K-Me Article


โครงสร้างอะตอม ตอนที่ 13 ไฮบริไดเซชัน (Hybridization)

   

 ไฮบริไดเซชัน (Hybridisation)

             คือ การที่ออร์บิทัลต่างชนิดใน  subenergy level หรือ subshell  ของ  energylevel  เดียวกัน  เกิดการรวมตัวกันเป็นออร์บิทัลลูกผสม (hybrid orbitals)  ทำให้มีรูปร่างของออร์บิทัลต่างไปจากเดิม   และมีการจัดตำแหน่งของออร์บิทัลที่เกิดขึ้นใหม่ให้เกิดความสมดุลมากที่สุด  จึงเกิดรูปทรงเรขาคณิตขึ้นมาใหม่ด้วย

                ไฮบริไดเซชั่นจะเกิดขึ้นเมื่ออะตอมถูกกระตุ้นให้มีพลังงานสูง (เกิดขึ้นได้กับธาตุบางธาตุเท่านั้น) กล่าวคือขณะที่อะตอมมีพลังงานต่ำ (Ground state)  การจัดอิเล็กตรอนจะเป็นแบบปกติ  แต่เมื่อมีพลังงานสูง (Excited state) อิเล็กตรอนบางตัวในบางออร์บิทัลของ subshell หรือ subenergy level  ที่มีพลังงานต่ำกว่า  จะย้ายที่ไปอยู่ในออร์บิทัลของ  subshell หรือ subenergy level  ที่มีพลังงานสูงกว่า  โดย  subshell หรือ subenergy level  ดังกล่าวต้องอยู่ใน  energy level   เดียวกัน จากนั้นจึงรวมตัวกันหรือเรียกว่าเกิด hybridisation เป็น orbitals ชุดใหม่  เรียกว่า hybrid orbitals  อิเล็กตรอนทุกตัวใน hybrid orbitals  มีพลังงานเท่ากัน   ให้สังเกตว่าจำนวนออร์บิทัลเดิมกับจำนวน hybrid orbitals  ที่เกิดขึ้นจะมีเท่ากัน  ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะไฮบริไดเซชันที่มีชื่อว่า  sp  sp2  sp3  sp3d  และ  sp3d2  เท่านั้น  พิจารณาจากตัวอย่างต่อไปนี้   

ตัวอย่าง  การเกิดไฮบริไดเซชัน sp 
                ธาตุที่จะเกิดไฮบริไดเซชันชนิดนี้ได้  อย่างน้อยต้องเป็นธาตุคาบที่  2  ขึ้นไป  ธาตุคาบที่  1  เกิดไฮบริไดเซชันไม่ได้เพราะไม่มี  subenergy level p  ธาตุที่จะเกิดไฮบริไดเซชันแบบนี้การจัดอิเล็กตรอนใน  subshell หรือ subenergy level s  จะเป็นแบบจัดเต็ม  แต่ใน  subshell  หรือ subenergy level p  ยังมีออร์บิทัลว่างเหลืออยู่  ดังรูป

 

พิจารณาการจัดอิเล็กตรอนของ  Be  ในภาวะปกติหรือพลังงานต่ำ (ground state)  จะเป็น  1s2  2s2  ไม่มีอิเล็กตรอนใน  2p  แต่เมื่อพลังงานสูง (excited state)  อิเล็กตรอน  1  ตัวจาก  2s2  จะย้ายไปอยู่ในออร์บิทัล  2px  จึงเกิดออร์บิทัลที่มีอิเล็กตรอนเดี่ยว  2  ออร์บิทัล  คือ  2s1  และ     ( 2py  2pz  ยังว่างอยู่)  จากนั้นรวมตัวกัน (เกิดไฮบริไดเซชัน) เป็นไฮบริดออร์บิทัลชื่อ  sp  (พลังงานเท่ากัน)  ดังรูป
  ถ้าแสดงด้วยรูปร่างออร์บิทัลจะเป็นดังนี้


 

รูปทรงเรขาคณิตของไฮบริดออร์บิทัล  sp  มีรูปร่างเป็นเส้นตรง (linear)  ทำมุม  180  องศา  เมื่อทำปฏิกิริยากับธาตุอื่น  โมเลกุลของสารประกอบที่เกิดขึ้นจะมีรูปร่างเป็นเส้นตรงเช่นกัน  เช่น  BeCl2  ดังรูป

                                                                                            (คลิ้ก  ชมการเกิดไฮบริไดเซชัน  sp)

ตัวอย่าง  การเกิดไฮบริไดเซชั่น sp2
           
ให้สังเกตว่าอะตอมที่จะเกิดไฮบริไดเซชันชนิดนี้จะจัดอิเล็กตรอนเต็มใน  subshell  s  เต็ม  แต่  subshell  p  มีอิเล็กตรอนเดี่ยวอยู่บ้างแต่ยังมีออร์บิทัลว่างเหลืออยู่   เช่น  การเกิดไบริไดเซชันของ 5B  ขณะที่อะตอมอยู่ในภาวะปกติ (ground state พลังงานต่ำ)  การจัดอิเล็กตรอนจะเป็นดังนี้  ;
                5B  1s2  2s2  2px1 2py0  2pz0
แต่เมื่อยู่ในภาวะถูกกระต้น (excited  state  พลังงานสูง)  อิเล็กตรอน  1  ตัวจาก  2s2  จะย้ายไปอยู่ที่  2py ดังนี้
                5B  1s2  2s1  2px1 2py1  2pz0
                จากนั้น 2s1  2px1 2py1  จึงเกิด hybridisation กลายเป็น hybridorbital  ชื่อ  sp2  ดังรูป  

 

 ถ้าแสดงด้วยรูปร่างออร์บิทัลจะเป็นดังนี้


           จะเห็นได้ว่ามีการผสมระหว่างออร์บิทัล  2s  กับ  2px และ  2py  ในขณะที่  2pz  ยังว่างอยู่  รูปทรงเรขาคณิตของไฮบริดออร์บิทัล  sp2  เป็นสามเหลี่ยมแบนราบ (trigonal plana)  ทำมุม  120  องศา  เมื่อทำปฏิกิริยากับธาตุอื่น  โมเลกุลของสารประกอบที่เกิดขึ้น  เช่น  BCl3  จะมีรูปทรงเรขาคณิตเป็นสามเหลี่ยมแบนราบเช่นกัน  ดังรูป
 


(คลิ้ก ชมการเกิดไฮบริไดเซชัน sp2 ) 

 

ตัวอย่าง  การเกิดไฮบริไดเซชั่น sp3 

ให้สังเกตว่าอะตอมที่จะเกิดไฮบริไดเซชันชนิดนี้จะจัดอิเล็กตรอนเต็มใน  subshell  s  เต็ม  แต่  subshell  p  มีอิเล็กตรอนเดี่ยวอยู่  2  ออร์บิทัล  ว่าง  1  ออร์บิทัล   เช่น  6C  ถ้าเกิด ไฮบริไดเซชัน  sp3  จะเป็นดังนี้




   ถ้าแสดงด้วยรูปร่างออร์บิทัลจะเป็นดังนี้


 

            จะเห็นได้ว่าเป็นการผสมระหว่าง  ออร์บิทัล  2s  2px  2py  และ  2pz   รูปทรงเรขาคณิตของไฮบริดออร์บิทัล  sp3 เป็นทรงเหลี่ยมสี่หน้า  (tetrahedral)  ทำมุม  109.5  องศา  เมื่อทำปฏิกิริยากับธาตุอื่น  โมเลกุลของสารประกอบที่เกิดขึ้นจะเป็นทรงเหลี่ยมสี่หน้าเช่นกัน  เช่น  CH4  ดังรูป
 
(คลิ้ก ชมการเกิดไฮบริไดเซชัน sp3)

** กรณีของ  C  มีสมบัติพิเศษในการเกิดไฮบริไดเซชัน  คือเกิดได้  3  แบบ  ทั้ง  sp  sp2 และ sp3

ตัวอย่าง การเกิดไฮบริไดเซชั่น sp3d
           
ไฮบริไดเซชันชนิดนี้จะเกิดขึ้นได้เมื่ออะตอมมี subshell d  ที่ยังว่างเหลืออยู่  ซึ่งอย่างน้อยจะต้องเป็นธาตุตั้งแต่คาบที่  3  ในตารางธาตุ  เพราะธาตุคาบที่  1  และ  2  ไม่มี  subshell  d  พิจารณาการเกิดไฮบริไดเซชันของธาตุ  15P  (คาบที่ 3 หมู่ 5A ) ดังรูป
 
แสดงด้วยรูปร่างออร์บิทัลจะเป็นดังนี้

     รูปทรงเรขาคณิตของไฮบริดออร์บิทัล  sp3d มีรูปร่างเป็นพีระมิดคู่ฐานสามเหลี่ยม (trigonal  bipyramidal)   ทำมุม  120  และ  90  องศา  เมื่อทำปฏิกิริยากับธาตุอื่น  โมเลกุลของสารประกอบที่เกิดขึ้นจะมีรูปร่างเป็นพีระมิดคู่ฐานสามเหลี่ยมเช่นกัน  PCl5  ดังรูป

 

ตัวอย่างการเกิดไฮบริไดเซชั่น sp3d2

            ไฮบริไดเซชันชนิดนี้จะเกิดขึ้นได้เมื่ออะตอมมี subshell d  ที่ยังว่างเหลืออยู่  ซึ่งอย่างน้อยจะต้องเป็นธาตุตั้งแต่คาบที่  3  ของตารางธาตุ  เพราะธาตุคาบที่  1  และ  2  ไม่มี  subshell  d  พิจารณาการเกิดไฮบริไดเซชันของธาตุ  16S (คาบที่ 3 หมู่ 6A) ดังรูป

แสดงด้วยรูปร่างออร์บิทัลจะเป็นดังนี้
 

            รูปทรงเรขาคณิตของไฮบริดออร์บิทัล  sp3d2 มีรูปร่างเป็นทรงเหลี่ยมแปดหน้า ( octrahedral)   ทำมุม  90  องศา  เมื่อทำปฏิกิริยากับธาตุอื่น  โมเลกุลของสารประกอบที่เกิดขึ้นจะมีรูปร่างเป็นทรงเหลี่ยมแปดหน้าเช่นกัน  SF6   ดังรูป 

(คลิ้ก ชมการเกิดไฮบริไดเซชัน sp  sp2  sp3  sp3d  sp3d2 )

การเกิดไฮบริไดเซชัน  มีผลต่อการทำปฏิกิริยาของธาตุต่าง ๆ   ธาตุบางธาตุมีการจัดอิเล็กตรอนคล้ายกันแต่ทำปฏิกิริยาได้สารประกอบแตกต่างกัน  เช่น  N  กับ P  เป็นธาตุหมู่  5A  มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ  5  ทั้ง  2  ธาตุ  ดังนี้
                7N ; 2 , 5  (คาบที่ 2  หมู่ 5A)
                15P ; 2 , 8 , 5 (คาบที่ 3 หมู่ 5A)

เมื่อให้ธาตุทั้งสองนี้ทำปฏิกิริยากับ  Cl2  พบว่าได้ผลต่างกันคือ  ไนโตรเจนจะเกิดสารประกอบ   NCl3 เพียงชนิดเดียว ในขณะที่ฟอสฟอรัสเกิดสารประกอบ  2  ชนิดคือ  PCl3  และ   PCl5  นอกจาก  2  ธาตุนี้แล้วยังมีธาตุอื่น ๆ อีกมากมายที่มีลักษณะทำนองเดียวกันนี้   ความแตกต่างนี้อธิบายได้ด้วยการเกิดไฮบริไดเซชัน  คือ  ธาตุ  N  เป็นธาตุคาบที่ 2 ไม่มี  subshell d (subenergy level d)  จึงไม่เกิดไฮบริไดเซชัน  จึงเกิด  NCl3  ได้ชนิดเดียว  ในขณะที่  P  เป็นเป็นธาตุคาบที่  3  จึงมี  subshell d (subenergy level d)  ทำให้เกิดไฮบริไดเซชันได้  จึงเกิดปฏิกิริยาได้  2  แบบ  คือในภาวะปกติจะได้  PCl3  ในภาวะถูกกระตุ้นจะได้  PCl5    ดังรูป
 

  • กรณีของ  N  จะเกิด  NCl3  ได้ชนิดเดียว  ดังรูป

  • กรณีของ  P 
    ในภาวะปกติเกิด  PCl3  ดังรูป


    ในภาวะถูกกระตุ้นเกิด  PCl5  ดังรูป


การเกิดไฮบริไดเซชันยังใช้ในการอธิบายถึงเหตุผลที่ทำให้แก๊สมีตระกูล (แก๊สเฉื่อย) สามารถเกิดปฏิกิริยาได้  ซึ่งในยุคแรก ๆ เชื่อว่าเกิดปฏิกิริยาไม่ได้  เพราะการจัดอิเล็กตรอนของแก๊สมีตระกูลเป็นการจัดเต็มทุกออร์บิทัล  เช่น  การจัดอิเล็กตรอนของ  Xe  เป็นดังรูป 


       ปัจจุบันพบว่า  Xe  ทำปฏิกิริยาเกิดสารประกอบ               XeF4   และ  XeF6  ได้  เหตุผลของการเกิดปฏิกิริยาอธิบายด้วยการเกิดไฮบริไดเซชัน  (แต่รูปแบบอาจต่างจากที่กล่าวมาในตอนต้นเล็กน้อย)
      กรณีเกิดสารประกอบ  XeF4  เกิดจากไฮบริไดเซชัน  sp3d2  ดังรูป

กรณีเกิดสารประกอบ  XeF6  เกิดจากไฮบริไดเซชัน  sp3d3  ดังรูป



 




รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

Size : 80.58 KBs
Upload : 2012-11-01 05:41:14
ติชม

กำลังแสดงหน้า 1/0
<<
1
>>

ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :


K-Me
รายละเอียด Share
สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
วิทยาศาสตร์


โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
70 หมู่ 2 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170
โทรศัพท์ 0 2441 3593 E-Mail:satriwit3@gmail.com


Generated 0.029985 sec.