกิดภาพพจน์ อารมณ์คล้อยตามไปกับข้อความนั้น ๆ โวหารชนิดนี้ใช้กับเรื่องสดุดีชมถิ่นฐานบ้านเมือง กล่าวถึงลักษณะ รูปพรรณสัณฐานหรือคุณสมบัติของสิ่งต่าง ๆ 
            3. เทศนาโวหารหรือภิปรายโวหาร คือ กระบวนความโน้มน้าวผู้อ่านให้เกิดความเห็น ความเชื่อ เห็นดีเห็นงามไปกับข้อความนั้น โวหารชนิดนี้ใช้กับเรื่องที่เป็นคำสอน โอวาท การอภิปราย ชักชวน หรือโต้แย้ง
           4. อุปมาโวหาร คือ กระบวนความเปรียบเทียบใช้แทรกในพรรณนาโวหาร เพื่อช่วยให้ข้อความแจ่มชัดคมคาย และเห็นภาพพจน์

         กวีโวหาร ใช้เขียนร้อยกรอง การสร้างจินตภาพหรือภาพในจิตมีหลายวิธี
            1. การสร้างจินตภาพ โดยการกล่าวอย่างตรงไปตรงมา 
            2. การใช้โวหารเป็นการใช้ภาษาเพื่อใช้ภาษา เพื่อให้เกิดจินตภาพเกิดความรู้สึก อารมณ์หรือสื่อภาษาให้เกิดภาพพจน์ (Figure of Speech) มีดังนี้ 

              Yell  อุปมา เป็นการเปรียบเทียบสิ่งสิ่งหนึ่งเหมือนสิ่งหนึ่ง ใช้คำว่า เหมือน ประดุจ ดัง ปูน เพียง ราว เสมือน
               เสร็จเสวยศวรรเวศอ้าง   ไอศูรย์ สรวงฤา
               เย็นพระยศปูนเศียร         เด่นฟ้า 

               Surprised อุปลักษณ์ เป็นการเปรียบเทียบเป็นสิ่งหนึ่ง เช่น          อำมาตย์เป็นบรรทัดถ่องแท้
              พ่อตายคือฉัตรกั้นจะหายหัก  
 
             Embarassed  บุคคลวัต หรือบุคคลสมมุติ สมมุติให้สิ่งต่าง ๆ มีอากัปกิริยา อาการความรู้สึกเหมือนมนุษย์หรือใช้ คำว่าบุคลาธิษฐาน 
        น้ำเซาะหินรินรินหลากไหว ไม่หลับเลยชั่วฟ้าดินหาย 
        ดาวกระพริบริบหรี่เหมือนหนึ่งขยิบตาให้ท้าย 
  
             Laughing. อติพจน์ อธิพจน์ เป็นโวหารกล่าวเกินความจริง อวพจน์ โวหารที่ต่ำกว่าความเป็นจริง 
              คิดถึงใจจะขาด หิวจนแสบไส้

             Kiss นามนัย การใช้ชื่อส่วนประกอบที่เด่นของสิ่งหนึ่ง แทนสิ่งหนึ่ง เช่น 
            ว่านครามินทร์      ผลัดแผ่นดินเปลี่ยนราชย์
            เยียววิวาทชิงฉัตร
            ดอกไม้ แทน ผู้หญิง 
           ราชสีห์ แทน ผู้มีอำนาจ ความน่าเกรงขาม 

           Foot in mouth สัญลักษณ์ การใช้สิ่งหนึ่งแต่มีความหมายคุณสมบัติร่วมกัน เช่น
          มด เป็นสัญลักษณ์ของความขยัน สีเขียว เป็นสัญลักษณ์ความอุดมสมบูรณ์ ป่าคอนกรีต เป็นสัญลักษณ์เมืองหลวง 

         Money mouth อุปมานิทัศน์ นำเรื่องนิทานเป็นตัวอย่าง ดังเช่นเรื่องความสามัคคี จิตกุศล 
         Yell  ปฏิพากย์ คือ การใช้โวหารบอกความตรงข้าม 
      เสียงน้ำซึ่งกระซิบสาดปราศจากเสียง จักรวาลวุ่นวายไร้สำเนียง 

         Surprised สัทพจน์ คือ การใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติ 
             ครืนครืน ใช้ฟ้าร้อง เรียมครวญ

แหล่งที่มา
http://www.thaiunigo.com/download/thai/Thai1_main.pdf สืบค้นเมื่อ 5พ.ย.54

โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
70 หมู่ 2 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170
โทรศัพท์ 0 2441 3593 E-Mail:satriwit3@gmail.com


Generated 0.005619 sec.