K-Me Article


ปริมาณสารสัมพันธ์ ตอนที่ 1 มวลอะตอมและมวลโมเลกุล


ปริมาณสารสัมพันธ์ (Stoichiometry)

            คำว่า  Stoichiometry  มีรากศัพท์มาจากคำในภาษากรีก 2 คำ คือ Stoicheion แปลว่า ธาตุ และ Metron แปลว่าการวัด   เมื่อนำมารวมเป็นคำเดียวกันล้วจึงมีความหมายตรง ๆ  ว่าเป็นการวัดปริมาณของธาตุ  แต่ความหมายในทางกว้างย่อมหมายถึงปริมาณของสารในรูปอื่น ๆ  ด้วย  ไม่เจาะจงเฉพาะปริมาณของธาตุเพียงอย่าง   โดยทั่วไปแล้วเมื่อกล่าวถึงวิชาเคมี  จะเป็นที่เข้าใจกันว่าเป็นเรื่องของการเกิดปฏิกิริยาเคมีระหว่างสารเคมีต่าง ๆ 

                การเกิดปฏิกิริยาเคมีคือการเปลี่ยนแปลงที่มีสารใหม่เกิดขึ้น    ปริมาณสารสัมพันธ์เป็นการศึกษาเกี่ยวกับปริมาณสาร ที่เกี่ยวข้องกันในปฏิกิริยาเคเมี   เช่น  การเผาไหม้ของก๊าซธรรมชาติ  (CH4)  ก๊าซดังกล่าวนี้เมื่อใช้กับรถยนต์เรียกว่า  NGV ; (Natural  Gas  for  Vehicle)  หรือบางครั้งก็เรียกว่า  CNG  ; (Compressed  Natural  Gas)  การเผาไหม้เป็นการทำปฏิกิริยากับก๊าซออกซิเจน  (O2)  สิ่งที่ได้จากปฏิกิริยาคือก๊าซ  CO2  กับไอน้ำ  (H2O)   เขียนแสดงด้วยสมการเคมีดังนี้
                                    CH4(g)  +  2O2(g)  →  CO2(g)  + 2H2O(g)

          ถ้าเข้าใจปริมาณสารสัมพันธ์จะทราบว่าปริมาณสารทั้ง  4  ชนิด  ในปฏิกิริยามีความสัมพันธ์กัน  ดังนี้

 

สารที่ใช้ (สารตั้งต้น)

 

สารที่ได้ (ผลิตภัณฑ์)

CH4(g) 

2O2(g) 

CO2(g) 

2H2O(g)

16  กรัม 

64  กรัม 

44  กรัม 

36  กรัม 

8 กรัม

32 กรัม

22 กรัม

18 กรัม

4 กรัม

16 กรัม

11 กรัม

9 กรัม

2 กรัม

8 กรัม

5.5 กรัม

4.5 กรัม


                ให้สังเกตว่าปริมาณสารที่เกี่ยวข้องกันทั้ง  4  ชนิด  เปลี่ยนแปลงได้  โดยอยู่ในรูปที่แปรผันตรงซึ่งกันและกัน   การทำความเข้าใจเรื่องปริมาณสารสัมพันธ์เป็นสิ่งสำคัญมาก   เพราะเป็นพื้นฐานของเรื่องอื่น ๆ  อีกมากมาย     ปริมาณสารสัมพันธ์ประกอบเรื่องย่อย ๆ ที่เป็นองค์ประกอบอยู่หลายเรื่อง  ต้องทำความเข้าใจให้ได้ตามลำดับดังนี้

 

มวลอะตอมของธาตุ  (mass number)

                ถ้าสังเกตสัญลักษณ์นิวเคลียร์ของธาตุ  เช่น      

                เลขเชิงมวล  (mass number , A) คิดจากผลรวมของจำนวนโปรตอนกับจำนวนนิวตรอน  (A = z + N หรือ  A = p + N)  ;  พิจารณาสัญลักษณ์นิวเคลียร์ของไฮโดรเจนไอโซโทปโปรเตียม  ดังรูป

 

               *   เลข  1 ที่อยู่ด้านล่าง คือจำนวนโปรตอน  (p) ของไอโซโทปนี้  ซึ่งมีอยู่เพียง  1  ตัว   
               *   เลข  1 ที่อยู่ด้านบนคือเลขเชิงมวล  (A)

                       A = p+N
                       1 = 1+N
                       N = 0
                     หมายความว่า  ไฮโดรเจนไอโซโทปนี้ไม่มีนิวตรอน   มีโปรตอน (p) และอิเล็กตรอน (e- )  อย่างละ  1  ตัว  มวลของ p = 1.672 x 10-24  กรัม   มวลของ  e- = 9.1 x 10-28  กรัม  มวลของ p มากกว่ามวลของ e-   ประมาณ  1,800  เท่า  แต่เมื่อโปรตอนกับอิเล็กตรอนเข้ามาอยู่ร่วมกัน  จะเกิดการสูญเสียมวลบางส่วนไปโดยเปลี่ยนเป็นพลังงาน   เหลือมวลเพียง  1.66  x 10-24  กรัม  (1.66  x 10-27  กิโลกรัม )   และเรียกมวลดังกล่าวนี้ว่า  1  amu.  (atomic mass unit  )

                                                             (คลิ้ก ชมไอโซโทปโปรเตียม)    (คลิ้ก ชมไอโซโทปดิวทีเรียม)        (คลิ้ก ชมไอโซโทปตริเตียม)

               -  บรรดาธาตุทั้งหลายในโลกนี้  ไฮโดรเจนไอโซโทปโปรเตียม   เป็นไอโซโทปที่มีมวลน้อยที่สุด 
                   คือ  1.66  x  10-24  กรัม  หรือ 1 amu.  ใช้ค่าดังกล่าวนี้เป็นค่ามาตรฐานสำหรับเปรียบเทียบมวลกับ
                   ธาตุอื่น ๆ  หรือไอโซโทปอื่น ๆ   ที่มีจำนวนอะตอมเท่ากัน   ค่าที่ได้จากการเปรียบเทียบก็คือมวล
                   อะตอมของธาตุนั้น ๆ   เช่น C  จำนวน  1  อะตอม   มีมวลมากกว่า H   1  อะตอม  อยู่  12 
                   เท่า  ก็หมายความว่ามวลอะตอมของ  C  คือ  12

                 
                -  การเปรียบเทียบดังกล่าวนี้  ไม่จำเป็นต้องเปรียบเทียบกันที่  1  อะตอมเสมอไป  จะเป็นกี่อะตอมก็ได้
                 แต่ต้องเท่ากัน  เช่น

 

                      สมการแสดงการคิดมวลอะตอมของธาตุต่าง ๆ  ในยุคเริ่มต้นเป็นดังนี้

 

       ประมาณ  พ.ศ. 2504  มีการใช้ค่า  1  amu.  ในทางอ้างอิงระหว่างทางเคมีกับทางฟิสิกส์แตกต่างกัน  คือ  ทางเคมีใช้ 1/16 ของค่าเฉลี่ยของมวลของอะตอมออกซิเจน (คิดเฉลี่ยจากปริมาณของทุก ไอโซโทป ในธรรมชาติ)  ในขณะที่ทางพิสิกส์ใช้  1/16 ของมวลอะตอมของ ออกซิเจน -16  เพียงไอโซโทปเดียว  ทำให้ค่าตัวเลขแตกต่างกันเล็กน้อย  จึงไม่ใช้ทั้ง  2  แบบ  แล้วเปลี่ยนมาใช้แบบเดียวกัน  คือใช้   ของ  คาร์บอนไอโซโทปที่มีมวล 12  ซึ่งเขียนแสดงได้หลายอย่าง   คือ  C-12  หรือ 12C    ค่าดังกล่าวนี้มีค่าเท่ากับ H  1  อะตอม  คือ  1.66 x 10-24  กรัม  หรือ  1  amu.  สมการที่ใช้คำนวณมวลอะตอมของธาตุจึงเปลี่ยนเป็น

 

              การใช้หน่วยมวลอะตอมในปัจจุบัน  ใช้ได้  3  แบบ  คือ  ไม่ต้องใส่หน่วยใด ๆ เลข  เว้นว่างไว้  หรือใช้  amu.  หรือใช้  g/mol   ก็ได้

 

ตัวอย่าง  ถ้าคาร์บอน-12 หรือ  12C  จำนวน  1  อะตอม  มีมวล  1.992 x 10-23 กรัม  มวลอะตอมของคาร์บอนเป็นเท่าไร

วิธีทำ    มวลอะตอมของธาตุ

                                                                                                              =  12   (กรณีที่  1  ไม่ต้องใส่หน่วยเพราะตัดกันหมดแล้ว)
                                                                                                                     =  12  amu. (กรณีที่  2  ใช้หน่วย  amu.  เพราะจะเห็นได้ว่าเลข  12 
                                                                                                                                       หมายถึงมีค่าเป็น  12  เท่า  ของ  1  amu.)

                                                                                                                     =  12  g/mol (กรณีที่ 3  ใช้หน่วย  g/mol  เพราะ C ไอโซโทปนี้ 1 mol มี
                                                                                                                                        มวล 12 g )

มวลอะตอมหรือเลขเชิงมวลของธาตุต่างๆ ทั้งที่มีจริงในธรรมชาติและที่ได้จากการสังเคราะห์  ได้ผ่านการคิดคำนวณมาแล้วทุกธาตุ  ดังแสดงอยู่ในตารางธาตุทั่วไป  (คลิ้ก เพื่อเปิดตารางธาตุ)




                เลขเชิงมวลหรือมวลอะตอมของธาตุส่วนใหญ่จะเห็นได้ว่าไม่เป็นจำนวนเต็ม  ทั้งนี้เนื่องจากธาตุส่วนมากมีหลายไอโซโทป  จึงต้องคิดมวลอะตอมเฉลี่ย ดังสมการ


                                                                 (คลิ้ก ชมการหามวลอะตอมเฉลี่ย)

 

                สิ่งที่จะต้องทำความเข้าใจเอาไว้ตลอดเวลาก็คือ    เลขเชิงมวลหรือมวลอะตอมของธาตุใด  ๆ  เป็นตัวเลขที่แสดงว่าธาตุนั้น ๆ   1 อะตอม  มีมวลมากกว่า 1H    1  อะตอม  หรือ 1/12 ของ 12C   จำนวน  1  อะตอม  อยู่กี่เท่า     เช่น  20Ne  หมายความว่า  Ne  1 อะตอม  มีมวลมากกว่า  1H  1  อะตอม  หรือ 1/12 ของ 12C   จำนวน  1  อะตอม  20  เท่า

คำว่า “ มวลอะตอมของธาตุ” กับคำว่า  “มวลของธาตุ 1 อะตอม หรือหลาย ๆ อะตอม”  คำทั้งสองนี้ความหมายสัมพันธ์กัน  คือ มวลอะตอมของธาตุ  (atomic mass) เป็นค่าที่บอกว่าธาตุนั้น ๆ
1 อะตอมมีมวลมากกว่า 1H จำนวน  1 อะตอม  หรือ 1/12 ของ 12C   จำนวน  1 อะตอม  อยู่กี่เท่า  หรือกี่  amu.  ส่วนคำว่า มวลของธาตุ  1  อะตอม  (mass of  1 atom)  เป็นค่าที่บอกน้ำหนัก
หรือมวลของธาตุนั้น ๆ ว่า  ธาตุดังกล่าวจำนวน 1 อะตอม   มีน้ำหนัก (มวล) กี่กรัมหรือกี่กิโลกรัม    เช่น 20Ne  มีความหมายดังนี้

1.   ในความหมายของ  “มวลอะตอมของธาตุ”   (atomic mass) หมายความว่า  Ne  1  อะตอม มีมวลมากกว่า 1H   1  อะตอมหรือ  1/12ของ 12C จำนวน 1 อะตอม   อยู่     20   เท่า      
หรือ  20  amu. ; (atomic mass of  Ne = 20 amu.)

2.   ในความหมายของ  “มวลของธาตุ  1 อะตอม “  (mass of 1 atom)  หมายความว่า   20Ne  1  อะตอมมีมวล =  20  x 1.66 x 10-24 กรัม  = 3.320 x 10-23  กรัม ;
        (mass of Ne 1 atom  =  20 x  1.66 x 10-24 g )
*     ถ้ามี Ne  2  อะตอม  จะมีมวล          = 2 x 20  x  1.66 x 10-24 กรัม
                                                   =  6.640 x 10-23  กรัม ;
*     ถ้ามี Ne  100  อะตอม  จะมีมวล                 =100 x 20  x  1.66 x 10-24 กรัม

                                                             =   3.320 x 10-21  กรัม
*     ถ้ามี Ne  1,000  อะตอม  จะมีมวล               = 1,000  x 20  x  1.66 x 10-24 กรัม 

                                                             =  3.320 x 10-20  กรัม ;
*     ถ้ามี Ne  6.02 x 1023   อะตอม  จะมีมวล    =  (6.02 x 1023)   x 20  x (1.66 x 10-24 ) กรัม 

                                                                  = 19.986  กรัม

=  20  กรัม


 

แบบฝึกหัด 

1.  จงหามวลอะตอมของธาตุและมวลของธาตุ 1 อะตอม  จากธาตุที่กำหนดให้ต่อไปนี้

ธาตุที่กำหนด

มวลอะตอมของธาตุ

มวลของธาตุ 1 อะตอม


 40Ca


40

40 x 1.66 x 10-24  กรัม

6.64 x 10-23  กรัม


63.5
Cu



 


127
I



 


108
Ag



 


128
U



 

2.  ถ้า   Al   1  อะตอมมีมวล 4.482 x 10-23  กรัม  มวลอะตอมของ Al เป็นเท่าใด 

3.  ทองคำ (Au) ขนาด  1 บาท  มีน้ำหนัก  15.20 กรัม อยากทราบว่าประกอบด้วยจำนวนอะตอมของทองคำกี่อะตอม (Au = 197)

4.  เหล็กมีมวลอะตอม 55.8 ข้อความแต่ละข้อต่อไปนี้ถูกหรือผิดถ้าผิดจงแสดงสิ่งที่ถูกต้อง  (Fe=55.8)

ก.  เหล็ก  1 อะตอม หนัก 55.8 กรัม 

ข.  เหล็ก  1 อะตอม หนัก 55.8 เท่าของคาร์บอน-12 จำนวน 1 อะตอม

ค.  เหล็ก  1  อะตอมหนักเป็น 55.8 เท่าของ   มวลของ C-12 จำนวน 1 อะตอม

ง.  มวลอะตอมของเหล็กเท่ากับ 55.8 กรัม

จ.  มวลอะตอมของเหล็กเท่ากับ  55.8  amu.

 

5.  ธาตุ X จำนวน  4  อะตอม  มีมวลเท่ากับธาตุ  Y  จำนวน 2  อะตอม  ถ้า Y มีมวลอะตอมเท่ากับ  14  อยากทราบว่ามวลอะตอมของ X เป็นเท่าไร  (ตอบ 7)

 

6.  ธาตุ   Na  Ca  และ  Ne   มีน้ำหนักชนิดละ 1.00  กรัม  จะมีจำนวนอะตอมชนิดละกี่อะตอม  (Na=23  Ca=40 Ne=20)

7.  ธาตุ    He   Hg  และ  Mg ชนิดละ  10,000  อะตอม  จะมีน้ำหนักชนิดละกี่กรัม  (He=4  Hg=200 Mg=24)

8.   He  กี่อะตอมจึงจะมีน้ำหนักเท่ากับ    Ar 100  อะตอม  (He=4  Ar=40)

9.  ถ้าทองคำน้ำหนัก  1  บาท( 15.2 กรัม )  ราคา  20,000 บาท อยากทราบว่าถ้าซื้อทองคำด้วยเงิน 1  บาท    จะได้ทองคำกี่อะตอม  ( Au=197 )

มวลโมเลกุล (molecular mass)

                โมเลกุลที่แท้จริงนั้นเป็นสมบัติของสารโคเวเลนต์  เช่น  CO2 CH4  C6H12O6  แต่สำหรับสารไอออนิกแม้จะไม่มีโมเลกุลที่แท้จริงแต่ก็ให้ถือว่าสูตรที่เขียนแสดงสารไอออนิก 
มีความหมายเสมือนหนึ่งเป็นสูตรโมเลกุลเช่นเดียวกับสารโคเวเลนต์  แต่ต้องทราบว่าสูตรของสารไอออนิกเป็นสูตรอย่างง่าย  คือแสดงอัตราส่วนอย่างต่ำที่ไอออนรวมตัวกันเป็นสารไอออนิกนั้น ๆ   ให้เเรียกสูตรของสารไอออนิกว่าหน่วยสูตร(formalar unit)  แทนคำว่าโมเลกุล  เช่น NaCl  เราไม่เรียกว่า  NaCl  1 โมเลกุล  แต่ให้เรียกว่า  NaCl 1  หน่วยสูตร 
              โดยทั่วไปจะถือว่าโมเลกุลหมายถึงสารที่ประกอบด้วยอะตอมตั้งแต่  2 อะตอมขึ้นไป   ถ้าเป็นอะตอมของธาตุเดียวกัน  โมเลกุลนั้นก็จะเป็นโลเลกุลของธาตุ    เช่น  H2  Cl2  O2  F2  Br2  I2 O3  P4  S8 C60   ถ้าเป็นอะตอมของธาตุต่างชนิดกัน  โมเลกุลนั้นก็จะเป็นโมเลกุลของสารประกอบ  เช่น  HCl  H2O  H2SO4  C6H12O6  KClO3  … 
การที่อะตอมรวมตัวกันเป็นโมเลกุลเกิดจากการทำปฏิกิริยาเคมีแล้วสร้างพันธะเคมีกัน  ซึ่งจะต้องเป็นไปตามกฎทรงมวล  (law of conservation of mass) คือมวลสารก่อนและหลังปฏิกิริยาจะมีค่าเท่ากัน 
ฉะนั้นมวลโมเลกุลจึงมีค่าเท่ากับผลรวมของมวลอะตอมทั้งหมดที่มีอยู่ในโมเลกุลนั้นๆ
  นอกจากนั้นยังเป็นไปตามกฎสัดส่วนคงที่ด้วย(law of definite proportion)  คือ อัตราส่วนโดยมวลของธาตุที่รวมตัวกัน
จะมีค่าคงที่   เช่น  C  +  O2  →  CO2  

                กฎทรงมวล  มวลของ  C  +  มวลของ  O2           =             มวลของ  CO2 

                กฎสัดส่วนคงที่      มวลของ C : มวลของ  O2    =  12 :  32

         การหามวลโมเลกุลหรือมวลของหน่วยสูตร  หาได้จากผลรวมของมวลอะตอมของธาตุทั้งหมดที่มีอยู่ในสารนั้น ๆ 


(คลิ้ก ศึกษาการคิดมวลโมเลกุลและมวลของหน่วยสูตร)

มวลโมเลกุล (molecular  mass) มีความหมายทำนองเดียวกับมวลอะตอม(atomic mass , mass number)  ของธาตุดังที่ผ่านมาแล้ว  ต่างกันเพียงที่ว่าสิ่งหนึ่งเป็นอะตอม  สิ่งหนึ่งเป็นโมเลกุล  
เปรียบเทียบกันดังตาราง

 

อนุภาค

ชนิดของอนุภาค

มวลของอนุภาค

มวลอะตอม

มวลโมเลกุล

มวล/โมล

C

อะตอม

12 amu.

-

12 g/mol

O2

โมเลกุล

-

32 amu.

32 g/mol

CO2

โมเลกุล

-

44 amu.

44 g/mol

สูตรโมเลกุลของสารต่าง ๆ  ทำให้เราทราบว่าสารนั้น ๆ  มีธาตุใดเป็นองค์ประกอบอยู่บ้าง และจะทำให้ทราบร้อยละโดยมวลของธาตุที่เป็นองค์ประกอบด้วย   การคำนวณหาร้อยละของธาตุ

ที่เป็นองค์ประกอบเป็นดังสมการ

ตัวอย่าง  ถ้าสูตรโมเลกุลของน้ำคือ   H2O  อยากทราบว่ามี  H  และ O  เป็นองค์ประกอบอยู่ร้อยละเท่าไร  (H=1 O=16)
วิธีทำ
                มวลโมเลกุลของ    H2O        =        2H + O
                                                =        2(1) +  16
                                                    =        18 amu.
                     ร้อยละโดยมวลของ  H    =    2(100) / 18         

                                                    =        11.11

                    ร้อยละโดยมวลของ  O    =          100 – 11.11

                                                    =         88.89

 

ตัวอย่าง  แร่เหล็กคือสารประกอบออกไซด์ของเหล็กซึ่งมีหลายชนิดได้แก่  Fe2O3  Fe3O4  Fe2S3 ในอุตสาหกรรมถลุงเหล็กควรเลือกใช้แร่ชนิดใด  (Fe=55.5  O=16 S=32)

วิธีทำ   แนวคิด  การถลุงเหล็กก็คือการนำแร่เหล็กมาแยกเอาธาตุอื่น ๆ ออกไป  จึงควรเลือกแร่เหล็กชนิดที่มีเหล็กเป็นองค์ประกอบมากที่สุด

                ร้อยละของ  Fe  ใน  Fe2O3  =  2Fe (100 ) / Fe2O3

                                                   =   2(55.5)(100) /159     =    69.81

ร้อยละของ  Fe  ใน  Fe3O4  =  3Fe(100) / Fe3O4

                                                   =  3(5535)(100) /230.5       =    72.23

                ร้อยละของ  Fe  ใน  Fe2S3    =  2Fe (100) / Fe2S3 

                                                   =  2(55.5)(100) / 207      =    53.62

                จากร้อยละของ  Fe  ในแร่เหล็กแต่ละชนิดที่คำนวณได้  จะเห็นได้ว่าใน  Fe3O4  มีร้อยละของ  Fe  เป็นองค์ประกอบมากที่สุด  จึงควรเลือก  Fe3O4  ในอุตสาหกรรมการถลุงเหล็ก

แบบฝึกหัด 

  1. จงหามวลโมเลกุลหรือมวลสูตรของสารและมวลของสาร  1 โมเลกุลหรือ  1  หน่วยสูตร ตามที่กำหนด
    H=1  C=12 N=14  O=16  S=32  Fe=56 K=39  Cu=63.5  Cr=52

 

สารที่กำหนด

มวลโมเลกุลหรือมวลสูตรของสาร

มวลของสาร  1  โมเลกุล

หรือ 1 หน่วยสูตร

 

C12H22O11

 

 

 

(342amu.)

 

 

Fe3O4

 

 

 

(232amu.)

 

 

K3[Fe(CN)6]

 

 

 

(245amu.)

 

 

(NH3)4CuSO4

 

 

 

 

 

(227.5amu.)

 

 

K2Cr2O7

 

 

 

 

 

(294amu.)

 

 

 

2.  จงหามวลโมเลกุล (molecular mass)  กฎสัดส่วนคงที่ (law of definite proportion) และมวลของสาร 1   โมเลกุล (mass of  1 molecule) หรือมวลของหน่วยสูตร (formula unit) จากสูตรของสารที่กำหนดให้
   H = 1  C=12 O=16  Mg=24  S=32 Cl=35.5  K=39  Ca=40 Mn=55

 

สูตรของสารที่กำหนด

มวลโมเลกุล
หรือมวลของหน่วยสูตร

มวลของสาร 1 โมเลกุล
หรือ  1  หน่วยสูตร

มวล/โมล
(molar mass)


H2

H+H

1+1 = 2

-

 


Cl2

Cl+Cl

35.5+35.5=71

-

 


O2

O+O

16.16=32

-

 


HCl

H+Cl

1+35.5=36.5

H:Cl

1:35.5

 

 


H2O

2H+O

(2x1)+16=18

H:O
2:16
1:8

 


C6H12O6

6C+12H+6O

(6x12)+(12x1)+(6x16)

72+12+96=180

C:H:O
72:12:96
6:1:8

 


MgSO4

Mg+S+4O

24+32+(4x16)

24+32+64=120

Mg:S:O
24:32:64
3:4:8

 


Ca(OH)2

Ca+2O+2H

40+(2x16)+(2x1)=74
40+32+2

Ca:O:H
40:32:2
20:16:1

 


KMnO4

K+Mn+4O

39+55+(4x16)=158
39+55+64

K:Mn:O
39:55:64

 


(NH4)2SO4

2N+8H+S+4O

(2x14)+(8x1)+32+(4x16)=128
28+8+32+64

N:H:S:O
28:8:32:64
7:2:8:13

 

3. Determine the fraction and percent composition of each element below (answer to one decimal place):  (จงหาร้อยละโดยมวลของแต่ละธาตุที่เป็นองค์ประกอบในสารที่กำหนดให้ต่อไปนี้ คิดทศนิยม 1ตำแหน่ง) ; (H=1 C=12 N=14  O=16  Na=23 Al=27  S=32  Cl=35.5 Ca=40)

 

 

H2SO4

 

 

ร้อยละโดยมวลของ H

 

ร้อยละโดยมวลของ S

 

ร้อยละโดยมวลของ O

 

 

 

Ca(OH)2

 

 

ร้อยละโดยมวลของ Ca

ร้อยละโดยมวลของ O

ร้อยละโดยมวลของ H

 

 

HC2H3O2

 

 

ร้อยละโดยมวลของ H

ร้อยละโดยมวลของ C

ร้อยละโดยมวลของ O

 

CO2

 

ร้อยละโดยมวลของ C

ร้อยละโดยมวลของ O

 

 

 

 

 

N2O

 

ร้อยละโดยมวลของ N

ร้อยละโดยมวลของ O

 

 

 

 

 

NaOCl

 

ร้อยละโดยมวลของ Na

 

 

 

ร้อยละโดยมวลของ O

ร้อยละโดยมวลของ Cl

 

Al2S3

 

ร้อยละโดยมวลของ Al

ร้อยละโดยมวลของ S

 

 

 

 

 

4.  Which of the following ores containingcopper have the highest copper content on a weight percentage basis?  (Atomic weights: C = 12.01, O = 16.00, H =1.008,
Cu = 63.55, Fe = 55.85, S =32.06). (Ans.b)  (สินแร่ทองแดงแต่ละชนิดต่อไปนี้  ชนิดใดมีร้อยละโดยมวลของทองแดงมากที่สุด)
      a)  CuFeS2                      b)   Cu2(CO3)(OH)2           c)   Cu3(CO3)2(OH)2

 5. Which of the following compounds has the smallest percent of sulfur by mass? (Atomic weights: S = 32.06, O = 16.00, Li = 6.94, Na = 22.99, Mg =24.30). (Ans.e)

(สารประกอบต่อไปนี้ชนิดใดมีร้อยละโดยมวลของซัลเฟอร์น้อยที่สุด)
      a)   SO2                    b)  Na2S                         c)   SO3                          d)   Li2S                 e)   MgSO4

 

6. The average mass of a molecule ofpenicillin G is 5.55 x 10-22 g. Calculate the molecular weight of penicillin   G.(Ans.a) ( ยาเพนิซิลลิน จี  1  โมเลกุล  มีมวลเฉลี่ย  = 5.55 x 10-22 g  จงคำนวณหามวลโมเลกุล ของยานี้)
      a)   334            b)   321                  c)  242                  d)   265                  e)   289

 7.   The average mass of a molecule of vitamin B12 is 2.24 x 10-21 g. Calculate the molecular weight of

      vitamin  B12.(Ans.a)  (วิตามิน บี 12 จำนวน  1  โมเลกุล มีมวลเฉลี่ย  = 2.24 x 10-21 g  จงคำนวณหา      มวลโมเลกุลของ วิตามินบี 12)
        a)   1.35 x 103            b)   1.00 x 103      c)   1.35 x 104      d)   2.24 x 103      e)   1.00 x 104

 8.  The mass of a molecule of the artificial sweetener Aspartame is 4.89 x 10-22 g. Calculate the molecular   weight 

of Aspartame. (Ans.a)  ( แอสปาเทมซึ่งใช้เป็นน้ำตาลเทียม จำนวน  1 โมเลกุล  มีมวลเฉลี่ย    = 4.89 x 10-22 g  จงคำนวณหา

มวลโมเลกุลของแอสปาเทม)

     a)   294             b)  364                  c)   242                  d)   269                  e)   321

 9. The controversial artificial sweetener saccharin has the molecular formula C3H5O3NS. What is the  mass in  grams

of one molecule?  (Atomic weights: C = 12.01, H = 1.008, O = 16.00, N = 14.01, S     =32.06). (Ans.b)    

(ซัคคารินซึ่งใช้เป็นน้ำตาลเทียมอีกชนิดหนึ่งแต่เป็นสารควบคุม  มีสูตรโมเลกุล    C3H5O3NS  อยากทราบว่าซัคคาริน   1  โมเลกุล 

มีมวลกี่กรัม)
    a)   3.85 x 10-22             b)   2.24 x 10-22     c)   2.24 x 10-21     d)   5.55 x 10-21     e)   5.55 x 10-22

 10. The molecular formula of vitamin B12 is C63H84N14O14PCo. What is the mass in grams of one

  molecule?    (Atomic weights: C = 12.01, O = 16.00, N = 14.01, H = 1.008, P = 30.97, Co = 58.93)(Ans.b) 

(สูตรโมเลกุลของวิตามินบี 12 คือ  C63H84N14O14PCo.  อยากทราบว่าวิตามินบี  12 จำนวน    1 โมเลกุล  มีมวลกี่กรัม)
    a)   3.85 x 10-22                 b)   2.24 x 10-21     c)   2.24 x 10-22     d)   4.87 x 10-22     e)   5.55 x 10-21

 

11.  Morphine, an addictive drug, has the molecular formula C17H19NO3. What is the mass in grams of    one    molecule?(Atomic weights: C = 12.01, H =1.008, N = 14.01, O = 16.00). (Ans.b) 
     (สูตร โมเลกุลของมอร์ฟีน    ซึ่งเป็นยาเสพติดคือ  C17H19NO3 อยากทราบว่ามอร์ฟีนจำนวน 1  โมเลกุลมีมวลกี่กรัม)
    a)   3.85 x 10-22                 b)   4.74 x 10-22     c)   3.58 x 10-21     d)   2.24 x 10-22     e)   4.74 x 10-21





รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

Size : 18.38 KBs
Upload : 2013-08-03 04:15:48
ติชม

กำลังแสดงหน้า 1/0
<<
1
>>

ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :


K-Me
รายละเอียด Share
สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
วิทยาศาสตร์


โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
70 หมู่ 2 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170
โทรศัพท์ 0 2441 3593 E-Mail:satriwit3@gmail.com


Generated 0.604169 sec.