นักวิทย์รัสเซีย.. เตรียมโคลนนิ่งช้างแมมมอธ
คณะนักวิทยาศาสตร์รัสเซียและต่างชาติ ค้นพบชิ้นส่วนของซากช้างแมมมอธขนดกที่ถูกแช่แข็งอยู่ในสภาพดี อยู่ลึกลงไปใต้ดินของเขตไซบีเรีย ทางตะวันออกเฉียงเหนือของรัสเซีย ซึ่งอาจมีเซลล์ที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งอาจจะนำมาใช้ในการโคลนนิ่งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมยุคก่อนประวัติศาสตร์ขึ้นมาได้
มหาวิทยาลัยแห่งชาติตะวันออกเฉียงเหนือของรัสเซีย เปิดเผยว่า ทีมนักวิจัยนานาชาติค้นพบขน เนื้อเยื่ออ่อน และไขกระดูกของช้างแมมมอธ อยู่ลึกลงไปใต้ดินประมาณ 328 ฟุต หรือ 100 เมตร ระหว่างการขุดค้นช่วงฤดูร้อนในสาธารณรัฐปกครองตนเองยาคูตียา ทางตะวันออกเฉียงเหนือของรัสเซีย
เซ็มยอน กรีกอร์เยฟ หัวหน้าทีมสำรวจกล่าวว่า ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้กำหนดเป้าหมายในการค้นหาเซลล์ที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยหวังจะใช้เซลล์ส่วนนี้ในการโคลนนิ่งช้างแมมมอธขึ้นมา
ช้างแมมมอธสูญพันธุ์ไปเมื่อประมาณ 10,000 ปีก่อน
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 28 ก.พ.56 ว่า นักวิทยาศาสตร์รัสเซียประสบความสำเร็จในการดึงสมองจากซากแมมมอธ ที่ค้นพบในเมืองทุนดร้า ไซบีเรีย เมื่อปี 2010 ก่อนนำมาแช่แข็ง โดยแมมมอธดังกล่าวถูกตั้งชื่อว่า'ยูก้า เชื่อว่ามีอายุ 10 ปี และตายเมื่อ 39,000 ปีก่อน
รายงานระบุว่า ในกระบวนการดึงสมองดังกล่าว นักวิทยาศาสตร์ได้ฉีดสารเข้าไปยังศีรษะของแมมมอธ เพื่อทำให้สมองแข็งตัว และผ่าเปิดกระโหลกและดึงสมองดังกล่าวออกมา และเตรียมนำมาวิจัย โดยเหตุการณ์นี้นับเป็นครั้งแรกที่มีการดึงสมองแมมมอธออกจากศีรษะในสภาพเกือบสมบูรณ์แบบ แม้จะมีการพบกระโหลกแมมมอธเป็นจำนวนหลายร้อยชิ้นในรัสเซีย โดยนักวิทยาศาสตร์หวังที่จะใช้สมองดังกล่าวศึกษาวิวัฒนาการของสัตว์ดึกดำบรรพ์ชนิดนี้ที่สูญพันธุ์ไป
ทั้งนี้ เมื่อเดือนส.ค.ปี 2012 ยังมีการพบซากแมมมอธที่ยังคงอยู่ในสภาพค่อนข้างดี ทางตอนเหนือของเขตไซบีเรียของรัสเซีย โดยผู้พบเป็นเด็กชายวัย 11 ปีคนหนึ่ง ทีมผู้เชี่ยวขาญจากเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ได้ใช้เวลานาน 5 วันในการสกัดเศษดินและโคลนออกจากซากแมมมอธ ซึ่งเชื่อว่ามีอายุ 16 เมื่อมันเสียชีวิต โดยมีขนาดความสูงราว 2 เมตร เชื่อว่ามีชีวิตอยู่เมื่อราว 30,000 ปีที่แล้ว โดยได้รับการตั้งชื่อว่า 'เชนยา' (Zhenya) ตามชื่อเด็กชายเชนยา ซาลินเดอร์ซึ่งเป็นผู้ค้นพบคนแรก ขณะที่พาสุนัขไปเดินเล่นบริเวณนั้น
Content's Picture
Size : 59.38 KBs
Upload : 2013-05-20 18:04:06
|
|
Status : ผู้ใช้ลงทะเบียน
วิทยาศาสตร์
|
|
|