krusunsanee Article


การวิเคราะห์ประโยค

                                                   ชนิดของประโยค

   ประโยคแบ่งได้เป็นสามแบบ ได้แก่
            1.ประโยคความเดียว ถึงจะยาวแค่ไหน ก็เป็นประโยคที่มีใจความสำคัญเพียงใจความเดียวเท่านั้น
                 1.1 ประโยคความเดียวที่ประกอบด้วยประธาน และกริยา - ประธาน + กริยา
                          เช่น กบร้อง ฝนตก ดอกไม้สวย

                          - ประธาน + ขยายประธาน + กริยา เช่น
                               กบตัวโตร้อง
                               ฝนโบกขรพรรษตก
                               ดอกกุหลาบแดงสวย

                         - ประธาน+ขยายประธาน+กริยา + ขยายกริยา เช่น
                              เด็กข้างบ้านร้องไห้ดังลั่น
                              งูตัวใหญ่ค่อยๆเลื้อยไปอย่างเชื่องช้า

                         - ประธาน+กริยา+ขยายกริยา เช่น
                               น้ำท่วมอย่างฉับพลัน
                               เขาเดินทางโดยเครื่องบิน

                 1.2 ประโยคความเดียวที่ประกอบด้วยประธาน กริยา และกรรม เช่น
                            กบกินแมลง งูไล่หนู ฟ้าผ่าต้นไม้

                        - ประธาน+ขยายประธาน+กริยา+กรรม เช่น
                             น้องของฉันเห็นงู
                             กบสีเขียวในสระกินแมลง

                       - ประธาน+ขยายประธาน+กริยา+กรรม+ขยายกริยา เช่น
                             แมลงปีกแข็งกระพือปีกเร็วมาก

                       - ประธาน+กริยา+กรรม+ขยายกรรม เช่น
                             พ่อซื้อบ้านตากอากาศริมทะเลชะอำ

                       - ประธาน+กริยา+กรรม+ขยายกริยา เช่น
                             เขารับประทานอาหารจีนด้วยตะเกียบอย่างคล่องแคล่ว

               1.3 ประโยคความเดียวที่ประกอบด้วยประธาน กริยา และส่วนเติมเต็ม
                           ความสำเร็จของลูกเป็นความหวังของพ่อแม่
                           ข้อดีของเขาคือการทำงานด้วยความซื้อสัตย์

           ประโยคความเดียว ต้องสังเกตและวิเคราะห์ให้ดีๆ อย่าให้โดนส่วนขยายหลอกเอาได้ ว่าเป็นประโยคความรวมหรือประโยคความซ้อน

      2.ประโยคความรวม
         ประโยคความรวมจะนำประโยคความเดียวมารวมกันครับ โดยมีคำสันธานเป็นตัวเชื่อม วิธีดูง่ายๆก็คือ ประโยคความรวมจะแยกเป็นสองประโยคที่มีความหมายสมบูรณ์ได้

               2.1 ความรวมแบบคล้อยตาม เนื้อหาจะไปในทางเดียวกัน
                     พอภรรยาโกรธจริงเขาก็เงียบทุกครั้ง ครั้นภรรยาตวาดเขาก็หลบหน้า
ความรวมแบบไม่มีคำเชื่อมก็มี
                    ขนมหวานอร่อย (ขนมหวาน+ขนมอร่อย)
                    แม่นั่งป้อนข้าวน้อง (แม่นั่ง+แม่ป้อนข้าวน้อง)

               2.2 ความรวมแบบขัดแย้ง เนื้อความจะขัดแย้งซึ่งกันและกัน
                      กว่าเขาจะนึกได้ก็สายไปเสียแล้ว
                      ถึงเขาจะมีอิทธิพลมากผมก็ไม่กลัว
                      พ่อไปทำงานแต่แม่อยู่บ้าน
               2.3 ความรวมแบบเหตุผล บอกสาเหตุกับผลลัพธ์ว่าเกิดอะไรขึ้น โดยเหตุอยู่หน้า และผลอยู่หลัง                    
                      เขาทุจริตในการสอบเขาจึงถูกปรับตกทุกวิชา
                      เพราะเขาโดนใบเหลืองสองใบ จึงถูกไล่ออกจากสนาม
              2.4   ความรวมแบบเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง เลือกได้อย่างเดียว
                     ไม่เธอก็ฉันต้องออกไปพูดหน้าห้อง
                      คุณต้องการชาหรือกาแฟครับ

   3.ประโยคความซ้อน

             ประโยคความซ้อนจะมีใจความหลักประโยคหนึ่ง แล้วมีประโยคย่อยอีกประโยคหนึ่งซ้อนอยู่ซึ่งเจ้าประโยคที่ว่าเนี่ย อาจทำหน้าที่เป็นนาม สรรพนาม หรือตัวขยายก็ได้ แต่ว่าต้องเป็นประโยคเท่านั้น ถ้าเป็นกลุ่มคำ จะกลายเป็นประโยคความเดียว

             3.1 นามานุประโยค ประโยคที่มาซ้อน จะทำหน้าที่แทนคำนาม
                 เขาเดินไปโรงเรียนเป็นกิจวัตรประจำวัน (ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นประธาน)
                 ผมชอบมองนกนางนวลบินโฉบไปมา (ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นกรรม)
                 กรรมหนักข้อหนึ่งคือทำให้สงฆ์แตกกัน (ประโยคย่อยทำหน้าที่ส่วนเติมเต็ม)

            3.2 คุณานุประโยค ประโยคย่อยจะทำหน้าที่ขยายนาม หรือสรรพนาม โดยมีประพันธสรรพนาม ผู้ ที่ ซึ่ง อัน เป็นตัวเชื่อมกลาง
                ผมได้รับรางวัลซึ่งไม่แพงแต่มีค่าทางจิตใจมหาศาล
                เราพึงกำจัดความประมาทอันจะก่อให้เกิดความผิดพลาดถึงตาย
            3.3 วิเศษณานุประโยค ประโยคย่อยจะทำหน้าที่ขยายกริยา หรือวิเศษณ์ โดยมีคำประพันธวิเศษณ์ เช่น อย่างที่ เมื่อ เพราะ ตาม จน ตั้งแต่ เป็นตัวเชื่อม
                 ผู้หญิงคนนั้นสวยอย่างที่ผมไม่เคยเห็นมาก่อน

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

Size : 2.34 MBs
Upload : 2013-05-24 10:45:26
ติชม

กำลังแสดงหน้า 1/0
<<
1
>>

ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :


krusunsanee
รายละเอียด Share
สถานะ : ผู้ใช้ลงทะเบียน
ภาษาไทย


โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
70 หมู่ 2 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170
โทรศัพท์ 0 2441 3593 E-Mail:satriwit3@gmail.com


Generated 0.114123 sec.