PISA คืออะไร
PISA (Programe for International Student Assessment) เป็นโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติของ ประเทศสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organisation for Economic Co-operation and Development หรือ OECD) ดำเนินการมาตั้งแต่ ปี ค.ศ.1999 (PISA 2000) มีประเทศในโครงการทั้งหมด 65 ประเทศ
วัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อต้องการหาตัวชี้วัดคุณภาพการศึกษาให้แก่ประเทศสมาชิกและประเทศร่วมโครงการ
การประเมินของ PISA ไม่เน้นความรู้ที่นักเรียนกำลังเรียนอยู่ในห้องเรียน ณ ปัจจุบัน แต่ต้องการสำรวจว่าเยาวชนวัยจบการศึกษาภาคบังคับ หรือกลุ่มอายุ 15 ปีมีศักยภาพที่จะใช้ความรู้และทักษะที่ได้เรียนไปใช้ในชีวิตจริงได้ดีเพียงใดในอนาคต PISA จึงไม่ประเมินความรู้ตามหลักสูตรในโรงเรียน แต่ PISA เน้นความรู้และทักษะที่ต้องใช้ในชีวิตจริงนอกโรงเรียนในอนาคต ซึ่งได้แก่ การรู้เรื่อง สามด้าน คือ การอ่าน (Reading Literacy) คณิตศาสตร์ (Mathematics Literacy) และ วิทยาศาสตร์ (Sciencetific Literacy)
PISA มีการประเมินทุกๆสามปี เพื่อติดตามแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนเพื่อให้ข้อมูลระดับนโยบาย การประเมินแต่ละครั้งจะครอบคลุม 3 ด้านแต่จะให้น้ำหนักความสำคัญแต่ละวิชาสลับกันไป
ประเทศไทยเข้าร่วมโครงการ PISA ในปี 2000
โครงการ PISA ประเมินถึงศักยภาพในการใช้ความรู้ของนักเรียนวัยจบการศึกษาภาคบังคับ ผลการประเมินในระดับนานาชาติ นักเรียนจากประเทศ/เขตเศรษฐกิจในเอเชียส่วนมาก (เกาหลี เซี่ยงไฮ้-จีน ฮ่องกง-จีน จีนไทเป ญี่ปุ่น สิงคโปร์) มีคะแนนอยู่ในกลุ่ม 5 หรือ 10 ประเทศแรก ทุกวิชา ยกเว้นไทย กับ อินโดนีเซีย โดยเฉพาะเขตเศรษฐกิจเซี่ยงไฮ้-จีน มีคะแนนเฉลี่ยเป็นอันดับที่หนึ่งทุกวิชา และมีนักเรียนประมาณครึ่งหนึ่งที่แสดงสมรรถนะที่ระดับสูง (ระดับ 5 และ ระดับ 6) ส่วนนักเรียนไทย แสดงผลการประเมินต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติทุกวิชา ยกเว้นกลุ่มโรงเรียนสาธิตเพียงกลุ่มเดียวที่แสดงว่ามีมาตรฐานเทียมทันนานาชาติ คะแนนแฉลี่ยประเทศไทยมีอันดับอยู่ทางด้านท้ายตาราง และมีแนวโน้มลดต่ำลงทุกวิชาเมื่อเทียบกับการประเมินครั้งแรก (PISA 2000) นักเรียนไทยเกือบครึ่งแสดงผลการประเมินการอ่านและวิทยาศาสตร์ต่ำกว่าระดับพื้นฐาน (ระดับ 2) และมากกว่าครึ่งในวิชาคณิตศาสตร์ ส่วนที่สมรรถนะระดับสูงมีน้อยมาก และไม่มีเลยในวิชาการอ่าน
Content's Picture
|
Status : ผู้ใช้ลงทะเบียน
วิทยาศาสตร์
|
|
|