krupads


เนื้อเรื่อง



วรรณคดีไทยเรื่องลิลิตตะเลงพ่ายใช้คำประพันธ์หลากหลายประเภทได้แก่ โคลงสองสุภาพ โคลงสามสุภาพ โคลงสี่สภาพและร่ายสุภาพ โดยแต่งสลับสับเปลี่ยนกันไป รวมจำนวนทั้งสิ้น 439 บท ซึ่งวรรณคดีเรื่องนี้มีต้นแบบในการประพันธ์มาจากเรื่อง ลิลิตยวนพ่ายที่ประพันธ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ซึ่งแต่งโดย สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมารุชิตชิโนรส เพื่อสดุดีพระวีรกรรมของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช คราวศึกสงครามยุทธหัตถึและใช้ในงานฉลองวัดพระเชตุพนฯในใมยรัชกาลที่ 3

เรื่องย่อ

           เริ่มประพันธ์ด้วยการกล่าวชมบารมีและพระบรมเดชานุภาพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แล้วจึงเข้าสู่เนื้อความที่ถอดความได้ดังนี้ สมเด็จพระมหาธรรมราชาได้ทรงสวรรคตจึงมีการผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน ซึ่งผู้ที่ได้สืบครองราชย์ต่อคือสมเด็จพระนเรศวร ซึ่งอาจมีการรบเพื่อแย่งราชบัลลังก์ระหว่างสมเด็จพระนเรศวรกับสมเด็จพระเอกาทศรศถ พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงจึงได้ส่งกองทัพมาเพื่อเป็นการเตือนว่าหากบ้านเมืองกรุงศรีอยุธยาไม่สงบ พม่าพร้อมที่จะโจมตีทันที ซึ่งพระดำรินี้ได้รับความเห็นชอบจากเหล่าขุนนางทั้งหลายก็มีความเห็นตามนี้ พระองค์จึงได้มีรับสั่งให้พระมหาอุปราชาผู้ซึ่งเป็นโอรสและพระมหาราชเจ้านครเชียงใหม่ไปเตรียมกองทัพร่วมกัน แต่โหรได้ทำนายว่าพระมหาอุปราชานั้นจะมีดวงถึงฆาต แต่ด้วยความเกรงในพระบิดาพระองค์จึงไม่ทรงขัดพระทัย ในระหว่างช่วงนั้นสมเด็จพระนเรศวรได้เตรียมกองทัพในการไปท่ำศึกกับกัมพูชาที่ได้นำทัพมารบในขณะที่ไทยกำลังรบอยู่กับพม่า แต่เมื่อทรงทราบว่าพม่าได้ยกทัพมาพระองค์จึงนำกำลังส่วนนี้ไปตั้งทัพรอรับศึกพม่าแทน โดยทรงบัญชาให้ทัพหน้าไปประจำที่ตำบลหนองสาหร่าย ส่วนทัพพม่านั้นได้นำทัพจำนวน 5 แสนชีวิตผ่านด่านเจดีย์สามองค์ ไทรโยคลำกระเพินแล้วจึงเข้ามายึดเมืองกาญจนบุรี จากนั้นได้นำทัพผ่านเข้ามาทางพนมทวน ณ ที่แห่งนี้ได้เกิดลมเวรัมภาที่พัดจนฉัตรพระมหาอุปราชาหักลง ทรงพักค่ายที่ตำบลตระพังตรุ ทางฝั่งสมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถเคลื่อนทัพทางน้ำ โดยขึ้นบกที่อำเภอป่าโมกข์ ซึ่งที่นี่ได้เกิดศุภนิมิตขึ้น จากนั้นได้นำพลไปพักค่ายที่อำเภอหนองสาหร่าย ซึ่งได้ทรงทราบว่าทหารพม่ามาลาดตระเวณอยู่ในบริเวณนี้จึงมีพระบัญชาให้กองทัพหน้าเข้าโจมตีทันที แล้วทำทีเป็นถอยร่นเข้ามาเพื่อให้ข้าศึกเกิดความประมาท ซึ่งทัพหลวงจะออกมาช่วยหลังจากนั้น แต่บังเอิญว่าช้างทรงทั้งของสมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถนั้นตกมัน จึงหลงเข้าไปอยู่ตรงใจกลางของทัพข้าศึกทำให้แม่ทัพต่างๆเสด็จตามไม่ทัน สมเด็จพระนเรศวรจึงได้กล่าวท้าให้พระมหาอุปราชออกมาทำยุทธหัตถีกัน ท้ายที่สุดสมเด็จพระนเศวรทรงมีชัยเหนือพระมหาอุปราชา เช่นเดียวกับที่สมเด็จพระเอกาทศรถมีชัยเหนือมังจาชโร หลังจากที่กองทัพพม่าแตกพ่ายไป สมเด็จพระนเรศวรได้มีพระบัญชาให้สร้างสถูปเจดีย์ขึ้นที่นี่ แล้วยกทัพกลับกรุงศรีอยุธยา ในเรื่องนี้กวีได้จบเรื่องด้วยการประพันธ์โคลงสดุดีและได้ประพันธ์ถึงทศพิธราชธรรม จักรพรรดิวัตรและปิดเรื่องด้วยชื่อผู้ประพันธ์และจุดประสงค์ในการประพันธ์



••• ภาคที่1- ตั้งแต่ 'เริ่มต้นบทกวี' จนถึง 'สมเด็จพระนเรศวรทรงปรารภเรื่องตีเมืองเขมร' •••

ตอนที่ 1-เริ่มต้นบทกวี

          เนื่องด้วยพระเดชานุภาพของกษัตริย์ไทยที่สามารถมีชัยเหนือศัตรู ซึ่งมีการเลิ่องลือพระเกียรติยศไปทั่วหล้า ทำให้เหล่ากษัตริย์เมืองต่างๆรู้สึกหวั่นเกรงและไม่กล้าที่จะออกรบด้วย จึงได้นำบ้านเมืองมาถวายเป็นเมืองขึ้นแก่ไทยซึ่งมีกษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถทำให้แผ่นดินไทยสงบสุข เมื่อเมืองอื่นๆได้ยินชื่อต่างก็หวั่นเกรง เปรียบได้กับพระรามซึ่งมีชัยเหนือทศกัณฐ์ สามารถมีชัยเหนือข้าศึกในทุกครั้ง เปรียบเสมือนพระนารายณ์ที่ลงมาเกิด ซึ่งเหล่าข้าศึกไม่กล้าสู้รบด้วยและหนีไปที่อื่น และกษัตริย์ต่างๆก็ได้ยกย่องและสรรเสริญ         

ตอนที่ 2-เหตุการณ์ทางเมืองมอญ

         ฝั่งมอญหรือพม่าได้ข่าวว่าสมเด็จพระมหาธรรมราชาสวรรคต ซึ่งมีสมเด็จพระนเรศวรขึ้นครองราชย์ต่อ ซึ่งพระเจ้านันทบุเรงผู้เป็นกษัตริย์ของพม่าได้คิดว่าอาจมีการแย่งชิงราชสมบัติระหว่างสมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถ จึงได้นำทัพมาเตรียมหากว่ามีเหตุการณ์ไม่สงบจะได้โจมตีอยุธยา โดยได้มีบัญชาให้พระมหาอุปราชาและพระมหาราชเจ้านครเชียงใหม่มาเตรียมทัพทั้งสิ้น 5 แสนคน แต่พระมหาอุปราชาได้ทูลว่าพระองค์กำลังมีเคราะห์ถึงตายตามที่โหรได้ทำนายเอาไว้ พระเจ้านันทบุเรงจึงพูดประชดเพื่อให้เกิดมานะว่าหากมีความหวาดกลัวต่อเคราะห์ ก็ให้นำเอาผ้าของผู้หญิงมาสวมใส่ พระมหาอุปราชามีความรู้สึกอายเหล่าขุนนางจึงกราบลาพระเจ้านันทบุเรงและเกณฑ์ทหารไปรบ จากนั้นจึงสั่งลาพระสนม สรงน้ำแล้วแต่งพระองค์ด้วยสนับเพลา รัดผ้าคาดและสวมพระภูษา จากนั้นจึงสวมกำไลที่ตกแต่งด้วยแก้วลายมังกร ผ้าตาบที่ตกแต่งจากแก้วไพฑูรย์ สายสะอึ้งที่ทำมาจากพลอย สายสังวาล และที่ศีรษะทรงใส่มงกุฎเทริดรูปพญานาคแบบที่กษัตริย์มอญทรงใส่กัน พระธำมรงค์มีแสงสีรุ้ง มีแก้ว 9 ประการ มีความสง่าสมกัยที่เป็นกษัตริน์ ทรงเดินอย่างมีอำนาจและถืออาวุธไว้ที่พระหัตถ์ แล้วจึงทูลลาพระเจ้านันทบุเรงเพื่อไปรบกับสยาม พระเจ้านันทบุเรงได้พระราชทานพรให้ทำศึกได้ชนะสมเด็จพระนเรศวร รวมถึงพระราชทานโอวาทในการทำศึก ซึ่งมี 8 ข้อดังต่อไปนี้

                                                  1.ให้เอาอกเอาใจทหาร

                                                  2.อย่ามีความขลาด

                                                  3.อย่าโง่เขลาและเบาความ

                                                  4.ให้รู้จักกับกระบวนทัพของข้าศึก และมีความเชี่ยวชาญ

                                                  5.รู้วิชาเกี่ยวกับรบ

                                                  6.รู้จักการตั้งค่ายทหาร

                                                   7.รู้จักให้รางวัลแก่นายทัพ

                                                   8.รู้จักมีความพากเพียร

           เมื่อฟังจบพระมหาอุปราชารับพรและทูลลาพระราชบิดา ส่วนนายช้างรื่นเริงแกล้วกล้าขี่ช้างพันธกอมารับพระมหาอุปราชา แล้วจึงได้เริ่มเคลื่อนทัพออกไป     

ตอนที่ 3 พระมหาอุปราชายกทัพเข้าเมืองกาจนบุรี

          พระมหาอุปราชาได้รำพึงรำพันถึงเหล่านางสนมว่าได้ออกเดินทางมารบเพียงคนเดียวทำให้รู้สึกเปล่าเปลี่ยวใจ เมื่อเห็นไม้ที่สวยงาม ก็นึกไปถึงนางอันเป็นที่รัก เมื่อมาถึงที่กาญจนบุรึ กองระวังด่านได้สอดแนมและสังเกตจากฉัตรจึงทราบได้ว่าเป็นมอญที่มีพระมหาอุปราชาเป็นผู้นำทัพมาจึงไปแจ้งแก่เจ้าเมือง แต่ชาวกาญจนบุรีไม่สามารถที่จะต้านกองทัพพม่าได้ จึงได้เข้าไปหลบในป่าเพื่อดูว่าพม่ามีกลยุทธ์ใดบ้างและได้ส่งข่าวให้กรุงศรีอยุธยาได้ทราบ ส่วนพระมหาอุปราชาได้ให้พระยาจิดตองเป็นผู้นำในการทำสะพานเชือกข้ามแม่น้ำกระเพินมาที่กาญจนบุรีซึ่งได้กลายเป็นเมืองร้าง ได้ทรงพักค่ายที่ในเมือง เมื่อได้เคลื่อนกองทัพมาจนถึงตำบลพนมทวนก็เกิดลมเวรัมภาพัดมาทำให้เศวตฉัตรของพระมหาอุปราชาหัก พระองค์ได้ทรงเรียกโหรมาทำนาย เหล่าโหรรู้ว่าเหตุการณ์นี้เป็นลางร้าย แต่กลัวพระอาญาจึงทูลว่าพระองค์จะปราบทัพไทยได้และอย่าทรงกังวล แต่พระองค์ทรงไม่เชื่อในคำทำนายที่โหรได้ทำนายให้ และได้ทรงหวั่นไปแล้วว่าจะแพ้แก่อยุธยา รวมถึงได้นึกถึงพระบิดาที่จะขาดคนให้คำปรึกษาหลังจากที่ได้เสีบพระโอรสไป และคิดว่าไม่อาจจะกลับไปตอบแทนพระคุณได้

ตอนที่ 4-สมเด็จพระนเรศวรทรงปรารภเรื่องตีเมืองเขมร

           ในเวลาเดียวกัน สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ทรงถามทุกข์สุขของราษฎรและได้ตัดสินคดีความต่างๆด้วยความยุติธรรม หลังจากนั้นก็ได้ปรึกษาเหล่าขุนนางเพื่อเตรียมยกทัพไปตีเขมร โดยจะนำกำลังพลจากทางใต้มาช่วย และพระองค์ได้ทรงบัญชาให้ พระยาจักรี เป็นคนดูแลพระนครหากว่ากองทัพมอญได้ยกทัพมาในระหว่างการรบกับเขมร แล้วทูตจากกาญจนบุรีก็ได้เข้ามาที่ท้องพระโรง 

 

ตอนที่ 5-สมเด็จพระนเรศวรทรงเตรียมการสู้ศึกมอญ

          สมเด็จพระนเรศวรกำลังจะยกทัพไปตีเขมร แต่บังเอิญว่าฝ่ายมอญยกทัพเข้ามา ทำให้พระองค์ต้องนำกองทัพไปรบกับมอญก่อน โดยพระองค์ทรงประกาศเกณฑ์พลทหารจากเมืองกาญจนบุรีจำนวน 500 คนสำหรับไปสอดแนมบริเวณลำน้ำกระเพิน และให้ทำลายสะพานข้ามแม่น้ำ หลังจากนั้นพระองค์ได้รับรายงานศึกจากทูตเมืองต่างๆเป็นการเน้นย้ำว่าครั้งนี้พม่าได้ยกทัพมาจริง พระนเรศวรจึงได้นำความมาปรึกษากับอกมาตย์ได้ข้สรุปว่าควรจะทำศึกนอกเมืองซึ่งข้อสรุปนี้ก็ตรงกับพระประสงค์ของพระองค์อยู่แล้ว พระองค์จึงมีพระบรมราชโองการให้มีการเกณฑ์ทหารจากหัวเมืองต่างๆ โดยมองหมายให้พระยาศรีไสยณรงค์เป็นกองทัพหน้า และให้มีปลัดทัพคือพระราชฤทธานนท์พร้อมด้วยพลทหารจำนวน 5 หมื่นคนให้ออกไปรบก่อน ซึ่งหากไม่สามารถที่จะสู้ได้ พระองค์จะเสด็จมาช่วย ต่อจากนั้นแม่ทัพทั้งสองได้ทูลลา และยกทัพไปที่ตำบลหนองสาหร่าย จังหวัดกาญจนบุรี โดยตั้งค่ายตามชัยภูมิสีหนาม เพื่อเตรียมพร้อมในการออกรบรวมถึงเป็นการลวงให้ข้าศึกทำการต่อสู้ได้ลำบากมากยิ่งขึ้น

ตอนที่ 6 พระนเรศวรทรงตรวจเตรียมทัพ

          สมเด็จพระนเรศวรได้ให้โหรทำการหาฤกษ์ที่เหมาะในการยกทัพหลวง โดยหลวงญาณโยคและหลวงโลกทีปเป็นผู้คำนวนหาฤกษ์ได้คือ วันอาทิตย์ ขึ้น 11 ค่ำ เดือนยี่ ในเวลา 8.30 นาฬิกา ส่วนพระสุบินที่ทรงฝันว่าพระองค์ทรงเห็นน้ำท่วมป่าในทิศตะวันตก และในขณะที่ทรงลุยน้ำได้เกิดการปะทะและต่อสู้กับจระเข้ตัวใหญ่ สุดท้ายพระองค์ได้ใช้พระแสงดาบฟันจระเข้จนตาย แล้วสายน้ำก็แห้งไป สามารถทำนายโดยพระโหราธิบดีได้ว่า พระสุบินครั้งนี้เกิดจากเทวดาสังหรณ์ โดยอธิบายต่อว่า กระแสน้ำในทิศตะวันตกก็เปรียบได้กับกองทัพพม่า จระเข้คือพระมหาอุปราชา และสงครามครั้งนี้เป็นสงครามใหญ่ที่จะเกิดการรบบนหลังช้าง ส่วนที่พระองค์ชนะจระเข้ทำนายได้ว่าพระองค์จะชนะศัตรูได้ด้วยพระแสงของ้าว การที่พระองค์ทรงลุยไปในกระแสน้ำทำนายได้ว่าพระองค์จะบุกเข้าไปในกลุ่มข้าศึกจนข้าศึกเหล่านั้นแตกพ่ายไป หลังจากนั้นพระองค์และสมเด็จพระเอกาทศรถได้เสด็จไปที่บริเวณเกยทรงช้างเพื่อรอฤกษ์ และขณะนั้นเองที่พระองค์ทอดพระเนตรเห็นพระบรมสารีริกธาตุขนาดเท่ากับผลส้มเกลี้ยงๆที่ลอยมาจากท้องฟ้าทิศใต้และเวียนทักษิณาวรรค 3 รอบ รอบบริเวณกองทัพแล้วจึงวนไปทิศเหนือ สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถได้ทรงอธิษฐานให้พระบรมสารีริกธาตุบันดาลให้พระองค์มีชัยชนะเหนือเหล่าข้าศึก แล้วจึงเคลื่อนทัพออกไป โดยช้างทรงพระนเรศวรคือเจ้าพระยาไชยานุภาพ และช้างทรงสมเด็จพระเอกาทศรถคือ เจ้าพระยาปราบไตรจักร            

ตอนที่ 7 พระมหาอุปราชาทรงปรึกษาการศึกแล้วยกทัพเข้าปะทะหน้าของไทย

          พระมหาอุปราชาได้ให้ฝ่ายกองตระเวนของมอญซึ่งได้แก่ สมิงอะคร้าน สมิงเป่อ สมิงซายม่วนและกองกำลังม้า 500 คนมาสืบดูการเคลื่อนไหวของฝ่ายไทย ซึ่งพบว่ามาตั้งค่ายอยู่บริเวณหนองสาหร่าย จึงไปทูลให้พระมหาอุปราชาทราบ และเมื่อพระมหาอุปราชาให้ประมาณกองกำลังไทยจึงทูลตอบไปว่ามี 1 แสนถึง 1 แสนแปดหมื่นคน ซึ่งทรงเห็นว่าพระองค์มีกองกำลังจำนวนที่มากกว่าและควรที่จะโจมตีให้ได้ในตอนแรกเลย แล้วค่อยไปล้อมกรุงศรีอยุธยาเพื่อชิงราชสมบัติในภายหลัง จึงได้มีบัญชาไปถึงเหล่าทหารให้จัดเตรียมกองทัพในเวลา 3 นาฬิกา เมื่อ 5 นาฬิกาก็ได้เคลื่อนทัพออกไป โดยพระมหาอุปราชาประทัพช้างชื่อพลายพัทธกอซึ่งกำลังตกมันอยู๋ เพื่อให้พร้อมสำหรับการโจมตีในตอนเช้า ส่วนฝ่ายไทย พระยาศรีไสยณรงค์และพระราชฤทธานนท์ได้รับพระบรมราชโองการให้โจมตีข้าศึก โดยจัดรูปแบบทัพแบบตรีเสนา ซึ่งเป็นการจัดทัพที่แบ่งทัพใหญ่ออกเป็น 3 ทัพย่อยๆ และแต่ละทัพนั้นยังแบ่งย่อยออกเป็น 3 กองด้วยกัน ได้แก่

                                                           1.กองหน้า

                                                                   เจ้าเมืองธนบุรี = นายกองหน้าปีกซ้าย

                                                                   เจ้าเมืองนนทบุรี = นายกองหน้าปีกขวา

                                                                   พระยาสุพรรณบุรี = นายกองหน้า 

                                                           2.กองหลวง

                                                                   เจ้าเมืองสรรคบุรี = นายกองปีกซ้าย

                                                                   เจ้าเมืองสิงห์บุรี = นายกองปีกขวา

                                                                   พระยาศรีไสยณรงค์ = แม่ทัพ ขี่ช้างพลายสุรงคเดชะ

                                                           3.กองหลัง

                                                                   เจ้าเมืองชัยนาท = นายกองหลังปีกซ้าย

                                                                   พระยาวิเศษชัยชาญ = นายกองหลังปีกขวา

                                                                   พระราชฤทธานนท์ = ปลัดทัพคุมกองหลัง

           ในเวลาประมาณ 7 นาฬิกากองทัพไทยที่เคลื่อนทัพจากหนองสาหร่ายก็มาถึงโคกเผาข้าว และได้ปะทะกับกองทัพมอญที่นี่ ซึ่งได้เกิดการต่อสู้เป็นคู่ด้วยอาวุธชนิดเดียวกัน เกิดการเสียชีวิตจำนวนมาก สุดท้ายกองทัพมอญที่มีจำนวนมากกว่าได้เคลื่อนที่มาล้อมกองทัพไทย ทำให้ต้องถอยทัพออกมาก่อน ซึ่งสมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถก็ได้เตรียมกองกำลังไว้พร้อมแล้ว 

ตอนที่ 8 ทัพหน้าไทยถอยไม่เป็นกระบวน

            ในขณะที่พราหมณ์ได้ทำพิธีเบิกประตูป่าและพิธีละว้าเซ่นไก่ หลวงมหาวิชัยได้นำพระแสงดาบอาญาสิทธิ์มาทำพิธีตัดไม้ข่มนาม สมเด็จพระนเรศวรทรงได้ยินเสียงปืน จึงมีบัญชาให้หมื่นทิพเสนาไปสืบข่าว หมื่นทิพเสนาได้กลับมาพร้อมกับขุนหมื่นมาเข้าเฝ้าสมเด็จพระนเรศวร และกราบทูลว่าทัพไทยได้สู้รบกับทัพมอญบริเวณตำบลโคกเผาข้าวตอน 7 นาฬิกาและได้ถอยร่นกองกำลังเข้ามาเนื่องจากข้าศึกมีจำนวนมากกว่า สมเด็จพระนเรศวรได้ปรึกษากับแม่ทัพ โดยแม่ทัพทูลให้พระองค์ส่งกองทัพออกไปต้านทัพพม่า แต่พระองค์ทรงเห็นว่าจะเป็นการทำให้ทัพไทยต้องแตกพ่ายอีกครั้ง จึงได้ข้อสรุปว่าให้กองทัพที่แตกพ่ายนั้นถอยทัพเข้ามาเพื่อลวงให้ข้าศึกยกทัพตามเข้ามา จากนั้นนำกองทัพใหญ่ออกโจมตีแทน ซึ่งวิธีการนี้น่าจะได้รับชัยชนะได้อย่างไม่ยากนัก พระองค์จึงมีคำสั่งให้หมื่นทิพเสนาและหมื่นราชามาตย์ไปบอกให้ทัพหน้ารับถอยทัพ ส่วนพม่าที่ไม่รู้ในอุบายครั้งนี้ก็ได้รุกไล่เข้ามาตามที่ได้ทรงวางแผนไว้

  ตอนที่9-ทัพหลวงเคลื่อนพล

          ขณะที่กองทัพฝ่ายไทยกำลังรอฤกษ์ในการเคลื่อนทัพ ก็ได้ปรากฎเมฆลอยอยู่ในทิศตะวันตกเฉี่ยงเหนือ แต่หลังจากนั้นท้องฟ้าก็กลับเป็นปกติ มีแสงอาทิตย์ส่องลงมา ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นนิมิตที่บ่งบอกถึงความโชคดี หลังจากนั้นสมเด็จพระเอกาทศรถและสมเด็จพระนเรศวรได้เคลื่อนย้ายกองทัพรูปเกล็ดนาคตามที่ได้มีการกล่าวไว้ในตำราพิชัยสงคราม และได้เกิดการปะทะกับทัพของฝ่ายพม่า บังเอิญว่าพระเจ้าไชยานุภาพและเจ้าพระยาปราบไตรจักรได้ยินเสียงฆ้อง เสีลงกลอง เสียงปืน จึงได้วิ่งจนเจ้าไปใกล้กับกองหน้าของทัพข้าศึกทำให้มีเพียงกลางช้างและควาญช้างจำนวน 4 คนที่ตามเสด็จได้ทัน โดยช้างทรงได้แทงช้างข้าศึกทำให้ทหารพม่าเสียชีวิตไปมากมาย ทหารพม่าได้พยายามยิงปืนแต่ไม่สามารถทำอันตรายช้างทรงได้ ซึ่งในการต่อสู้ครั้งนั้นได้มีฝุ่นจำนวนมากทำให้วิสัยทัศน์ไม่ดี มองเห็นไม่สะดวก พระนเรศวรได้ตรัสแก่เหล่าเทวดาว่า ที่ท่านเหล่านั้นได้ทำให้พระองค์มาประสูติเนื่องจากได้หวังให้พระองค์มาเป็นกษัตริย์และบำรุงพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง แล้วเพราะอะไรท่านเหล่านั้นจึงไม่ทำให้ท้องฟ้าสว่างเพื่อให้เห็นข้าศึกได้ชัด หลังจากนั้นท้องฟ้าก็เป็นปกติและพระองค์ทั้งสองทรงเห็นพระมหาอุปราชาถูกล้อมรอบด้วยทหาร ใต้ต้นข่อย จึงได้บังคับช้างเข้าไป ข้าศึกบางส่วนยิงปืนไฟเข้ามาแต่ก็ไม่ได้โดนพระวรกายแต่อย่างใด          

ตอนที่ 10-ยุทธหัตถี และชัยชนะของไทย

         สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงเชิญพระมหาอุปราชามาทำศึกร่วมกัน โดยเริ่มด้วยการกล่าวถึงพระเดชานุภาพ และเชิญมาทำการรบบนคอช้างร่วมกัน หลังจากที่ได้ตรัสเสร็จ พระมหาอุปราชาได้เกิดขัตติยมานะแล้วได้นำช้างเข้าสู้รบ ซึ่งกวีประพันธ์ว่าช้างทรงทั้งสองเปรียบเสมือนช้างเอราวัณและช้างคีรีเมขล์ซึ่งเป็นพาหนะพญามารวัสวตี และกษัตริย์ทั้งสองได้มาทำสงครามกันเปรียบดั่งสงครามของพระรามและทศกัณฐ์ เมื่อช้างทรงของพระนเรศวรได้โถมตัวเข้าหาช้างทรงพระมหาอุปราชา ช้างทรงประมหาอุปราชาอยู่ด้านล่างและได้ใช้งาทำให้ช้างทรงสมเด็จพระนเรศวรแหงนหน้าขึ้น จากนั้นพระมหาอุปราชได้เงื้อพระแสงของ้าวเพื่อที่จะฟันและสมเด็จพระนเรศวรทรงหลบได้ ต่อจากนั้นช้างทรงพระนเรศวรได้อยู่ด้านล่างจึงใช้งาทำให้ช้างพระมหาอุปราชาหงายหลังและในจังหวะนั้นเองสมเด็จพระนเรศวรได้ใช้พระแสงของ้าวฟันที่พระอังสะขวาของพระมหาอุปราชาจนขาดสะพายแล่ง พระวรกายของพระมหาอุปราชาได้เอนลงมาซบอยู่บนคอช้าง ส่วนนายมหานุภาพซึ่งเป็นควาญช้างของสมเด็จพระนเรศวรได้ถูกปืนเสียชีวิต ด้านสมเด็จพระเอกาทศรถได้ฟันมางจาชโรตายด้วยพระแสงของ้าวบนหลังพลายพัชเนียร และหมื่นภักดีศวรผู้เป็นกลางช้างของสมเด็จพระเอกาทศรถถูกปืนเสียชีวิต ส่วนกองทัพไทยที่ตามมาถึงทีหลังได้มาฆ่าทหารพม่า และทหารบางส่วนได้หนีเข้าป่าไป

ตอนที่ 11-พระนเรศวรทรงสร้างสถูปและปูนบำเหน็จทหาร

          หลังจากที่ทำสงครามเสร็จสิ้นแล้วได้ทรงมีพระบัญชาให้สร้างสถูปบริเวณที่พระองค์ได้ทำยุทธหัตถีที่ตำบลตระพังตรุ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติในการทำสงครามครั้งนี้ และได้ส่งเจ้าเมืองมล่วนและควาญช้างไปแจ้งข่าวพระมหาอุปราชาสิ้นประชนม์และข่าวที่ทรงแพ้สงคราม จากนั้นพระองค์ได้ยกทัพกลับมาที่กรุงศรีอยุยา แล้วได้พระราชทานความชอบและบำเหน็จ เงิน ทอง ทาส เชลยแก่ พระยารามราฆพผู้เป็นกลางช้างของสมเด็จพระนเรศวรและขุนศรีคชคงผู้เป็นควาญช้างสมเด็จพระเอกาทศรถ รวมถึงพระราชทานบำนาญแก่ภรรยาและบุตรของนายมหานุภาพกับหมื่นภักดีศวรที่ได้เสียชีวิตที่สนามรบ ส่วนแม่ทัพและนายทหารต่างๆที่ตามเสด็จไม่ทันถูกพิพากษาให้ได้รับโทษประหารชีวิต แต่ช่วงนั้นใกล้วันขึ้น 15 ค่ำ จึงได้มีกำหนดประหารในวันหนึ่งค่ำ(ปาฏิบท)แทน        

ตอนที่ 12-สมเด็จพระวันรัตขอพระราชทานอภัยโทษ

          เมื่อวันแรม 15 ค่ำ เวลาประมาณ 8 นาฬิกา สมเด็จพระวันรัตแห่งวัดป่าแก้วและพระราชาคณะ 25 องค์จากสองส่วน ได้แก่ คามวาสี และ อรัญวาสี ได้มาที่พระบรมมหาราชวัง สมเด็จพระนเรศวรจึงมีคำสั่งให้นิมนต์มาที่ท้องพระโรง สมเด็จพระนเรศวรได้แสดงการคารวะแก่พระวันรัต พระวันรัตจึงถามเกี่ยวกับการยุทธหัตถี เมื่อฟังจบได้ถามแก่สมเด็จพระนเรศวรถึงการที่ทหารเหล่านั้นได้รับโทษ และได้กราบทูลว่า การที่สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถได้ทรงปราบศัตรูโดยไม่มีเหล่าทหารคอยช่วยนั้นเปรียบเสมือนกับการที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า(พระตรีโลกนาถ)ได้ทรงชนะพญามารโดยลำพัง ซึ่งในการนี้พระเกียรติยศต่างๆของพระองค์ได้แพร่กระจายไปทั่วทุกแดน แต่หากมีทหารอยู่ด้วย พระเกียรติยศที่ได้รับก็จะไม่มากเท่านี้ และเหตุการณ์เป็นเช่นนี้เนื่องจากเทพเทวดาต่างๆได้บันดาลให้เป็น และขอให้พระองค์ทั้งสองไม่ต้องขุ่นพระทัย เมื่อสมเด็จพระวันรัตเห็นว่าความโกรธที่พระองค์ทรงมีต่อเหล่าทหารได้ลดน้อยลงแล้ว จึงได้กราบทูลว่าทหารเหล่านี้มีความผิดร้ายแรง และสมควรที่จะได้รับโทษ แต่ทหารเหล่านี้ยังคงมีความจงรักภักดีต่อพระองค์และได้รับราชการมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิซึ่งเป็นพระบรมอัยกาและสมเด็จพระมหาธรรมราชาซึ่งเป็นพระราชบิดามาก่อน จึงได้ขอให้พระองค์งดโทษประหารชีวิต และหากในอนาคตได้มีสงครามและเหล่าทหารที่ต้องการจะแก้ตัวจะเป็นการเพิ่มบารมีของพระองค์อีกด้วย หลังจากนั้นสมเด็จพระวันรัตจึงถวายพระพรลาและกลับวัด สมเด็จพระนเรศวรจึงได้พระราชทานอภัยโทษแก่ทหารเหล่านั้นและได้ให้โอกาสไปตีเมืองตะนาวศรี ทวาย และมะริดเป็นการแก้ไขความผิด โดยให้เจ้าพระยาคลังและทหาร 5 หมื่นคนไปตีทวาย และให้เจ้าพระยาจักรีคุมทหาร 5 หมื่นคนไปตีมะริดและตะนาวศรี และได้ทรงมีพระราชดำรัสถึงหัวเมืองฝ่ายเหนือซึ่งได้ถูกกวาดต้อนครอบครัวต่างๆมาจำนวนมาก หากดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือไว้ให้ดีย่อมจะทำให้การยกทัพเข้ามาจากทางพม่าและมอญคงไม่น่ากลัวเท่าใดนัก


โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
70 หมู่ 2 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170
โทรศัพท์ 0 2441 3593 E-Mail:satriwit3@gmail.com


Generated 0.598672 sec.