krusunsanee Article |
|
|
|
|
เทคนิคการทำข้อสอบแบบเชื่อมโยง ศันสนีย์ อรุณสินประเสริฐ รวบรวม
การเชื่อมโยง
เป็นลักษณะของการ อ่านคิดวิเคราะห์ ข้อความต่างๆที่ปรากฎในโจทย์ โดยโจทย์จะให้บทความมาหนึ่งบทความแล้วระบุข้อความประมาณ 10 ข้อความในบทความนั้นด้วยการพิมพ์ตัวหนาและระบุเลขกำกับของข้อความแต่ละข้อ ความมาให้ โดยเลขที่กำกับข้อความนี้ก็จะเป็นหมายเลขข้อของข้อสอบด้วย
หลักการเชื่อมโยง
1. เริ่มจากการดูคำใน ตารางก่อนเลยว่า คำที่เขาจะให้เชื่อมโยง หรือคำที่เป็นตัวหนามีอะไรบ้าง หลังจากนั้นอ่านบทความ แล้วให้วงคำที่เป็นคำในตารางทั้งหมด โดยตรวจให้ละเอียดทุกย่อหน้าโดยใช้ปากกาสีหนึ่ง รวมทั้ง ใช้ปากกาอีกสีเลือกมาสีหนึ่งวงคำเชื่อมที่อยู่ใกล้ๆ คำที่ต้องใช้ (ซึ่งก็คือ คำที่เป็นตัวหนา หรือคำที่อยู่ในตารางนั่นเอง ) เช่น เพราะว่า มีสาเหตุมากจาก เช่น ล้วนเป็นสาเหตุให้ ทำให้
โดยเก็บให้ละเอียด แต่ละย่อหน้า จะมีเนื้อหา จบในตัวมันเองอยู่แล้วเสียส่วนใหญ่ ซึ่งก็จะไปเกี่ยวข้องกับ ย่อหน้าอื่น แต่โดยเนื้อหาแล้ว จะจบไปเป็นย่อหน้าย่อหน้าไป
ซึ่งวิธีนี้ จะทำให้เราไม่พลาด คำบางคำไปเลย แม้แต่คำเดียว และการที่เราวงคำเชื่อม ก็ทำให้เราคิดได้สะดวกและรวดเร็วว่าแต่ละ วลี หรือ แต่ ละประโยค มีความสัมพันธ์แบบไหนความสัมพันธ์ ทำให้ไม่พลาดอีกเช่นกัน นี่คือหัวใจเลยล่ะ
2. หลังจาก บทความทั้งบทความเต็มไปด้วย รอยปากกา ทั้งสองสี ที่สีหนึ่งวงคำเชื่อม อีกสีหนึ่ง วงคำที่ต้องใช้แล้ว เราก็นำมาเขียนแผนภาพ โดยห้าม ใช้ตัวเลข แทน ประโยค หรือ วลีที่จะเชื่อมเด็ดขาด เพราะเมื่อเราร่างเสร็จแล้ว เราอาจจะไม่มีโอกาสได้กลับมาตรวจสอบหรือตรวจสอบแล้ว อ่านแล้วทวนเพื่อตรวจสอบว่า ที่เราเขียนแผนภาพกับ เนื้อหาในบทความตรงกันไหม อ่านเรียงกันไปตั้งแต่ต้น ค่อยๆทวนแผนภาพตามที่อ่าน ว่าความสัมพันธ์ แต่ละ วลี แต่ละ ประโยค ตรงกับกับ คำเชื่อมที่เขาให้มาไหม?
3. เสร็จแล้ว ค่อยเอาคำแต่ละคำมาฝนรหัส ซึ่ง ดูคำสั่งดีดีว่า เขาให้ความสัมพันธ์แต่ละแบบ เป็นรหัสอะไร ฝนให้ตรง อย่าใช้รหัสเก่าๆมาทำ
หมายเหตุ และ เทคนิคที่สำคัญ
1. คำเชื่อมต้องดูดีๆว่า เกี่ยวกับคำที่เขาให้มาไหม (คำในตาราง หรือก็คือ ตัวหนานั่นเอง) คำเชื่อมไหน ที่ ไม่เกี่ยวกับคำเหล่า อย่าไปวงเชียว อ่านประดับความรู้ หรืออ่านผ่านๆ 2. ระวัง ตัวหนา หรือคำที่ใช้ มักซ่อนอยู่ในย่อหน้าแรก หรือในเนื้อหา แล้วค่อยไปโผล่ ย่อหน้าท้ายๆว่ามันเป็นตัวหนา ซึ่งแก้ไขโดยการที่ เปิดดูในตารางก่อนเลย แล้วค่อยมาอ่าน แล้ววงด้วยปากกา คนละสีกับคำเชื่อมนะ. 3.อย่าคิดเอง ย้ำ!!! อย่าคิดเองเด็ดขาด ว่าอันนั้น ต้องเป็นอย่างนั้น เป็นเหตุให้อันนี้ เราไม่มีสิทธิ์คิดเอง ต้องดูตามคำเชื่อมที่เขาให้เท่านั้น ถ้าไม่แน่ใจ ให้ดูการกล่าวซ้ำ มันจะซ้ำกันในย่อหน้าอื่น แม้ว่าดูแปลกจากความคิดเรา แต่ถ้าดูตามคำเชื่อมแล้วมาเขียนแผนภาพแล้วมันเป็นแบบนั้น แสดงว่า มันใช่ 4. ถ้าไม่แน่ใจว่า สองคำนั้น ควรใช้ทั้งสองคำ หรือใช้แค่คำเดียว ให้ดูว่า ย่อหน้าอื่นที่เขากล่าวซ้ำ เขาให้น้ำหนักมันเท่ากันไหม ถ้าให้เท่ากันก็ใช่เลย 5. ส่วนใหญ่ในการเชื่อมโยงมักจะมีการกล่าวซ้ำ มากกว่าในหนึ่งย่อหน้า ซึ่งจะมีการย้ำในย่อหน้าอื่นว่า สองตัวนี้มันสัมพันธ์กันแบบนี้ ลองไปสังเกตดู มีการกล่าวซ้ำ อยู่เยอะเลย แล้วก็มี ในข้อสอบ แทบทุกชุดที่เห็นด้วย ให้ดูว่าเขาให้น้ำหนักสองข้อความนั้นเท่ากันไหม
6.ห้ามไปเปลี่ยนข้อความ ที่ให้มาเด็ดขาด เช่น เศรษฐกิจโลกไม่ดีทำให้ น้ำมันแพง ถ้าเขาให้ ตัวหนา เป็น น้ำมันถูก เราก็จะได้ว่า เศรษฐกิจโลกไม่ดี ยับยั้ง น้ำมันถูก อย่าไปเปลี่ยนข้อความเขาใหม่เป็นว่า
เศรษฐกิจโลกไม่ดี มีผลทำให้ น้ำมันแพง เรื่องคำเชื่อม ถ้าเป็นอย่างนี้ 1. ก๊าซเรือนกระจก เช่น คาร์บอนไดออกไซค์ มีเทน CFC ล้วนทำให้ อุณหภูมิโลกสูงขึ้น 2.ก๊าซเรือนกระจก เช่น คาร์บอนไดออกไซค์ มีเทน CFC ทำให้ อุณหภูมิโลกสูงขึ้น สองอย่างนี้โยงไม่เหมือนกัน
แบบ ที่ 1 จะโยงว่า ก๊าซเรือนกระจก มีองค์ประกอบเป็น คาร์บอนไดออกไซค์มีเทน มีเทน CFC แล้วก๊าซแต่ละตัว ก็โยงไป ทำให้เกิด/มีผลให้เกิด อุณหภูมิโลกสูงขึ้น แบบ ที่ 2 จะโยงว่า ก๊าซเรือนกระจก มีองค์ประกอบเป็น คาร์บอนไดออกไซค์ มีเทน CFC แล้วค่อยโยง ว่า ก๊าซเรือนกระจก มีผลให้/ทำให้เกิด อุณหภูมิโลกสูงขึ้น นะครับ คำสำคัญ ที่บอกก็คือ ล้วน หรือ แต่ละชนิด ทำให้เกิด ถ้า มีสองคำนี้เมื่อไหร่ นั่นหมายถึงว่า แต่ละตัวทำให้เกิด ซึ่งมันสามารถตรวจสอบได้จากย่อหน้าอื่นด้วย เพราะเขาจะบอกซ้ำว่า แต่ละตัว ทำให้เกิดจริงๆ ระหว่างที่เราอ่านโจทย์เราจะต้องตามหาพวกข้อกำหนดให้ครบ โดยควรจะขีดเส้น ด้วยสีต่างๆ และความสัมพันธ์ต่างๆ ก็ควรจะขีดเส้นใต้เหมือนกัน เช่น คำว่า ทำให้เกิด ยับยั้ง ประกอบด้วย โดยพวกนี้ล้วนเป็น ความสัมพันธ์ทั้งสิ้น
3 เมื่อเริ่มอ่านโจทย์ ขีดเส้นไปด้วย เมื่อ เจอ ข้อกำหนดต่างๆที่มันแอบอยู่ในโจทย์ สมมุติเมื่อเราเจอข้อกำหนดอันแรกแล้วก็ถือว่ามันเป็นประธาน subject ขอให้รู้ได้เลยว่ามันจะมีความสัมพันธ์ต่างๆ โดยอาจจะอยู่หน้าหรือ หลัง ข้อกำหนดนั้นๆก็ได้ ( ส่วนใหญ่จะอยู่ด้านหลัง ) โดยอ่านต่อก็จะได้พบ Verb หรือความสัมพันธ์ต่างๆ เมื่อเจอทั้ง Subject และ Verb แล้วต่อไปก็ต้องหา Object เพื่อทำให้ประโยคนี้มีความสมบูรณ์ โดยถ้าอ่านต่อไปจะ Object โดย Object ก็จะเป็นข้อความที่กำหนดเหมือนกับ Subject นั่นเอง 4. หลังจากที่เจอ องค์ประกอบของประโยคครบแล้ว แนะนำให้ใช้วิธีการวาดรูป แทนข้อกำหนดเป็นตัวเลขตามข้อกำหนด แล้วก็ลากความสัมพันธ์ตามจาก Subject เชื่อมด้วย V ที่เจอ ไปยัง Object นั่นเอง ถ้าวาดรูปไม่เป็น ลองหัดวาดจากโจทย์ตัวอย่าง วาดจากสิ่งที่เห็นอันแรก และค่อยๆเก็บไปเรื่อยๆ บางครั้งมันอาจจะไม่เชื่อมกันในตอนแรก เมื่อจะวาดต่อไปเรื่อยจนในที่สุดข้อกำหนดต่างๆ จะเชื่อมกันได้เอง
5. เมื่อวาดเสร็จแล้ว ก็อ่านโจทย์ ขีดเส้นใต้เหมือนเดิม โดยควรจะอ่านโจทย์อย่างระมัดระวัง พยายามเก็บรายละเอียดให้หมด โดยเฉพาะต้องหาข้อความที่กำหนดของโจทย์ ที่ เเอบซ่อนอยู่ในโจทย์ให้ได้ และก็อย่าคิดมากจนเกินไปโดยส่วนใหญ่โจทย์ทั้งหมดของ gat เชื่อมโยงจะไม่ซับซ้อนซ่อนเงื่อนอะไรมากมาย ดังนั้นห้ามคิดมาก แต่ควรคิดอย่างรอบคอบ หลังจากนั้น สิ่งที่ต้องทำก็คือต้องหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อความแต่ละข้อความ ที่โจทย์ระบุมา โดยความสัมพันธ์นี้จะแบ่งเป็น 4 ประเภทคือ
1.ข้อความนั้นเป็นเหตุที่นำไปสู่ข้อความอื่น 2.ข้อความนั้นมีข้อความอื่นเป็นองค์ประกอบหรือเป็นความหมาย 3.ข้อความนั้นไปยับยั้งหรือขัดขวางข้อความอื่น 4.ข้อความนั้นไม่นำไปสู่อะไรเลย ดังนี้
1. ข้อความที่กำหนดมาเป็นเหตุให้เกิดข้อความอื่น โดยเงื่อนไขนี้จะใช้สัญลักษณ์ A เช่น ถ้าข้อความที่ 01 เป็นเหตุให้เกิดข้อความที่ 02 แล้วคำตอบของข้อ 01 ก็คือ 02A เช่น บทความว่า นายดำ (1) ขี้เกียจอ่านหนังสือ นายดำจึง (2) เอ็นท์ไม่ติด คำตอบ ข้อ ข้อความที่กำหนด รหัสคำตอบ 1 ขี้เกียจอ่านหนังสือ 02A 2 เอนท์ไม่ติด 99H เหตุที่ข้อ 1 ตอบ 02A เพราะว่า ข้อความที่ 1 เป็นเหตุให้เกิด ข้อความที่ 2 ซึ่งเป็นผลในเวลาต่อมานั่นเองครับ เหตุที่ข้อ 2 ตอบ 99H เพราะว่า ข้อความที่ 2 ไม่ได้เป็นเหตุให้เกิดผลอะไรตามมา ข้อความที่2 เป็นเพียงแค่ผลอันสิ้นสุดของบทความนี้แล้ว 2. ข้อความที่กำหนดมามีข้อความอื่นเป็นองค์ประกอบหรือมีข้อความอื่นเป็นเป็น คำอธิบายหรือเป็นความหมาย โดยเงื่อนไขนี้จะใช้สัญลักษณ์ D เช่นถ้าข้อความที่ 01 มีองค์ประกอบเป็นข้อความที่ 02 และ 03 หรือมีคำอธิบายเป็นข้อความที่ 02 และ 03 แล้ว คำตอบของข้อที่ 01 คือ 02D, 03D นั่นเอง เช่น บทความว่า ใน (1)สวนสัตว์ มี (2)หมีแพนด้า (3)หมู (4)ลิง คำตอบ ข้อ ข้อความที่กำหนด รหัสคำตอบ 1 'สวนสัตว์' 02D 03D 04D {ถ้ามีคำตอบมากกว่า1ให้เรียงเลขจากน้อยไปหามาก} 2 'หมีแพนด้า' 99H 3 'หมู' 99H 4 'ลิง' 99H เหตุที่ข้อ1 ตอบ 02D 03D 04D เพราะว่า ข้อความที่1 มี ข้อความที่2,ข้อความที่3,ข้อความที่4 มาเป็นองค์ประกอบ,สมาชิก,ส่วนประกอบให้ข้อความที่กำหนดให้ เหตุที่ข้อ 2,3,4 ตอบ 99H เพราะ ว่า ข้อความที่2,3,4 เหล่านี้ ' ไม่ได้ ' มี ข้อความใดมาเป็นสมาชิก,องค์ประกอบให้ ข้อความเหล่านี้เป็นเพียงสมาชิก หรือตัวลูก เป็นแค่ข้อย่อยสุด เป็นแค่สมาชิกของเซต มิได้เป็นหัวข้อใหญ่ นั่นเอง 3. ข้อความที่กำหนด ไปขัดขวาง/ไปยับยั้ง /ลด/ป้องกัน/ห้าม/ขัดขวาง/บั่นทอนไม่ให้เกิดข้อความอื่นโดยเงื่อนไขนี้จะใช้สัญลักษณ์ F เช่นข้อความที่ 01 ไปขัดขวางไม่ให้เกิดข้อความที่ 02 หรือขัดแย้งกับข้อความที่ 02 แล้วคำตอบสำหรับข้อ 01 คือ 02F เช่น บทความว่า (1)การสูบบุหรี่ บั่นทอน (2)สุขภาพร่างกาย ทำให้ตายไว คำตอบ ข้อ ข้อความที่กำหนด รหัสคำตอบ 1 การสูบบุหรี่ 02F 2 สุขภาพร่างกาย 99H เหตุที่ข้อ1 ตอบ 02F เพราะว่า ข้อความที่ 1 ได้เป็นผู้กระทำหรือส่งผลให้เกิดการ ยับยั้ง / ห้าม / บั่นทอน / ขัดขวาง ต่อ ข้อความที่ 2 สังเกตจากคำว่า 'บั่นทอน' เหตุที่ข้อ2 ตอบ 99H เพราะว่า ข้อความที่2 ไม่ได้ กระหรือส่งผลให้เกิดการ ยับยั้ง บั่นทอน ขัดขวาง ข้อความใดๆ หรือ เป็นข้อความหรือเหตุการณ์สุดท้าย 4. ข้อความที่กำหนดให้ไม่ได้ไปเป็นเหตุให้เกิดอะไรเลย,ไม่ได้มีองค์ประกอบเป็น อะไรเลยและไม่ได้ไปขัดแย้งหรือขัดขวางข้อความใดเลย ให้มีคำตอบเป็น 99H เช่น จากบทความที่ 1,2 และ 3 นั้นคำตอบของข้อ 02 คือ 99H ยกตัวอย่าง Ex.4 บทความว่า (1)นายดำและนายแดง เป็นสมาชิก (2)ห้อง15 คำตอบ ข้อ ข้อความที่กำหนด รหัสคำตอบ 1 นายดำและนายแดง 99H 2 ห้อง15 01D เหตุที่ข้อ1 ตอบ 99H เพราะว่า ข้อความที่ 1 ไม่ได้เป็นหัวข้อใหญ่หรือเซตแต่เป็นเพียงหัวข้อย่อยสุดหรือสมาชิกใน เซต (ไม่เข้าใจดูข้อ2) ไม่ได้ไปยับยั้ง ขัดขวางข้อความใด ไม่ได้เป็นเหตุ ให้ข้อความอื่นใดมากเป็นผล เป็นข้อความหรือเหตุการณ์สุดท้าย เหตุที่ข้อ2 ตอบ 01D เพราะว่า นายดำและนายแดงเป็นสมาชิกในห้อง15 ข้อควรจำ*** 1. เวลาอ่านบทความเสร็จต้องเชื่อบทความถึงแม้หลักความจริงไม่ใช่เช่น ถ้าบทความบอกว่าคนบินได้ก็ต้องเชื่อ 2. จะใส่ตัวอักษรA,D,F ให้สังเกตคำ ด้วย เช่น บั่นทอน ต่อมาได้เกิด ทำให้ ป้องกัน ขัดขวาง ประกอบด้วย ฯลฯ 3.การทำข้อสอบเชื่อมโยงจะมีบทความ ประมาณหนึ่งหน้าแต่ให้เวลาทำประมาณ 45 นาที ดังนั้นนักเรียนทุกคนจึงมีเวลาที่จะอ่านใคร่ครวญได้หลายๆรอบ และในแต่ละรอบให้ปฏิบัติตามนี้ รอบที่ 1 ให้เขียนรหัสของข้อความที่พิมพ์หนาลงไปให้ครบทุกข้อความโดยเขียนลงไปด้านบน ของข้อความที่พิมพ์หนา เพราะโจทย์จะไม่ได้เขียนหมายเลขข้อความที่พิมพ์หนาไว้ในบทความแต่จะแยกมาให้ ต่างหากในตารางถัดมา รอบที่ 2 ให้เขียนรหัสของข้อความที่เป็นข้อความเดียวกับข้อความที่พิมพ์หนา แต่ไม่ได้พิมพ์หนาไว้เพราะโจทย์จะพิมพ์หนาไว้ครั้งเดียวแม้ว่าข้อความนั้นจะ ปรากฏในบทความนั้นหลายครั้งก็ตาม โดยเฉพาะคำสรรพนามที่ระบุถึงข้อความที่พิมพ์หนานั้นก็ต้องเขียนหมายเลขกำกับ ลงไปเช่นเดียวกับข้อความที่พิมพ์หนาด้วย รอบที่ 3 ให้เช็คว่าได้เขียนหมายเลขกำกับลงไปตามข้อรอบที่ 1 และรอบที่ 2 ครบหรือยัง ถ้ายังต้องเขียนให้ครบ เพราะสิ่งนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก รอบที่ 4 ให้เริ่มเชื่อมโยงโดยใช้แผนภาพ โดยให้เขียนหมายเลขต่างๆของข้อความทั้งหมดในบทความนั้นกระจายไปบนเส้นรอบวง ของวงกลมใหญ่ๆ แล้วเชื่อมโยงตามสัญลักษณ์ดังนี้ ถ้า 01 เป็นเหตุนำไปสู่ผลคือ 02 ให้เขียนเส้นลูกศรจาก 01 ไป 02 (ดูจากตัวอย่างที่กล่าวมาแล้ว) ถ้า 01 มีองค์ประกอบคือ 02 ให้เขียนเส้นลูกศรจาก 01 ไป 02 ถ้า 01 ไปขัดขวาง 02 ให้เขียนลูกศรตามสัญลักษณ์ รอบที่ 5 และ 6 ให้ตรวจสอบว่าได้เชื่อมโยงครบหรือไม่ รอบที่ 7 ให้นำแผนภาพที่เชื่อมโยงนี้ไปใส่ลงในตาราง โดยพิจารณาเฉพาะลูกศรที่ออกจากหมายเลขนั้นเท่านั้น โดยไม่ดูลูกศรที่เข้ามา แหล่งที่มา http://www.dek-d.com/board/view.php?id=1360359 สืบค้นเมื่อ30ส.ค2554 แหล่งที่มา http://www.vcharkarn.com/varticle/39614 สืบค้นเมื่อ 7พ.ย.2554
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
Size : 2.33 MBs
Upload : 2012-11-13 05:18:14
|
|
ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?
|
สถานะ : ผู้ใช้ลงทะเบียน
ภาษาไทย
|
|
|
|
โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล 70 หมู่ 2 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170 โทรศัพท์ 0 2441 3593 E-Mail:satriwit3@gmail.com
|
Generated 0.028920 sec. |
|
|
|
|
|
|