krupads


กาพย์เห่เรือ
  เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด

๑.  เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรทรงแฝงเรื่องของท่านไว้อย่างค่อนข้างชัดเจน
      ในกาพย์เห่เรือตอนหนึ่งว่า

ก.     นวลจันทร์เป็นนวลจริง                เจ้างามพริ้งยิ่งนวลปลา

       คางเบือนเบือนหน้ามา                 ไม่งามเท่าเจ้าเบือนชาย

ข.     ลำดวนหวนหอมตรลบ                 กลิ่นอายอบสบนาสา

       นึกถวิลกลิ่นบุหงา                       รำไปเจ้าเศร้าถึงนาง

ค.     เห็นฝูงยูงรำฟ้อน                       คิดบังอรร่อนรำกราย

        สร้อยทองย่องเยื้องชาย             เหมือนสายสวาทนาดนวยจร

ง.     แต่เช้าเท่าถึงเย็น                       กล้ำกลืนเข็ญเป็นอาจิณ

       ชายใดในแผ่นดิน                        ไม่เหมือนพี่ที่ตรอมใจ

 ๒.  คำที่ขีดเส้นใต้ในคำประพันธ์   ข้อใดมีความหมายต่างจากข้ออื่น

ก.     เลียงผาง่าเท้าโผน              เพียงโจนไปในวารี

ข.     ดนตรีมี่อึงอล                    ก้องกาหลพลเห่โหม

ค.     กรีธาหมู่นาเวศ                 จากนคเรศโดยสาชล

ง.     เหิมหื่นชื่นกระมล               ยลมัจฉาสารพันมี

.  รูปสัตว์ที่โขนเรือพระที่นั่งในกาพย์เรือสะท้อนค่านิยมที่เกี่ยวกับ
      พระมหากษัตริย์ในแง่ใด

ก.     ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของพสกนิกรทั้งหมด

ข.     พระบรมเดชานุภาพยิ่งใหญ่สมกับสมมุติเทพ

ค.     ความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองเป็นเพราะพระบารมี

ง.     การยอพระเกียรติเป็นเนื้อหาหลักประการหนึ่งของวรรณคดี

 ๔.  ข้อใดไม่ได้สะท้อนลักษณะทางวัฒนธรรม

ก.     น้ำเงินคือเงินยวง                 ขาวพรายช่วงสีสำอาง

       ไม่เปรียบเทียบโฉมนาง           งามเรืองเรื่อเนื้อสองสี

ข.     หางไก่ว่ายแหวกว่าย             หางไก่คล้ายไม่มีหงอน

       คิดอนงค์องค์เอวอร               ผมประบ่าอ่าเอื่ยมไร

ค.     โนรีสีปานชาด                     เหมือนช่างฉลาดวาดแต้มลาย

       ไม่เท่าเจ้าโฉมฉาย                 ห่มตาดพรายกรายกรมา

ง.     งานทรงวงดั่งวาด                  งามมารยาทนาดกรกราย

       งามพริ้มยิ้มแย้มพราย             งามคำหวานลานใจถวิล

 ๕.  แต่เช้าเท่าถึงเย็น               กล้ำกลืนเข็ญเป็นอาจิณ

      ชายใดในแผ่นดิน             ไม่เหมือนพี่ที่ตรอมใจ

      ข้อใดเป็นประเด็นสำคัญของคำประพันธ์บทนี้ 

       ก.  ความทุกข์เพราะความรัก       
       ข.  ความทุกข์ที่มีอยู่ตั้งแต่เช้าจนเย็น

       ค.  ความโศกเศร้าที่ไม่เคยเสื่อมคลายง. 
       ง.ความทุกข์ระทมใจที่ไม่มีใครเหมือน
 ๖.  “ยามสองฆ้องยามย่ำ            ทุกคืนค่ำย่ำอกเอง
       เสียงปี่มีครวญเครง              เหมือนเรียมร่ำคร่ำครวญนาน”     
       ความในข้อใดวัฒนธรรมไทยโบราณได้ตรงกับความข้างบนมากที่สุด
       ก.  การบอกเวลา                   
       ข.  การผลัดเปลี่ยนเวรยาม 
      
       ค.  การบอกเวลาเปลี่ยนยาม   
       ง.  การบอกเวลาออกเวรและเข้ารับเวรใหม่
๗.  คำประพันธ์ข้อใดแสดงถึงความสัมพันธ์อันลึกซึ้งของบุคคลได้แยบยลที่สุด
        ก.  แก้มช้ำช้ำใครต้อง                 อันแก้มน้องช้ำเพราะชม
        ข.  เนื้ออ่อนอ่อนแต่ชื่อ               เนื้อน้องหรืออ่อนทั้งกาย          ค.  รวยรินกลิ่นรำเพย                  คิดที่เคยเชยกลิ่นปราง       
        ง.  เหมือนพี่นี้ประคอง                รับขวัญน้องต้องมือเบา
๘.  ข้อใดไม่ได้สะท้อนลักษณะทางวัฒนธรรม
       ก.  น้ำเงินคือเงินยวง                       ขาวพรายช่วงสีสำอาง
             ไม่เทียบเปรียบโฉมนาง            งามเรืองเรื่อเนื้อสองสี     
       ข.  หางไก่ว่ายแหวกว่าย                   หางไก่คล้ายไม่มีหงอน 
            คิดอนงค์องค์เอวอร                   ผมประบ่าอ่าเอี่ยมไร 
       ค.  โนรีสีปานชาด                     เหมือนช่างฉลาดวาดแต้มลาย

             ไม่เท่าเจ้าโฉมฉาย                      ห่มตาดพรายกรายกรมา

       ง.  งามทรงวงดั่งวาด                        งามมารยาทนาดกรกราย

             งามพริ้มยิ้มแย้มพราย                 งามคำหวานลานใจถวิล

 ๙.  รูปสัตว์ที่โขนเรือพระที่นั่งในกาพย์เห่เรือ  สะท้อนค่านิยมเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ ในแง่ใด                         

       ก.  ทรงเป็นศูนย์รวมใจของพสกนิกรทั้งมวล

       ข.  พระบรมเดชานุภาพยิ่งใหญ่สมกับเป็นสมมุติเทพ

       ค.  ความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองเป็นเพราะพระบารมี

       ง.  การยอพระเกียรติเป็นเนื้อหาหลักประการหนึ่งของวรรณคดี

 ๑๐.  ข้อใดใช้ศิลปะในการแต่งต่างกับข้ออื่น

       ก.  พลพายกรายพายทอง              ร้องโห่เห่โอ้เห่มา

       ข.  โนรีสีปานชาด                     เหมือนช่างฉลาดวาดแต้มลาย

       ค.  กระแหแหห่างชาย                   ดั่งสายสวาทคลาดจากสม

       ง.  เห็นฝูงยูงรำฟ้อน                       เหมือนบังอรร่อนรำกราย 

 ๑๑.  ข้อใดที่ผู้แต่งรำพึงรำพันที่มีเนื้อหาแตกต่างกับข้ออื่น

       ก.  จำปาหนาแน่นเนื่อง                 คลี่กลีบเหลืองเรืองอร่าม

             คิดคะนึงถึงนงราม                   ผิวเหลืองกว่าจำปาทอง

       ข.  เห็นฝูงยูงรำฟ้อน                      คิดบังอรร่อนรำกราย

       ค.  พิกุลบุนนาคบาน                     กลิ่นหอมหวานซ่านขจร

             แม้นนุชสุดสายสมร                เห็นจะวอนอ้อนพี่ชาย

       ง.  พุดจีบกลีแสล้ม                      พิกุลแซมสุกรม

            หอมชายรวยตามลม           เหมือนกลิ่นน้องต้องติดใจ

๑๒.  ข้อใดกวีมิได้ใช้ภาพพจน์

       ก.  น้ำเงินคือยวงเงิน                      ขาวพรายช่วงสีสำอาง

       ข.  ปลากรายว่ายเคียงคู่                  เคล้ากันอยู่ดูงามดี

       ค.  กระแหแหห่างชาย             เหมือนสายสวาทคลาดจากสม

       ง.  เพียงทองงามดั่งทอง         ไม่เหมือนน้องห่มตาดพราย

๑๓.  ม่านกรองทองรจนา  คำที่พิมพ์ตัวหนาหมายความว่า

       ก.  ผ้าโปร่งถักด้วยไหมแล้วกรองด้วยไหมทองเป็นลาย

       ข.  ม่านผ้าโปร่งถักเป็นลายด้วยไหมทอง

       ค.  ผ้าม่านถักด้วยลวดทองทำเป็นทอง

       ง.  ผ้าไหมทำเป็นม่านมีลวดลายทอง

๑๔.  ประยงค์ทรงพวงน้อย             ระย้าย้อยห้อยพวงกรอง

         เหมือนอุบะนวลละออง          เจ้าแขวนไว้ให้เรียมชม 

         คำที่พิมพ์ตัวหนาหมายความว่า

       ก.  เหมือนอุบะห้อยอยู่ที่ต้นประยงค์

       ข.  เหมือนอุบะห้อยอยู่ที่หูของน้อง

       ค.  เหมือนอุบะห้อยอยู่ที่แท่นบรรทม

       ง.  เหมือนอุบะห้อยอยู่ที่พระแกล

 ๑๕.  สุวรรณหงส์ทรงพู่ห้อย              งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์

        ข้อความนี้เกี่ยวข้องกับเทพเจ้าองค์ใด

       ก.  พระนารายณ์                         ข.  พระพรหม

       ค.  พระอิศวร                              ง.  พระอินทร์

๑๖.ข้อใดไม่มีโวหารเปรียบเทียบ

       ก.  แมลงภู่คู่เคียงว่าย                     เห็นคล้ายคล้ายน่าเชยชม

       ข.  จากคู่วันเดียวได้                         ทุกข์ปิ้มปานปี

       ค.  ไพเราะเพราะกังวาน                   ปานเสียงน้องร้องสั่งชาย

       ง.  สร้อยทองย่องเยื้องชาย           เหมือนสายสวาทนาดนวยจร

๑๗.  ข้อใดไม่แสดงอาการเคลื่อนไหว

       ก.  ม่านทองกรองรจนา                    หลังคาแดงแย่งมังกร

       ข.  สรมุขมุขสี่ด้าน                           เพียงพิมานผ่านเมฆา

       ค.  สุวรรณหงส์ทรงพู่ห้อย               งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์

       ง.  เรือริ้วทิวธงสลอน                       สาครลั่นครั่นครื้นฟอง

๑๘.  ข้อใดไม่มีการเปรียบเทียบ

       ก.  สรมุขมุขสี่ด้าน                          เพียงพิมานผ่านเมฆา

       ข.  หอมชวยรวยตามลม                  เหมือนกลิ่นน้องต้องติดใจ

       ค.  แมลงภู่คู่เคียงว่าย                    เห็นคล้ายคล้ายน่าเชยชม

       ง.  กระแหแหห่างชาย                     ดั่งสายสวาทคลาดจากสม

๑๙.  ข้อใดมีการคิดคำนึงของกวีด้วยสถานการณ์แปลกจากข้ออื่น

       ก.  ข้อ  ๑          ข.  ข้อ  ๒        ค.  ข้อ  ๓        ง.  ข้อ  ๔

๒๐.  ข้อใดกวีใช้ลีลาในการประพันธ์แตกต่างจากข้ออื่น

       ก.  เรือชายชมมิ่งไม้                    ริมท่าไสวหลากหลายพรรณ

             เพล็ดดอกออกแกมกัน           ส่งกลิ่นเกลี้ยงเพียงกลิ่นสมร

       ข.  เนื้ออ่อนแต่ชื่อ                     เนื้อน้องฤาอ่อนทั้งกาย

             ใครต้องข้องจิตชาย                 ไม่วายนึกตรึกตรึงทรวง

        ค.  สาลิกามาตามคู่                       ชมกันอยู่สู่สมสมร

              แต่พี่นี้อาวรณ์                         ห่อนเห็นเจ้าเศร้าใจครวญ

        ง.  ชมดวงพวงนางแย้ม                บานแสล้มแย้มเกสร

             คิดความยามบังอร           แย้มโอษฐ์ยิ้มพริ้มพรายงาม       

                          

 
 

โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
70 หมู่ 2 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170
โทรศัพท์ 0 2441 3593 E-Mail:satriwit3@gmail.com


Generated 0.609640 sec.