krusiriporn


ตัวอย่างโวหาร

ใบความรู้ประกอบวิชา  ศิลปะการเขียน 1 เรื่อง โวหาร  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

ตัวอย่างบรรยายโวหารแบบร้อยแก้ว

“น้าตาซึมออกมาจากต่อมน้าตาอยู่ตลอดเวลา ต่อมน้าตามีขนาดราวๆ ปลายนิ้วก้อยอยู่บริเวณเหนือตาเล็กน้อย    น้าตาออกมาฉาบเคลือบด้านหน้าลูกตา แล้วซึมลงไปในทางรูน้าตาซึ่งอยู่ที่ขอบเปลือกตาบนและล่างด้านหัวตา จากรูน้าตาทั้ง ๒ จะมีทั้งน้าตามารวมกันให้น้ำตาไหลออกมาทางรูเปิดที่เยื่อบุรูจมูก น้ำตาที่ออกมาจากต่อมน้ำตา จึงมีบางส่วนที่ระเหยไป และบางส่วนไหลซึมลงมาในรูจมูก น้ำตาทำหน้าที่ช่วยให้ผิวด้านหน้าลูกตาชุ่มชื้น ไม่แห้ง ช่วยชำระล้างตาให้สะอาด ช่วยให้ตามองเห็นดีขึ้น ช่วยทำลายจุลินทรีย์หรือพิษต่างๆ ที่เข้าตาให้ฤทธิ์เจือจางไปได้ คนเราจะกะพริบตาอยู่เป็นระยะๆ โดยเฉลี่ยกะพริบตาทุกๆ 2-3 วินาที การกะพริบตานั้นก็เพื่อให้น้ำตาแผ่เคลือบไปทั่วผิวด้านหน้าลูกตา เป็นการป้องกันไม่ให้ลูกตาแห้ง”

                                                                                                                                (เกร็ดจากล่วมยา : เสนอ อินทรสุขศร)

ตัวอย่างบรรยายโวหารแบบร้อยกรอง

อันเกาะแก้วพิสดารสถานนี้              โภชนาสาลีก็มีถม

แต่คราวหลัวครั้งสมุทรโคดม           มาสร้างสมสิกขาสมาทาน

เธอทำไร่ไว้ที่ริมภูเขาหลวง               ครั้นแตกรวงออกมาเล่าเป็นข้าวสาร

ได้สืบพืชยืดอยู่แต่บูราณ                    คิดอ่านเอาเดียวมาเหลียวไป

(พระอภัยมณี:สุนทรภู่)

2. พรรณนาโวหาร

มีจุดมุ่งหมายในการเขียนต่างจากบรรยายโวหาร คือ มุ่งให้ให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ซาบซึ้งเพลิดเพลินไปกับข้อความนั้น การเขียนพรรณนาโวหารจึงยาวกว่าบรรยายโวหารมาก แต่มิใช่การเขียนอย่างเยิ่นเย้อ เพราะพรรณนาโวหารต้องมุ่งให้ภาพและอารมณ์ ดังนั้น จึงมักใช้การเล่นคำ เล่นเสียง ใช้ภาพพจน์ แม้เนื้อความที่เขียนจะน้อยแต่เต็มด้วยสำนวนโวหารที่ไพเราะ อ่านได้รสชาติ

           หลักการเขียนพรรณนาโวหาร

1. ต้องใช้คำดี หมายถึง เลือกสรรถ้อยคำเพื่อให้สื่อความหมาย สื่อภาพ สื่ออารมณ์เหมาะสมกับเนื้อเรื่องที่ต้องการ พรรณา ควรเลือกคำ ที่ให้ความหมายชัดเจน ทั้งอาจต้องเลือกให้เสียงคำสัมผัสกัน เพื่อเกิดเสียงเสนาะอย่างสัมผัสสระ  สัมผัสอักษรในงานร้อยกรอง

2. ต้องมีใจความดี แม้จะพรรณนายืดยาว แต่ใจความต้องมุ่งให้เกิดภาพ และอารมณ์ความรู้สึกสอดคล้องกับเนื้อหาที่กำลังพรรณนา

3. อาจต้องใช้โวหาร ภาพพจน์ คือ การเปรียบเทียบเพื่อให้ได้ภาพชัดเจน และมักใช้ศิลปะการใช้คำ ที่ เรียกว่า ภาพพจน์ประเภทต่าง ๆ ทั้งนี้ เป็นวิธีการที่จะทำให้พรรณนาโวหารเด่น ทั้งการใช้คำและการใช้ภาพที่แจ่มแจ้ง อ่านแล้วเกิดจินตนาการและความรู้สึกคล้อยตาม

 

 

4. ในบางกรณีอาจต้องใช้สาธกโวหารประกอบด้วย คือ การยกตัวอย่างเพื่อให้เกิดความแจ่มแจ้ง โดยยกตัวอย่างสิ่งที่ละม้ายคล้ายคลึงกัน เพื่อให้เกิดภาพและอารมณ์เด่นชัด  พรรณนาโวหารมักใช้กับการชมความงาม ต่าง ๆ เช่น ชมสถานที่ สรรเสริญบุคคล หรือใช้พรรณนาอารมณ์ ความรู้สึก เช่น รัก เกลียด โกธร แค้น เศร้าสลด เป็นต้น

 

ตัวอย่างพรรณนาโวหารแบบร้อยแก้ว

…ขณะพระองค์เสด็จมาใกล้เบญจคีรีนครคือราชคฤห์ เป็นเวลาจวนสิ้นทิวาวาร แดดในยามเย็นกำลังลงสู่สมัยใกล้วิกาล ทอแสงแผ่ซ่านไปยังสาลีเกษตร แลละลิ่วเห็นเป็นทางสว่างไปทั่วประเทศสุดสายตา ดูประหนึ่งมีหัตถ์ทิพย์มาปกแผ่อำนวยสวัสดี เบื้องบนมีกลุ่มเมฆเป็นคลื่นซับซ้อนสลับกันเป็นทิวแถว ต้องแสงแดดจับเป็นสีระยับวะวับแววประหนึ่งเอาทรายทองมาโปรยปราย เลื่อนลอยละลิ่วๆ เรี่ยๆ รายลงจดขอบฟ้า

(กามนิต : เสฐียรโกเศศและนาคะประทีป )

ตัวอย่างพรรณนาโวหารแบบร้อยกรอง

เสนาะเสียงแสนเศร้าดุเหว่าเอ๋ย                       ไฉนเลยครวญคร่าร่าอยู่ได้

หรือใครทำเจ็บช้ำระกำใจ                                  จึงหวนไห้โหยอยู่มิรู้แล้ว

แวววาบปลาบสายฟ้า                                          ผสานวาตะโชยชาย

เปล่าเปลี่ยวอยู่เดียวดาย                                      วิเวกแว่วคะนึงใน

3. เทศนาโวหาร  หมายถึง โวหารที่มีจุดหมายแสดงความแจ่มแจ้ง เพื่อให้ผู้อ่านคล้อยตามหรืออาจ กล่าวได้ว่ามุ่งชักจูงให้ผู้อ่านคิดเห็นหรือคล้อยตามความคิดเห็นของผู้เขียน เทศนาโวหารจึงยากกว่าโวหารที่กล่าวมา เพราะต้องใช้กลวิธีในการชักจูงใจ

หลักการเขียนเทศนาโวหาร

การเขียนเทศนาโวหารต้องใช้โวหาร ประเภทต่าง ๆ มาประกอบ กล่าวคือ ทั้งใช้บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร รวมทั้งอุปมาโวหาร และสาธกโวหารด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้ใจความชัดเจนแจ่มแจ้ง มีทั้งความหลักและความรองเป็นที่เข้าใจ จนเกิดความรู้สึกนึกคิดคล้อยตามผู้เขียน หากเป็นการแสดงความคิดเห็นควรอธิบายทั้งด้านที่เป็นประโยชน์และโทษ หรือแสดงเหตุและผล  การเขียนเทศนาโวหาร ผู้เขียนต้องมีความรู้ เกี่ยวกับเรื่องที่เขียนเป็นอย่างดี สามารถอธิบายอย่างชัดเจน ทั้งควรพรรณนาให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ต้องรู้จักใช้เหตุผล และหลักฐานสนับสนุนความคิดเห็นที่ตนเสนอด้วย การลำดับความให้สัมพันธ์กันอย่างมีเหตุผลจึงเป็นหลักสำคัญอีกประการหนึ่ง ในการเขียนเทศนาโวหารโดยทั่วไป มักเข้าใจกันว่า เทศนาโวหาร แปลว่า โวหารที่มุ่งสั่งสอน โดยตีความคำว่าเทศนา ว่าสั่งสอน ความจริงเทศนาในที่นี้หมายถึง แสดง กล่าวคือ แสดงอย่างแจ่มแจ้งเพื่อให้เห็นคล้อยตาม รูปแบบงานเขียนที่ควรใช้เทศนาโวหาร คือ งานเขียนประเภทบทความชักจูงใจ หรือบทความแสดงความคิดเห็น ความเรียง เป็นต้น

ตัวอย่างเทศนาโวหาร

…อย่าได้ถือตัวว่าเป็นลูกเจ้าแผ่นดิน พอมีอำนาจยิ่งใหญ่อยู่ในบ้านเมือง ถึงจะเกะกะ ไม่กลัวเกรงคุมเหงผู้ใด เขา ก็คงจะมีความเกรงใจพ่อ ไม่ต่อสู้ หรือไม่อาจฟ้องร้องว่ากล่าว การซึ่งเชื่อใจดังนั้นเป็นการผิดแท้ทีเดียว เพราะความปรารถนาของพ่อไม่อยากจะให้ลูกมีอำนาจที่จะเกะกะอย่างนั้นเลย เพราะรู้เป็นแน่ว่าเมื่อรักลูกเกินไป ปล่อยไม่ใหกลัวใครและประพฤติชั่วเช่นนั้น คงจะเป็นโทษแก่ลูกนั้นเองทั้งในปัจจุบันและอนาคต เพราะฉะนั้นจงรู้เถิดว่าถ้าเมื่อได้ทำความผิดเมื่อใด จะได้รับโทษโดยทันที การที่มีพ่อเป็นเจ้าแผ่นดินนั้นจะไม่เป็นการช่วยเหลือ

อุดหนุนแก้ไขอันใด ได้เลย

(พระบรมราโชวาท : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)

 

4. สาธกโวหาร  คือ โวหารที่มุ่งให้ความชัดเจน โดยการยกตัวอย่างเพื่ออธิบายให้แจ่มแจ้งหรือสนับสนุน

ความคิดเห็นที่เสนอให้หนักแน่น น่าเชื่อถือ สาธกโวหารเป็นโวหารเสริมบรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร และเทศนาโวหาร เช่น การเลือกยกตัวอย่างมีหลักที่ควรเลือก ให้เข้ากับเนื้อความ อาจยกตัวอย่างสั้นๆ ในบรรยายโวหารหรืออาจยกตัวอย่างที่มีรายละเอียดประกอบในพรรณนาโวหารและเทศนาโวหาร เป็นต้น ในการเขียนข้อเขียนต่าง ๆ ควรรู้จักเลือกใช้โวหารให้เหมาะกับจุดมุ่งหมายในการเขียนและเนื้อหา ในบางโอกาส อาจต้องใช้โวหารหลายชนิดในงานเขียนชิ้นหนึ่งก็ได้ หลักสำคัญอยู่ที่ว่าต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับโอกาส จุดมุ่งหมายและเขียนได้อย่างถูกต้องตามลักษณะโวหารนั้นๆ

ตัวอย่างสาธกโวหาร

ไม่มีอะไรที่น่าเอา...แต่คนทั่วไปก็ยังอยากจะเอาอยู่ เงินทองก็อยากได้ ชื่อเสียงก็อยากได้ อุ้งตีนหมีก็อยากจะกิน อำนาจยิ่งอยากได้ มากขึ้น ทุกคนอยากเป็นใหญ่เป็นโต เป็นเจ้าแห่งรุสเซียซึ่งใหญ่มหึมาแล้วยังไม่พอ เป็นเจ้าแห่งอเมริกาแล้วก็ยังไม่พอ ทะเยอทะยานอยากจะเป็นเจ้าโลก อยากเป็นพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ซึ่งโลกทั้งโลกต้องมาสยบอยู่แทบฝ่าพระบาท แต่ก็ยังอุตส่าห์มีตาแก่คนหนึ่งซึ่งนอนอยู่ข้างถนน มีหลังคา สับปะรังเคคลุมหัวอยู่

พอหลบฝนได้ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์เห็นสภาพ สุดอนาถาเช่นนั้นก็สงสาร ตรัสถามว่า 'เจ้าอยากได้อะไร จงขอมา ...ข้าจะให้เอ็ง ' 'ขออย่างเดียวเท่านั้น ขออย่าได้มายืนบัง แสงอาทิตย์เกล้ากระผมชอบ แสงแดดอ่อนๆ ยามเช้า' นี่คือคำตอบของตาแก่ผมยาว ร่างกายแสนจะสกปรกที่ทำให้จอมราชัน ผู้พิชิตถึงกับตะลึง

(วิลาศ มณีวัต)

5. อุปมาโวหาร  หมายถึง โวหารเปรียบเทียบ โดยยกตัวอย่าง สิ่งที่คล้ายคลึงกันมาเปรียบเพื่อให้เกิดความชัดเจนด้านความหมาย ด้านภาพ และเกิดอารมณ์ ความรู้ สึกมากยิ่งขึ้น กล่าวได้ว่าอุปมาโวหาร คือ ภาพพจน์ประเภทอุปมานั่น เอง อุปมาโวหารใช้เป็นโวหารเสริม บรรยายโวหาร  พรรณนาโวหาร และเทศนาโวหาร เพื่อให้ชัดเจน น่าอ่าน โดยอาจเปรียบเทียบอย่างสั้น ๆ หรือเปรียบเทียบอย่างละเอียดก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุปมาโวหารนั้นจะนำไปเสริมโวหารประเภทใด

             ก. เปรียบเทียบสิ่งที่ เหมือนกันสองสิ่ง มักมีคาว่า เหมือน ดุจ คล้าย เป็นตัวเชื่อมคำอุปมาอุปไมยให้สอดคล้องกัน (อุปไมย แปลว่า ที่กล่าวก่อน อุปมา แปลว่า ที่กล่าวเปรียบ) เช่น  ดีใจเหมือนได้แก้ว   เล่าปี่ดีใจเหมือนปลาได้น้ำ

ข. เปรียบเทียบโดยการโยงความคิดจากสิ่งหนึ่งไปยังสิ่งหนึ่ง เป็นการเปรียบโดยนัยต้องอาศัยการตีความประกอบ     ครูเหมือนเรือจ้าง     ชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ

ค. เปรียบเทียบโดยการซ้ำคำ    จะมารักเหากว่าผม จะมารักลมกว่าน้ำ จะมารักถ้ำกว่าเรือน

จะมารักเดือนยิ่งกว่าตะวัน จะมารักตัวออกเฒ่ายิ่งกว่าตัวเองเล่า

ง. เปรียบเทียบโดยการยกตัวอย่างประกอบ เช่น    พระราชา 1 หญิง 1 ไม้เลื้อย 1 ย่อมรักผู้คนและสิ่งที่อยู่ใกล้ๆ

จ. เปรียบความขัดแย้งหรือเปรียบสิ่งที่อยู่ตรงกันข้าม เช่น  น้ำกับไฟ   รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ

ฉ. เปรียบเทียบโดยใช้ชื่อเทียบเคียง เช่น   ปากกามีอำนาจกว่าคมดาบ  จากเปลไปถึงหลุมฝังศพ

ข้อควรระวัง

- ไม่อุปมาผิดพจน์ เช่น ตาของหล่อนวาววามราวกับหมู่ดาวในท้องฟ้า

- ไม่อุปมาผิดเพศ เช่น เขาเป็นชายหนุ่มที่ไร้ค่าเหมือนดอกหญ้า

- ไม่อุปมาเกินตัว เช่น หิ่งห้อยสว่างราวดวงจันทร์

- ไม่อุปมาต่ำช้า เช่น ข้าจงรักภักดีต่อเจ้าเหมือนสุนัขจงรักนาย เป็นต้น

ตัวอย่างอุปมาโวหาร

…ถ้าแม้เจ้าอาลัยอยู่ด้วยลูกจริงๆ เหมือนวาจา ก็จะรีบกลับเข้า มาแต่วี่วันไม่ทันรอน เออนี่เจ้า เที่ยวพเนจรนอนตามสนุกใจ ชมนกชมไม้ในไพรวันสารพันก็มี ทั้งฤๅษีสิทธิวิทยาธร  คนธรรพ์   เทพารักษ์ผู้มีพักตร์อันเจริญ เห็นแล้วก็น่าเพลิดเพลินไม่ เมินได้ หรือเจ้าปะผลไม้ประหลาดรสสดสุกทรามเสวยไม่เคยกิ น เจ้าฉวยชมชอบลิ้นก็หลง ฉันอยู่จึ่งช้าอุปมาเสมือนหนึ่งภุมรินบินวะวนว่อน เที่ยวซับซาบเอาเกสรสุคนธมาเลศ พบดอกไท้อันวิเศษต้องประสงค์หลงเคล้าคลึงรสจนลืมรัง เข้าเถื่อนเจ้าลืมพร้าได้หน้าแล้วลืมหลังไม่แลเหลียวเที่ยวทอดประทับมากลางทาง

(มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี : เจ้าพระยาพระคลัง(หน))__


โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
70 หมู่ 2 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170
โทรศัพท์ 0 2441 3593 E-Mail:satriwit3@gmail.com


Generated 0.005428 sec.