krusunsanee |
|
|
|
|
นิทานพื้นบ้าน
นิทาน นิทานคือ เรื่องเล่าสืบต่อกันมา เป็นวรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุด กล่าวกันว่านิทานมีกำเนิดพร้อม ๆ กับครอบครัวของมนุษยชาติ มูลเหตุที่มาแต่เริ่มแรก คงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงแล้วเล่าสู่กันฟัง มีการเพิ่มเติมเสริมแต่งให้พิสดารมากยิ่งขึ้น จนห่างไกลจากเรื่องจริง กลายเป็นนิทานไปการเขียนนิทาน เป็นการเขียนจากจินตนาการ ผู้เขียนจะต้องมีศิลปะในการเขียน โดยเขียนให้สนุกและมีคุณค่าแก่ผู้อ่าน องค์ประกอบของนิทาน 1. แนวคิดหรือแกนของเรื่อง หรือสารัตถะของเรื่อง แนวคิดของเรื่องนิทาน มักเป็นองค์ประกอบพื้นฐาน ง่าย ไม่ลึกซึ้งนัก เช่น แนวคิดเรื่องแม่เลี้ยงข่มแหงลูกเลี้ยง การทำความดีจะได้ผลดีตอบสนอง 2. โครงเรื่องของนิทาน มักสั้น กะทัดรัด เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน เป็นลักษณะเรื่องเล่าธรรมดา โดยดำเนินเรื่องไปตามลำดับเหตุการณ์ก่อนหลัง 3. ตัวละคร ไม่ควรมีหลายตัว เพราะเป็นเรื่องสั้น ๆ จะน่าอ่านกว่า เรื่องยาวๆ ตัวละครอาจเป็นคน สัตว์ เทพเจ้า นางฟ้า มนุษย์ อมนุษย์ ฯลฯ 4. ฉาก เป็นภาพจินตนาการที่ผู้เขียนสร้างขึ้น ให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง 5. ถ้อยคำหรือบทสนทนา ที่ตัวละครในเรื่องพูดกัน ควรใช้ภาษาที่กะทัดรัด เข้าใจง่าย สนุกสนานชวนติดตาม 6. คติชีวิต นิทานที่ดีต้องมีข้อคิดเกี่ยวกับชีวิต สังคม และวัฒนธรรม เพื่อเป็นการปลูกฝังคุณธรรมแก่ผู้อ่าน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้เยาว์ ดังนั้น ในตอนท้ายของนิทานมักสรุปคติชีวิตให้เป็นเครื่องเตือนใจผู้อ่านด้วย
ประเภทของนิทาน 1.ประเภทเทพนิยายหรือปรัมปรา (Fairy tale) เป็นเรื่องเกี่ยวกับเทวดา นางฟ้า เรื่องมหัศจรรย์เหนือธรรมชาติ เป็นความฝันและจินตนาการของผู้แต่ง เรียกหลายอย่างเช่น นิทานมหัศจรรย์ นิทาน บรรพบุรุษ เรื่องราวมักเกี่ยวข้องกับราชสำนัก เจ้าหญิง เจ้าชาย มีแม่มด มียักษ์ สัตว์ประหลาด ตัวละครที่ดีจะเป็นฝ่ายชนะ เช่น เรื่องพระอภัยมณี คาวี สังข์ทอง พระสุธน มโนห์รา ฯลฯ 2. ประเภทชีวิตจริง (Novella) เป็นเรื่องที่ดำเนินอยู่ในโลกของความจริง มีการบ่งสถานที่และตัวละครชัดเจน อาจมีปาฏิหาริย์อิทธิฤทธิ์แต่เป็นไปในลักษณะที่เป็นไปได้ โดยใช้สถานที่ เวลา ตัวละครที่มา จากความจริง เช่น ขุนช้างขุนแผน พระอภัยมณี (บางส่วนที่มาจากชีวิตจริงของผู้แต่ง) พระลอ พระรถเมรี พระร่วง ไกรทอง เป็นต้น 3. ประเภทวีรบุรุษ (Hero tale) เป็นเรื่องที่มีหลายตอนขนาดยาว อาจคล้ายชีวิตจริงหรือจินตนาการ เป็นเรื่องเล่าที่กล่าวถึงวีรบุรุษที่ต้องผจญภัยที่มีลักษณะเหนือมนุษย์ เช่น เรื่อง เฮอร์คิวลิส เซซีอุ สและเพอร์ซีอุสของกรีก เป็นต้น 4. ประเภทนิทานประจำถิ่น (Sage) มักเป็นเรื่องแปลกพิสดารซึ่งเชื่อว่า เคยเกิดขึ้นจริง ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่ง บ่งบอกสถานที่และตัวละครชัดเจน อาจมาจากประวัติศาสตร์ อาจเป็นไปได้ทั้งมนุษย์ สัตว์ เทวดา ผี เช่น เรื่อง พระยาพาน พระร่วง เจ้าแม่สร้อยดอกหมาก ตาม่องล่าย ท้าวปาจิตกับนางอรพิม เป็นต้น 5. ประเภทเล่าอธิบายเหตุ (Explanatory tale) เป็นเรื่องอธิบายกำเนิด ความเป็นมาของสิ่งที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ กำเนิดของสัตว์ว่าเหตุใดจึงมีรูปร่างลักษณะ ต่าง ๆ กำเนิดของพืช มนุษย์ ดวงดาวต่าง ๆ เป็น ต้น เช่น ทำไมจระเข้จึงไม่มีลิ้น กำเนิด ดาวลูกไก่ กำเนิดจันทรคราส เป็นต้น 6. ประเภทเทพปกรณัมหรือเทวปกรณ์ (Myth) เป็นเรื่องอธิบายถึงกำเนิดของจักรวาล มนุษย์ สัตว์ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น ลม ฝน กลางวัน กลางคืน ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า แสดงถึงความเชื่อทางศาสนา มี เรื่องของเทพที่เรารู้จักกันดี เช่น เมขลา รามสูร เป็นต้น 7. ประเภทสัตว์ (Animal tale) เป็นเรื่องที่มีสัตว์เป็นตัวเอก โดยจะแสดงให้เห็นความฉลาดและความโง่เขลาของสัตว์ โดยเจตนาจะมุ่งสอนจริยธรรมหรือคติธรรม ซึ่งจัดเป็นเรื่องประเภทให้คติสอนใจ เช่น นิทานอีสป และปัญจะตันตระ 8. ประเภทมุขตลก (Merry tale) เป็นเรื่องขนาดสั้นอาจเป็นเรื่องเกี่ยวกับมนุษย์ หรือสัตว์ จุดสำคัญของเรื่องอยู่ที่ความไม่น่าเป็นไปได้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความโง่ ความฉลาด การใช้กลลวง การแข่งขัน การ ปลอมแปลง ความเกียจคร้าน เรื่องเพศ ก ารโม้ คนหูหนวก นักบวช พระกับชี ลูกเขยกับแม่ยาย ศรีธนญชัย กระต่ายกับเต่า เป็นต้น 9. ประเภทศาสนา (Religious tale) เป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา เช่น เรื่องเล่าเกี่ยวกับพระเยซู นักบุญ พระพุทธเจ้า พระสาวก ซึ่งไม่มีในพระไตรปิฎกอยู่หลายเรื่อง ซึ่งทรรศนะของผู้เล่ามักถือว่าเป็นเรื่องจริง 10. ประเภทเรื่องผี เป็นเรื่องเกี่ยวกับผีต่าง ๆ ซึ่งไม่ปรากฏชัดว่ามาจากไหน เกิดอย่างไร เช่น ผีบ้าบ้องและผีปกกะโหล้งของไทยภาคเหนือ หรือผีที่เป็นคนตายแล้วมาหลอกด้วยรูปร่างวิธีการต่าง ๆ มีผีกอง กอย ฯลฯ 11. ประเภทเข้าแบบ (Formular tale) เป็นเรื่องที่มีโครงเรื่องสำคัญเล่าเพื่อความสนุกสนานของผู้เล่า และผู้ฟังอาจมีการเล่นเกม แบ่งเป็นนิทานลูกโซ่ เช่นเรื่องตากับยายปลูกถั่วปลูกงาให้หลานเฝ้า นิทาน หลอกผู้ฟัง นิทานไม่รู้จบ เช่นเกี่ยวการนับจะเล่าเรื่อยไปแต่เปลี่ยนตัวเลข
นิทานพื้นบ้าน หมายถึงเรื่องที่เล่าสืบกันเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ส่วนใหญ่ถ่ายทอดด้วยวาจา แต่ก็มีจำนวนมากที่ได้รับการบันทึกไว้ นิทานพื้นบ้านปรากฏอยู่ในทุกๆ วัฒนธรรม มีทั้งความแตกต่าง หลากหลาย และความเหมือน มีความสำคัญในการเข้าถึงวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชน ทั้งนี้ จำแนกความสำคัญของนิทานพื้นบ้านได้เป็น 3 ประการ 1.ให้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของเจ้าของนิทาน เช่น ความรู้เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ จารีตประเพณี ความเชื่อ ค่านิยม สภาพเศรษฐกิจ ภูมิประเทศ และถิ่นฐานบ้านเรือน ทั้งรูปแบบการเล่านิทานที่ใช้คำประพันธ์เข้ามาช่วย เช่น แหล่ เทศน์ เสภา ยังสร้างความงามด้านรูปแบบอีกโสดหนึ่ง ดังนั้นหากเยาวชนได้เรียนรู้นิทานพื้นบ้านของตนจึงเป็นช่องทางในการรู้ตนเอง สามารถอธิบายตนเองได้ รวมทั้งอาจจะบอกได้ถึงข้อดีและข้อจำกัดในวัฒนธรรมนั้นๆ ของตนได้ 2.ให้ความสนุกสนานเพลิด เพลิน ปกติแล้วผู้เล่านิทานมักเป็นผู้ใหญ่หรือผู้มีประสบ การณ์ และผู้ฟังมักจะเป็นเด็กหรือมีประสบการณ์น้อยกว่า การเล่านิทานพื้นบ้านเป็นกิจกรรมที่ยังความชื่นชอบในผู้ฟังทุกหมู่ทุกเหล่า ปัจจุบันการเล่านิทานก็ยังมีอยู่ทั่วไป เพียงเปลี่ยนไปตามสถานการณ์หรือผู้ฟังเท่านั้น 3.สอนหรือสอดแทรกศีลธรรม จริยธรรม คุณธรรม หรือให้คติเตือนใจ เช่น นิทานชาดก นิทานอีสป นิทานสุภาษิต นิทานในศาสนาต่างๆ นิทานเหล่านี้ล้วนสอนให้ผู้ฟังได้ตระหนักถึงคุณธรรมที่พึงประสงค์ทั้งทางโลกและทางธรรม เช่น สอนให้ไม่เห็นแก่ตัว สอนให้ยึดมั่นในพระผู้เป็นเจ้า สอนให้ระวังการใช้คำพูด ฯลฯ กระตุ้นความเป็นวีรบุรุษ พัฒนาศรัทธาที่มีต่อศาสนา และเพื่อหลบหลีกความจำเจในชีวิตประจำวัน มีบทบาทสำคัญทั้งในด้านการให้การศึกษา ให้ความบันเทิง และเป็นแบบอย่างพฤติกรรมที่สังคม วัฒนธรรมแต่ละแห่งประสงค์ การรวบรวมนิทานพื้นบ้านอย่างเป็นระบบเริ่มขึ้นเมื่อ ค.ศ.1822 คืองานของ 'พี่น้องตระกูลกริมม์-Grimm' รวบรวมนิทานพื้นบ้านเยอรมัน ซึ่งการรวบรวมครั้งนี้แตกต่างจากการรวบรวมในยุคก่อนหน้า ในแง่ที่ว่าไม่ใช่เป็นการแสดงรายการของนิทานพื้นบ้าน แต่รวมถึงการวิเคราะห์เชิงวิชาการด้วยการเปรียบเทียบนิทานพื้นบ้านเยอรมันกับเทพนิยายของกรีกและโรมันโบราณ รวมทั้งจินตกวีนิพนธ์ของอินเดีย กริมม์พบว่านิทานเหล่านี้มีเนื้อหาหลักหรือแก่นร่วมกัน นำไปสู่ทฤษฎีที่ว่า เมื่อชาวอินโดยูโรเปียนละเลยทอดทิ้งศาสนาของพวกเขาที่มีร่วมกัน เทพนิยายก็ได้เปลี่ยนแปรรูปแบบไปเป็นนิทานพื้นบ้าน ความเกี่ยวโยงระหว่างศาสนาและนิทานพื้นบ้านเป็นสิ่งสำคัญ เพราะถ้านิทานพื้นบ้านไม่มีความเกี่ยวโยงกับศาสนา การศึกษานิทานพื้นบ้าน (ความเชื่อในเรื่องที่นอกเหนือจากธรรมชาติ) ก็จะดูเหมือนว่าเป็นศาสตร์ที่ไม่เหมาะสมที่จะศึกษาเชิงวิชาการ ลูกศิษย์ของกริมม์พัฒนาความคิดในแนวนี้ต่อไป โดยกล่าวว่านิทานพื้นบ้านทั้งหมดมีที่มาจากเทพนิยาย และเมื่อนักวิชาการเหล่านี้ไม่สามารถค้นหาเทพนิยายเพื่อที่จะใช้ในการอธิบายนิทานพื้นบ้านได้ พวกเขาก็จะสร้างเทพนิยายขึ้นมาเอง นี่เป็นจุดเริ่มต้นของการค้นหา 'ความหมายข้างใน' ของนิทานพื้นบ้าน นอกเหนือจากคุณค่าของนิทานในแง่ให้ความเพลิดเพลิน ประเภทของนิทานพื้นบ้าน การแบ่งนิทานพื้นบ้านออกเป็นประเภทต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ต่อการศึกษา แบ่งไว้หลายคนดังนี้ กุหลาบ มัลลิกามาส แบ่งประเภทนิทานพื้นบ้าน ออกเป็น ๔ แบบ ดังนี้ ๑. แบ่งนิทานตามเขตพื้นที่ เป็นการแบ่งโดยอาศัยเขตแดนทางภูมิศาสตร์ เช่น เขตอินเดีย เขตประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม เขตประเทศอังกฤษ เป็นต้น ๒. แบ่งตามรูปแบบของนิทาน แบ่งได้เป็น ๕ ประเภท ดังนี้ ๒.๑ นิทานปรัมปรา มีลักษณะเป็นเรื่องค่อนข้างยาว มีสารัตถะหลายสารัตถะ ประกอบอยู่ในนิทานนั้น เนื้อเรื่องประกอบด้วยอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ตัวเอกของเรื่องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติพิเศษ เช่น เป็นผู้มีอำนาจ มีบุญหรือมีฤทธิ์เดช อาวุธวิเศษมากมาย ๒.๒ นิทานท้องถิ่น นิทานชนิดนี้มีขนาดสั้นกว่านิทานปรัมปรา มักเป็นเรื่องเหตุการณ์เดียวและเกี่ยวกับความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี โชคลางหรือคตินิยมอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเป็นพื้นฐานของคนในแต่ละท้องถิ่น แม้ว่าจะเป็นเรื่องแปลกพิสดาร มีเค้าความจริง มีตัวละครจริงๆ มีสถานที่เกิดจริงที่กำหนดแน่นอน นิทานท้องถิ่นอาจจำแนกออกได้ดังนี้ ๒.๒.๑ นิทานอธิบาย เช่น อธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ ของธรรมชาติ อธิบายสาเหตุของความเชื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวกับสถานที่ ตลอดจนโบราณสถานที่สำคัญ ๒.๒.๒ นิทานเกี่ยวกับความเชื่อต่าง ๆ เช่น โชคลาง เรื่องผีตลอดจนเรื่องเกี่ยวกับไสยศาสตร์ ๒.๒.๓ นิทานเกี่ยวกับสมบัติที่ฝังไว้และลายแทง แนะให้ไปหาสมบัตินั้น ๆ ๒.๒.๔ นิทานวีรบุรุษ คือ เรื่องเกี่ยวกับคุณธรรม ความฉลาด ความสามารถและความกล้าหาญของบุคคล มักมีกำหนดสถานที่ที่แน่นอนว่าเป็นที่ใดและมีกำหนดเวลาของเรื่องที่แน่นอน ๒.๒.๕ นิทานคติสอนใจ เป็นเรื่องสั้น ไม่สมจริง มีเจตนาจะสอนความประพฤติอย่างใดอย่างหนึ่ง ๒.๒.๖ นิทานเกี่ยวกับนักบวชต่าง ๆ เป็นเรื่องเกี่ยวกับอภินิหารของผู้บวชที่เจริญภาวนาจนมีญาณแก่กล้า มีฤทธิ์พิเศษ ๒.๓ นิทานเทพนิยาย หมายถึง นิทานที่มีเทวดา นางฟ้า เป็นตัวละครในเรื่องนั้น เช่น พระอินทร์ หรือเป็นแต่เพียงกึ่งเทวดา เช่น เจ้าป่า เจ้าเขา เจ้าแม่ต่าง ๆ และมักมีส่วนสัมพันธ์กับความเชื่อทางศาสนาและพิธีกรรมทางศาสนา ๒.๔ นิทานเกี่ยวกับสัตว์ มีตัวละครในเรื่องเป็นสัตว์ทั้งที่เป็นสัตว์ป่า สัตว์บ้าน และบางเรื่องก็มีคนมาเกี่ยวข้องอยู่ด้วย ไม่ใช่มีแต่สัตว์ล้วน แต่ทั้งคนและสัตว์นั้นจะพูดโต้ตอบกันเสมือนหนึ่งว่าเป็นมนุษย์ แบ่งย่อยออกเป็น ๒ ประเภท คือ ๒.๔.๑ นิทานประเภทสอนคติธรรม นิทานประเภทนี้ตัวเอกของเรื่องจะต้องเป็นสัตว์เสมอ ๒.๔.๒ นิทานประเภทเล่าซ้ำหรือเล่าไม่จบ นิทานชนิดนี้มีเรื่องและวิธีการเล่าเป็นแบบเฉพาะ มีการเล่าซ้ำวนคือไม่มีจบ ๒.๕ นิทานตลกขบขัน มักเป็นเรื่องสั้น ๆ จุดสำคัญของเรื่องอยู่ที่มีเรื่องที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ต่าง ๆ อาจเป็นเรื่องเกี่ยวกับความโง่ กลโกง การแก้เผ็ด การแสดงปฏิภาณไหวพริบ การพนันขันต่อ การเดินทางและการผจญภัยที่ก่อเรื่องผิดปรกติ ในแง่ขบขันต่าง ๆ เขียนโดย ครูแขก ที่ 2:37
คุณค่าของนิทานพื้นบ้าน นิทานพื้นบ้านมีคุณค่าหลายประการ ดังนี้ ๑. นิทานให้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน ๒. นิทานช่วยกระชับความสัมพันธ์ในครอบครัว ๓. นิทานให้การศึกษาและเสริมสร้างจินตนาการ ๔. นิทานให้ข้อคิดและคติเตือนใจ ๕. นิทานช่วยสะท้อนให้เห็นสภาพของสังคมในอดีตหลายๆด้าน เช่น ลักษณะของสังคมวิถีชีวิตของประชาชนในสังคม ตลอดจนประเพณี ค่านิยมและความเชื่อ เป็นต้น
แหล่งที่มา http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/thai04/32/tale_world/the%20meaning%20of%20a%20tale.htm http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/thai04/32/tale_world/a%20kind%20of%20a%20tale.htm เขียนโดย ครูแขก ที่ 2:37 http://blog.eduzones.com/togoo/1446 http://kkfolklore.blogspot.com/2008/06/blog-post_23.html สืบค้นเมื่อ14 พ.ย.2554 |
|
|
โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล 70 หมู่ 2 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170 โทรศัพท์ 0 2441 3593 E-Mail:satriwit3@gmail.com
|
Generated 0.006057 sec. |
|
|
|
|
|