krupads


ความรู้เสริม

                        

                                    นาฬิกาโบราณ                                                            

           ในสมัยโบราณมีคำบางคำที่สมัยนี้อาจไม่ได้ใช้หรือใช้น้อยมาก แต่เราก็ควรรู้จะได้เข้าใจเพื่อให้อ่านวรรณคดีไทยได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น

การเรียกแบบวิธีที่1 แบ่งเวลาเป็น 4 ช่วง

                                                  ปฐมยาม------จากยามค่ำคืนไปถึง 3 ทุ่ม (18.00-21.00 น.)

                                                  ทุติยาม-------จาก 3 ทุ่มไปจนถึง 6 ทุ่ม (21.00-24.00 น.)

                                                  ตติยาม----จาก 6 ทุ่มไปจนถึง 9 ทุ่ม (24.00-3.00 น.)

                                                  ปัจฉิมยาม----จาก 9 ทุ่มไปจนถึงย่ำรุ่ง (3.00-7.00 น.)

การเรียกแบบวิธีที่2 แบ่งเวลาเป็น 3 ช่วง ช่วงละ 4 ชั่วโมง

                                                            ยามต้น(ปฐมยาม) 

                                                            ยามกลาง(มัชฌิมยาม)

                                                            ยามปลาย (ปัจฉิมยาม)

 

 
ภาพฉัตร

 

ฉัตรคืออะไร 
             คำว่า 'ฉัตร'  ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕ ให้ความหมายไว้ว่า เครื่องสูงชนิดหนึ่งมีรูปคล้ายร่มที่ซ้อนกันขึ้นไปเป็นชั้นๆ ชั้นบนมีขนาดเล็กกว่าชั้นล่างลดหลั่นกันไปโดยลำดับ สำหรับแขวน ปัก ตั้ง หรือเชิญเข้ากระบวนแห่เป็นเกียรติยศ

 ฉัตรจะต้องมีจำนวนชั้นเป็นเลขคี่ ซึ่งจำนวนชั้นของฉัตรมีดังนี้ 3-5-7-9 ชั้น ฉัตรสำหรับพระมหากษัตริย์จะมีความสูงที่สุดคือ 9 ชั้น

*** ฉัตร 9 ชั้นสำหรับกษัตริย์เรียกว่า 'นพปฎลมหาเศวตฉัตร' หรือจะเรียกว่า 'พระมหาเศวตฉัตร' ก็ได้เช่นกัน โดยฉัตรนี้จะทำจากผ้าขาวขลิบทอง *** 

                    แล้วในลิลิตตะเลงพ่ายเป็นฉัตรอะไร???

          ลิลิตตะเลงพ่ายนั้นมีปรากฎว่าเป็นฉัตร 5 ชั้น จากคำประพันธ์ที่ว่า 'เห็นฉัตรปักห้าชั้นกั้นบนเบื้องหลังสาร' ซึ่งฉัตร 5 ชั้นแสดงถึงยศของพระมหาอุปราชา

 ฉัตรมีที่ใช้เป็นเครื่องกั้นดังต่อไปนี้

                                           1.ใช้ปักบริเวณแท่นราชาอาสนราชบัลลังก์

                                           2.ใช้แขวนเหนือพระแท่นราชบรรจถรณ์(พระราชบรรจถรณ์ แปลว่า ที่นอน)

                                            3.ใช้ปักที่พระคชาธาร(คชาธาร แปลว่า ช้างทรง)

                                             4.ใช้ปักที่ยานมาศทรงพระบรมศพ

                                              5.ใช้สำหรับแขวนกั้นพระโกศทรงพระบรมศพ

                                              6.ใช้ปักบริเวณยอดฝาโกศพระบรมอัฐิ 

          รู้หรือไม่ ? ว่าจำนวนชั้นของฉัตรนั้นเป็นคตินิยมโดยจะมีชั้นของตัวเอง 1 ชั้น ส่วนที่เหลือหมายความถึงว่าเป็นผู้ชนะกี่ทิศ เช่น มีฉัตร 5 ชั้น หมายความว่า เป็นของตัวเอง 1 ชั้น ส่วนที่เหลืออีก 4 ชั้นแปลว่า เป็นผู้ชนะ 4 ทิศ 

   การตั้งทัพตามตำราพิชัยสงครามที่ว่าด้วยเรื่อง 'ชัยภูมิพยุหะ'

          ในอดีตการหาชัยภูมิในการรบเป็นเรื่องที่สำคัญมากเพราะจะทำให้ได้เปรียบและเป็นที่เกรงขามของข้าศึก ซึ่งตามตำราพิชัยสงครามกล่าวไว้ 8 นามดังต่อไปนี้  

                                       1.ครุฑนาม--------มีต้นไม้ใหญ่ 1 ต้นขึ้นอยู่บนบริเวณที่มีจอมปลวกหรือภูเขา

                                      
2.พยัคฆนาม------ตั้งอยู่บริเวณขอบชายป่า

                                       3.สีหนาม----------มีต้นไม้ใหญ่ 3 ต้น ขึ้นบนบริเวณที่มีจอมปลวกหรือภูเขา

                                       4.สุนัขนาม--------อยู่บริเวณทางใกล้หมู่บ้าน

                                       5.นาคนาม--------อยู่ใกล้กับทางน้ำ



                                       6.มุสิกนาม--------อยู่ใกล้กับบริเวณที่มีโพรงไม้หรือจอมปลวก

                                       7.อัชนาม----------อยู่ในบริเวณกลางทุ่ง

                                       8.คชนาม----------อยู่ในบริเวณป่าไผ่

พระเจ้าหงสาวดีทรงเห็นว่าการตั้งทัพมีความสำคัญ จึงกล่าวให้โอวาสแก่พระมหาอุปราชาก่อนที่จะออกรบกับอยุธยาดังนี้   

                                                                    'หนึ่่งรู้พยุหไสร้               สบสถาน

                                                                เจนจิตวิทยาการ                 กาจแก้ว   

                                                                รู้เชิงพิชัยชาญ                   ชุมค่าย ควรนา

                                                                อาจจักรอนรณแผ้ว               แผกแพ้พังหนี'  

           ตัวอย่างชัยภูมิพยุหที่ได้มีการใช้ในเรื่องลิลิตตะเลงพ่ายคือ

-พระยาศรีไสยณรงค์และพระราชฤทธานนท์ผู้ที่ได้รับคำสั่งให้ไปตั้งทัพหน้าที่ตำบลหนองสาหร่าย ตั้งค่ายแบบพยุหไกรสร หรือที่เรียกว่า สีหนาม

-ส่วนสมเด็จพระนเรศวรที่ได้เคลื่อนทัพจากตำบลปาโมกมาที่ตำบลหนองสาหร่ายได้หยุดตั้งค่ายแบบครุฑนาม ซึ่งมีต้นประดู่อยู่บนจอมปลวก 

1.โขลนทวาร

 

           โขลนทวารทำเพื่อให้ทหารมีขวัญและกำลังใจในการออกรบ ซึ่งจะทำซุ้มประตูด้วยกิ่งไม้ มีพราหมณ์สองคนนั่งบริเวณข้างประตูสวดพระเวท พรมน้ำมนต์ ถือได้ว่าเป็นพิธีไสยศาสตร์ แต่ในตอนหลังจะมีการทำพิธีทางศาสนาด้วยโดยพระสงฆ์จะสวดคาถาชัยมงคลสรรเสริญ ที่พระพุทธเจ้าชนะมาร เมื่อทำสงครามเสร็จสิ้นจะมีการลอดโขลนทวารอีกครั้งหนึ่งเพื่อไม่ให้เสนียด จัญไรหรือภูติผีที่ติดมาจากสนามรบติดมาด้วย ทำให้ทหารรู้สึกไม่เสียขวัญ          

2.ตัดไม้ข่มนาม

 

           พิธีตัดไม้ข่มนามจะต้องมีการตั้งโรงพิธี โดยข้าศึกจะถูกปั้นจากตินใต้สะพาน ท่าน้ำ และในป่าช้ารวมกัน แล้วเขียนชื่อแม่ทัพ ลงยันต์พุทธจักร-บรรลัยจักรทับบนชื่อ และแต่งตัวตามเพศ จากนั้นจึงนำต้นไม้ที่มีชื่อเป็นตัวอักษรเดียวกับตัวอักษรที่เป็นชื่อแม่ทัพ มาปลุกเสก นำหุ่นนั้นไปผูกกับกล้วย ประกบด้วยไม้ พราหมณ์อ่านพระเวท เมื่อได้ฤกษ์จะมีทหารที่ได้รับมอบหมายจากกษัตริย์ให้ทำพิธีแทน โดยมอบพระธำมรงค์เนาวรัตน์และพระแสงอาญาสิทธิ์ให้ ซึ่งทหารจะนำพระแสงอาญาสิทธิ์ไปฟันไม้ไม่เกิน 3 ครั้ง ให้ขาดแล้วไปบอกกษัตริย์ว่าได้มีชัยเหนือข้าศึกและถวายคืนของ สิ้นสุดพิธี     

3.เคลื่อนพลตามเกล็ดนาค

         การเคลื่อนพลตามเกล็ดนาคมีวัตถุประสงค์ในการทำเพื่อความเป็นสิริและมงคลแก่ กองทัพ โดยจะเคลื่อนทัพหันหัวนาคตามที่ตำราพิชัยได้บอกไว้               

4.ละว้าเซ่นไก่

          ละว้า เซ่นไก่ทำเพื่อบวงสรวงเจ้าป่า เจ้าเขา เดิมเป็นประเพณีของชาวละว้า โดยตั้งเครื่องสังเวยคือไก่เพื่อขอให้สำเร็จตามที่ต้องการ แล้วจะมีการ เสี่ยงทายโดยการนำกะดูกไก่ที่เซ่นมาดู

           ผลการเสี่ยงทายจะดูจากความยาวและความถี่ของข้อกระดูก อธิบายขยายความได้ว่า ถ้ากระดูกยาวข้อถี่ = เป็นนิมิตรที่ดี 

 
การจัดทัพของสมเด็จพระนเรศวร
 

1.หน่วยทหารรบพิเศษ--เป็น ทหารมือดีที่มีหน้าที่ในการ ทำลายเส้นทางที่ใช้เดินทัพ ฆ่าทหารสอดแนมและม้าเร็วส่งข่าว ซึ่งทหารกลุ่มนี้ต้องมีฝีมือมากเพราะต้องบุกเข้าไปในเขตกองทัพของข้าศึก มีจำนวน 10-20 คน

2.หน่วยจู่โจม--ใช้ในการ ปล้นค่ายทหารข้าศึกที่มีขนาดเล็ก เข่น กองลำเลียง ใช้โจมตีเพื่อให้ทัพข้าศึกยกพลออกจากฐานที่ตั้งแล้วถูกลวงให้เข้าไปอยู่ บริเวณคิลลิงฟิลด์ แล้วจึงถอนตัวออกจากบริเวณนั้น สมเด็จพระนเรศวรทรงเป็นหัวหน้าหน่วยเอง มีจำนวนทหาร 30-50 คน 

3.หน่วยแซบเปอร์หรือหน่วยก่อวินาศกรรม--เป็น หน่วยที่แฝงตัวเป็นเชลยหรือทหารหนีทัพ มีหน้าที่หลักในการลอบเผาทำลายค่ายและเสบียง รวมถึงเป็นไส้ศึกส่งข่าวเกี่ยวกับความเคลื่อนไหว หากหน่วยนี้ถูกข้าศึกจับได้จะต้องโดนตัวหัวเสียบประจานหน้าค่าย โดยหน่วยนี้ มีกองกำลังเล็กที่สุดคือมีจำนวน 1-5 คน 

4.หน่วยคอมมานโด--มี หน้าที่ในการสนับสนุนหน่วยจู่โจม มักไปตั้งทัพตามป่า และทหารกลุ่มนี้จะเป็นทหารหน้าช้างต้นที่คอยปกป้องพระองค์เวลาที่ทำศึก ยุทธหัตถี มีขนาด 100-500 คน

5.พลซุ่มยิง--เป็นหน่วย ทหารที่อยู่บนเชิงเทินค่ายที่มีหน้าที่ในการยิงปืนใหญ่ตีเมืองข้าศึก เป็นหน่วยทหารปืนคาบศิลา ซึ่งทหารกองธนูหน้าไม้มีไว้สำหรับการรักษาพระนครไม่ได้มีหน้าที่ในการเป็นพล ซุ่มยิงในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

6.ปืนใหญ่อัตตาจร--เป็น หน่วยสนับสนุนทหารราบ โดยมักจะเดินทัพเลียบๆบริเวณแม่น้ำ โดยมีการขนปืนใหญ่ลงในเรือสำเภาขนาดเล็ก ในบางครั้งพระองค์จะให้ทัพหน้าถอยร่นเพื่อให้ข้าศึกเข้ามาอยู่ในระยะยิง จนทัพข้าศึกแตกพ่ายไป 

7.หน่วยลาดตระเวนระยะไกล--มี หน้าที่ในการหาข่าวจากกองสอดแนมต่างๆ ทำลายกองทหารพม่าที่ออกมาหาเสบียง โดยมักจะแยกไปใน 4 ทิศของพระนคร แต่เมื่อมีศึกใหญ่ๆ หน่วยนี้จะเข้าร่วมรบกับทัพใหญ่ มีกำลังพล 200-500 คนซึ่งเป็นกองทหารม้า

8.ผู้ตรวจการหน้า--เป็น ผู้ที่ส่งคำบัญชาของสมเด็จพระนเรศวรไปยังผู้บัญชาทัพต่างๆ และมีหน้าที่ในการรายงานสถานการณ์ของกองทัพในขณะที่ออกรบ ถวายคำแนะนำเกี่ยวกับการรบและผลของการรบ  สามารถที่จะประหารคนได้ทุกระดับ หากมีการขัดคำสั่ง

9.กองสื่อสาร--เป็นหน่วย ที่คอยส่งข่าวและคำสั่งต่างๆตามที่พระองค์ได้ทรงบัญชาไปถึงแม่ทัพ ทำให้ข้าศึกไม่รู้การเคลื่อนทัพและการสั่งการของพระองค์ ซึ่งหน่วยนี้ทำให้แบบแผนการศึกเป็นไปอย่างทันการและได้เปรียบข้าศึกที่ใช้ การสื่อสารด้วยสัญญาณกลองหรือธง





หลักการสงคราม
ของ พระองค์คือ ทำโดยไม่ให้ข้าศึกรู้ตัว ใช้การออกรบก่อน โดยไม่รั้งรอให้ข้าศึกมาโจมตี ซึ่งพระองค์จะรวบรวมกำลังพล ให้มากกว่าข้าศึก จากนั้นจึงทำการรบเฉพาะบริเวณตำบล โดนพระองค์ทรงเป็นผู้นำในทุกๆครั้งที่ได้ ทำการรบ และใช้กองกำลังทหารพิเศษในการรบแบบรวดเร็ว รวมถึงเป็นหน่วยซุ่มโจมตีไม่ให้ข้าศึกเข้าใกล้พระนครได้ ส่วนพระนครใช้กอง กำลังส่วนใหญ่ในการรักษา

          เป็นที่ประจักษ์ว่าการศึกครั้งที่สำคัญคือศึกยุทธหัตถี ซึ่งพระองค์จัดกองทัพตามแบบแผนที่ได้ทรงคิดขึ้นเอง ซึ่งในการรบครั้งนั้นข้อเสียเปรียบของไทยคือมีกองกำลังที่น้อยกว่าพม่า คือมีเพียง 75,000 คนเท่านั้น แต่พม่ามีมากถึง 240,000 คน โดยทัพของพระองค์แย่งเป็น 5 ส่วนอันประกอบไปด้วย กองหน้า กองหลัง กองหลวง ปีกซ้าย และปีกขวา ซึ่งแต่ละทัพจะรับมือกับข้าศึกพร้อมๆกันพร้อมทั้งแบ่งทัพของพม่าออกเป็น 5 ส่วนเป็นการแบ่งกำลังไม่ให้ทหารพม่ามารุมรบกับทหารไทย ในกรณีทัพหลวงของสมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถจะเป็นกองทัพที่คอยรับ มือกับทัพหลวงของพระมหาอุปราชา เนื่องจากว่าพระองค์ทรงมีความรู้ในการทำศึกของพม่าในครั้งที่เป็นตัวประกัน ที่กรุงหงสาวดีทำให้รู้กลศึก และสามารถจัดกองทัพได้เหมาะสมและได้ชัยชนะในที่สุด ซึ่งแผนผังรูปแบบของการจัดทัพเป็นดังรูป

 

          โดยการจัดทัพในครั้งนั้นพระองค์ทรงให้กองทัพของพระศรีไสยณรงค์กับพระราชฤทธา นนท์ที่ออกไปเป็นทัพหน้าที่ลำน้ำท่าคอยเลื่อนไปที่ดอนระฆังแทน ส่วนทัพหลวงซึ่งขณะนั้นก็มาถึงที่หนองสาหร่ายแล้ว และทรงบัญชาให้มีการเตรียมค่ายและวิธีการรบ ซึ่งจากการคาดการณ์ของพระองค์พบว่าจะต้องเกิดการปะทะขึ้นในระยะเวลา 1-2 วันเนื่องจากกองทัพค่อนข้างจะอยู่ใกล้กัน ทัพของพระองค์แบ่งเป็น 5 ทัพ ได้แก่         

ทัพที่ 1 เป็นกองหน้า-มีนายทัพคือพระยาสีหราชเดโชชัย ปีกขวาคือพระยาพิชัยรณฤทธิ์ ปีกซ้ายคือพระยาวิชิตณรงค์

ทัพที่ 2 เป็นกองเกียกกาย-มีนายทัพคือพระยาเทพอรชุน ปีกขวาคือพระยาพิชัยสงคราม ปีกซ้ายคือพระยารามคำแหง

ทัพที่ 3 เป็นกองหลวง-จอมทัพคือสมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถ ปีกขวาคือเจ้าพระยามหาเสนา ปีกซ้ายคือเจ้าพระยาจักรี

ทัพที่ 4 เป็นกองยกกระบัตร-นายทัพคือพระยาพระคลัง ปีกขวาคือพระราชสงคราม ปีกซ้ายคือพระรามรณภพ

ทัพที่ 5 เป็นกองหลัง-นายทัพคือพระยาท้ายน้ำ ปีกขวาคือหลวงหฤทัย ปีกซ้ายคือหลวงอภัยสุรินทร์

           ที่ตำบลหนองสาหร่ายตั้งกระบวนทัพเป็นรูปดอกบัว เรียกว่า ปทุมพยุหะ เลือกชัยภูมิครุฑนาม ซึ่งสาเหตุที่เลือกชัยภูมิรูปนี้ก็เพื่อใช้ในการข่มทัพข้าศึก         

            *ในวันแรม 1 ค่ำ เดือนยี่ สมเด็จพระนเรศวรมีรับสั่งกองทัพให้เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับรับกับทัพใหญ่ของ ข้าศึกที่ได้เคลื่อนพลพ้นบ้านจรเจ้สามพันแล้ว โดยพระยาศรีไสยณรงค์ที่ได้รับคำสั่งให้ไปดูกำลังพลของข้าศึกเคลื่อนพลกลับ เข้ามา

            *ในวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือนยี่ สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถได้ทรงเครื่องสำหรับทำศึก มีการผูกช้างพระที่นั่งที่ชื่อว่า พลายภูเขาทองขึ้นระวางกลายเป็นเจ้าพระยาไชยานุภาพซึ่งเป็นช้างทรงสมเด็จพระ นเรศวร โดนมีกลางช้างคือรามราฆพ ควาญช้างคือนายมหานุภาพ ส่วนช้างทรงของสมเด็จพระเอกาทศรถชื่อ พลายบุญเรือง ขึ้นระวางกลายเป็น เจ้าพระยาปราบไตรจักร กลางช้างคือหมื่นภักดีศวร ควาญช้างคือขุนศรีคชคง              จตุลังคบาทคือนายแวง

 

 

          ทหารทุกนายไม่ว่าจะมียศสูงหรือต่ำ หากได้ละเมิดกฎโทษที่ได้รับจะเท่ากัน ไม่มีการลดหย่อนโทษ ทำให้กลายเป็นยุคของการสนับสนุนคนดี เก่ง และกล้า ซึ่งในสมัยของสมเด็จพระนเรศวรนั้นพระองค์ทรงมีประปรีชาสามารถมาก โดยทรงปกครองกองทัพได้เฉกเช่นเดียวกันกับทหารฝั่งตะวันตก โดยที่วิทยาการต่างๆนั้นยังมาไม่ถึงในสมัยนั้น เหล่าทหารต่างๆที่ได้มาร่วม รบกับพระองค์จึงเขียนบันทึกเพื่อส่งไปที่ประเทศของตัวเอง มีใจความหลักๆดังที่จะกล่าวต่อไปนี้        

โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
70 หมู่ 2 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170
โทรศัพท์ 0 2441 3593 E-Mail:satriwit3@gmail.com


Generated 0.767576 sec.