K-Me Article


กรด - เบส ตอนที่ 2 การแตกตัวของกรด-เบส และภาวะสมดุลในสารละลายกรด – เบส

กรด-เบส
ตอนที่  2  การแตกตัวของกรด-เบส และภาวะสมดุลในสารละลายกรด – เบส

                เมื่อจำแนก กรด-เบส โดยดูจากความแรงของกรดหรือเบส  ทำให้จำแนกออก 2  ชนิด  คือ

                  1.  กรดแก่  (strong acid)  คือกรดที่ละลายน้ำแล้วจะแตกตัวเป็นไอออนได้ 100 %  มี  7  ชนิด  และมีลำดับ
                         ความแรงดังนี้   HClO4>HI>HBr>HCl>H2SO4>HNO3>HClO3

                 2. กรดอ่อน (weak acid) คือกรดที่มีความแรงของกรดน้อย  เมื่อเกิดการละลายจะมีการแตกตัวเพียงเล็กน้อย 
                          และเกิดภาวะสมดุล  กรดอ่อนมีอยู่เป็นจำนวนมาก  ได้แก่  กรดอินทรีย์ทุกชนิด  รวมทั้งกรดอนินทรีย์ที่ไม่ใช่
                         กรดแก่  เช่น H2CO3  H2SO3

                 3.  เบสแก่ (Strong base)  คือเบสที่ละลายน้ำแล้วแตกตัว 100 % มี  8  ชนิดและมีลำดับความแรงดังนี้

                         KOH > Ba(OH)2 > CsOH > NaOH > Sr(OH)2 > Ca(OH)2 > LiOH > RbOH

                 4.  เบสอ่อน (Weak base) คือเบสที่มีความแรงน้อย  เมื่อละลายจะแตกตัวเพียงเล็กน้อยแล้วเกิดภาวะสมดุล
                      ทำนองเดียวกับกรดอ่อน  เช่น  NH3   หรือ NH4OH               
                                         
(คลิ้ก  ชมเปรียบเทียบการแตกตัวของกรดแก่และกรดอ่อน)                                                                                                   
                                  (คลิ้ก  ชมการแตกตัวของกรดแก่)          (คลิ้ก  ชมการแตกตัวของกรดอ่อน)

 

ไอออนสำคัญในสารละลายกรดหรือเบส

ถ้าพิจารณาสารละลายกรด – เบส  ตามทฤษฎีของอาร์รีเนียส  สารละลายของกรดแต่ละชนิด  จะมีอนุภาคชนิดเดียวกันละลายอยู่คือ  H+  หรือ  H3O+  เช่น

        HCl  →  H+ + Cl-

หรือ HCl + H2O →  H3O+ + Cl-

        H2SO4  → H+ + HSO4-

หรือ H2SO4 + H2O →  H3O+ + HSO4-

        HNO3  →  H+ + NO3-

หรือ HNO3 + H2O  →  H3O+ + NO3-

        CH3COOH  →  H+ + CH3COO-

หรือ CH3COOH + H2O  →  H3O+ + CH3COO-

        สำหรับกรณีของเบส  ต่างก็จะมี OH- ละลายอยู่เช่นกันดังตัวอย่าง

        NaOH  →  Na+  +  OH-

        KOH  →  K+  +  OH-

        Ca(OH)2  è  Ca2+  +  2OH-

        NH4OH  →  NH4OH-  
 

การที่มีไอออนอยู่ในสารละลายกรดและสารละลายเบส  ทำให้สารละลายนำไฟฟ้าได้  เรียกว่าสารละลายอิเล็กโตรไลต์  ซึ่งนอกจากสารละลายของกรดและเบสแล้วสารละลายของเกลือหรือสารละลายของสารไอออนิกต่าง ๆ  จะมีสมบัติเป็นสารละลายอิเล็กโตรไลต์เช่นกัน

                ถ้าเปรียบเทียบสมบัติของสารละลายอิเล็กโตรไลต์ชนิดต่าง ๆ ที่มีความเข้มข้นเท่ากัน  ชนิดที่นำไฟฟ้าได้ดีกว่าจะมีสมบัติเป็นสารละลายอิเล็กโตรไลต์ที่แก่กว่า  ถ้าพิจารณาเฉพาะสารละลายของกรดและเบส พบว่าจะทั้งอิเล็กโตรไลต์อ่อนและอิเล็กโตรไลต์แก่  กรดที่ทำให้เกิดสารละลายอิเล็กโตรไลต์แก่เรียกว่าว่ากรดแก่ (strong acid)  ซึ่งมี 7 ชนิด  ได้แก่  HCl  HBr  HI  HNO3  H2SO4 HClO3  HClO4  (แหล่งอ้างอิงบางแห่งไม่จัดให้  HClO3 เป็นกรดแก่)  มักกล่าวว่ากรดแก่เป็นกรดที่แตกตัวได้  100 %  สำหรับกรดที่แตกตัวได้ไม่ถึง 100  %  เราเรียกว่ากรดอ่อน (weak base)  ทำให้สารละลายมีสมบัติเป็นอิเล็กโตรไลต์อ่อน ส่วนที่ไม่แตกตัวเป็นไอออนจะละลายอยู่ในรูปโมเลกุล  กรดอ่อนมีอยู่เป็นจำนวนมาก  ได้แก่กรดอินทรีย์ทุกชนิด  และกรดอนินทรีย์นอกเหนือจากกรดแก่ 7 ชนิดดังกล่าวมาแล้ว

                สำหรับสารละลายเบสก็เช่นเดียวกัน  พบว่ามีทั้งชนิดที่เป็นอิเล็กโตรไลต์แก่และอิเล็กโตรไลต์อ่อน    เบสที่ทำให้เกิดสารละลายอิเล็กโตรไลต์แก่เรียกว่าเบสแก่  (strong base)  มี 8 ชนิด  คือ  KOH  Ba(OH)2  CsOH  NaOH  Sr(OH)2  Ca(OH)2  LiOH  RbOH  นอกจากที่กล่าวมานี้เป็นเบสอ่อน (weak base)  ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น  สารกลุ่มเอมีน 
; R-NH2

 

โครงสร้างโมเลกุลของกรดเป็นสารโคเวเลนต์  แต่เมื่อละลายน้ำจะแตกตัวออกเป็นไอออน  ซึ่งแตกต่างจากสารโคเวเลนต์อื่น ๆ ที่ละลายทั้งโมเลกุล  เมื่อกรดละลายน้ำแล้วจะทำให้  H  ในโมเลกุลจะแตกตัวออกเป็น   Hและจะรวมตัวอยู่กับโมเลกุลของน้ำในรูป H3O+ (ไฮโดรเนียมไอออน)  ส่วนที่เหลือจะเป็นไอออนลบซึ่งก็คือคู่เบสของกรดนั้น ๆ ละลายอยู่ในสารละลายเดียวกัน  ตัวอย่างโครงสร้างโมเลกุลของกรดบางชนิดเป็นดังนี้

 

จะเห็นได้ว่า  H สร้างพันธะโคเวเลนต์อยู่กับ  O  ซึ่งล้อมรอบอะตอมของอโลหะที่เป็นอะตอมกลาง  ไม่ได้สร้างพันธะกับอโลหะที่เป็นอะตอมกลางโดยตรง

ภาวะสมดุลของกรดอ่อน 

                การละลายของกรดอ่อนจะมีการแตกตัวเป็นไอออนเพียงเล็กน้อย  และผันกลับได้โดย  ทำให้มีภาวะสมดุลเกิดขึ้น  เรียกว่าสมดุลของสารละลายกรดอ่อนหรือสมดุลของการแตกตัวของกรดอ่อน  ซึ่งมีค่าคงที่สมดุลทำนองเดียวกับสมดุลทั่ว ๆ ไป  เช่น  การแตกตัวของกรดอะซิติก (CH3COOH)  เป็นดังนี้

                          กำหนดให้เรียก  K[H2O]  ว่า   Ka  ฉะนั้น


  สังเกตจากสมการแสดงภาวะสมดุลจะเห็นว่า   [CH3COO-]= [H3O+]  ฉะนั้นค่า  Ka  จึงเป็นดังนี้ก็ได้



ในการหาค่า Ka ของกรดอ่อนนี้  ถ้ากรดอ่อนแตกตัวน้อยมาก  อนุโลมให้ใช้ความเข้มข้นเดิมของกรดมาคิดค่า Ka  เสมือนหนึ่งไม่ได้แตกตัว  ค่าที่ได้ก็จะใกล้เคียงกับการคิดว่ามีการแตกตัว

                ค่า Ka ของกรดอ่อนต่าง ๆ ใช้ในการบอกความแรงของกรดอ่อนนั้น ๆ  กรดอ่อนที่มีค่า Ka มาก  จะมีความแรงของกรดมากกว่ากรดที่มีค่า Ka น้อย  แต่ในขณะเดียวกันเราสามารถแสดงด้วยค่า –log Ka เรียกว่า pKa  ของกรดแต่ละชนิดได้ด้วย  ความหมายของค่า  pKa  จะตรงข้ามกับค่า  Ka  คือถ้า  pKa  มาก  ความแรงของกรดจะน้อย  ดังตัวอย่างต่อไปนี้

 

Name

Formula

Ka

pKa

acetic

HC2H3O2

1.8 x 10-5

4.7

ascorbic (I)

H2C6H6O6

7.9 x 10-5

4.1

benzoic

HC7H5O2

6.4 x 10-5

4.2

boric (I)

H3BO3

5.4 x 10-10

9.3

boric (II)

H2BO3-

1.8 x 10-13

12.7

boric (III)

HBO32-

1.6 x 10-14

13.8

carbonic (I)

H2CO3

4.5 x 10-7

6.3

carbonic (II)

HCO3-

4.7 x 10-11

10.3

citric (I)

H3C6H5O7

3.2 x 10-7

6.5

citric (II)

H2C6H5O7-

1.7 x 105

4.8

citric (III)

HC6H5O72-

4.1 x 10-7

6.4

formic

HCHO2

1.8 x 10-4

3.7

hydrofluoric

HF

6.3 x 10-4

3.2


***  Ka  =  10-pKa

                ค่าคงที่สมดุลของกรดอ่อนแต่ละชนิดจะคงที่เมื่ออุณหภูมิคงที่  ทำนองเดียวกับค่าคงที่ของสมดุลทั่วไปดังที่ทราบมาแล้ว  ฉะนั้นสารละลายของกรดอ่อนชนิดเดียวกัน ณ อุณหภูมิเดียวกัน  ไม่ว่าจะเข้มข้นมากหรือน้อยก็จะมีค่าคงที่สมดุลหรือ  Ka  เท่ากัน  แต่ความแรงของความเป็นกรด (pH) ไม่เท่ากัน  ชนิดที่มีความเข้มข้นมากจะแรงกว่าชนิดที่เข้มข้นน้อย (pH ต่ำกว่า)

                สารละลายของกรดอ่อนต่าง ๆ  จะมีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร  3  ค่า  คือความเข้มข้นของสารละลายกรด  ร้อยละในการแตกตัวและค่า  Ka  เมื่อทราบตัวแปร  2  ค่า  จะคำนวณหาตัวแปรค่าที่  3  ได้

                ตัวอย่างต่อไปนี้จะแสดงความสัมพันธ์ของค่าทั้ง  3  ค่า  ดังกล่าวมาแล้ว  ของสารละลายกรดอะซิติก  คือ
                * ความเข้มข้น  1.00  mol/dm3 
                * ค่า  Ka = 1.8 x 10-5 
                * ร้อยละในการแตกตัว  1.34x10-0.5  

 จะแสดงด้วยตัวอย่าง  3  ตัวอย่าง  เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์ของค่าทั้ง  3  โดยใช้ค่าที่ทราบ  2  ค่า  เพื่อคำนวณหาค่าที่  3

 

ตัวอย่างที่ 1 ( ทราบความเข้มข้นและค่า  Ka  คำนวณหาร้อยละของการแตกตัว );
              สารละลายกรดอะซิติกมีความเข้มข้น  1.00  mol/dm3  อยากทราบว่ากรดอะซิติกแตกตัวร้อยละเท่าไร  ถ้าภาวะสมดุลและค่า  Ka  เป็นดังนี้

                CH3COOH(aq) ↔  CH3COO-(aq)  +  H+(aq)  ;  Ka  =  1.8 x 10-5 
               
วิธีทำ      Ka      =        [CH3COO-][H+

            1.8 x 10-5  =  [CH3COO-]2 / 1

                [CH3COO-]2  =  1.8 x 10-5
                [CH3COO-]  =  1.8 x 10-5

                                           =  1.34 x 10-2.5  mol/dm3 
หาร้อยละในการแตกตัวดังนี้
สารละลาย  CH3COOH  เข้มข้น  1.00  mol/dm3  แตกตัวได้           1.34 x 10-2.5  mol/dm3 
สารละลาย  CH3COOH  เข้มข้น  100.00  mol/dm3  แตกตัวได้      (1.34 x 10-2.5)(100)/1.00  =1.34x10-0.5  mol/dm3  ตอบ

 

ตัวอย่างที่ 2 ( ทราบความเข้มข้นและร้อยละของการแตกตัว คำนวณหาค่า  Ka  );
       สารละลายกรดอะซิติกมีความเข้มข้น  1.00  mol/dm3  แตกตัวได้ร้อยละ  1.34x10-0.5    อยากทราบว่าค่า  Ka  เป็นเท่าไร

วิธีทำ 

                สารละลาย  CH3COOH  เข้มข้น  100.00  mol/dm3  แตกตัวได้      1.34x10-0.5  mol/dm3 
                สารละลาย  CH3COOH  เข้มข้น  1.00  mol/dm3  แตกตัวได้           (1.34x10-0.5 )(1.00)/(100.00) mol/dm3   
                                                                                                                          =  1.34x10-2.5  mol/dm3   

                        CH3COOH(aq)          ↔          CH3COO-(aq)  +  H+(aq) 
             เริ่ม     1.00  mol/dm3                            -                  -

เปลี่ยนแปลง       1.00-1.34x10-2.5                                      
สมดุล               1.00-1.34x10-2.5                    1.34x10-2.5        1.34x10-2.5 

 

                        Ka      = [CH3COO-]2 / [CH3COOH]       = [1.34x10-2.5]2  =  1.8 x 10-5   ตอบ

ตัวอย่างที่ 3 ( ทราบค่า  Ka  และร้อยละของการแตกตัว คำนวณหาความเข้มข้น);
     สารละลายกรดอะซิติกมีค่า  Ka  =  1.8 x 10-5   แตกตัวได้ร้อยละ  1.34x10-0.5    อยากทราบว่ามีความเข้มข้นกี่ mol/dm3 
วิธีทำ  สมมติว่ามีความเข้มข้น  x  mol/dm3                      
            ถ้าเข้มข้น  100  mol/dm3   แตกตัวได้                 1.34x10-0.5                    mol/dm3                      
            ถ้าเข้มข้น  x  mol/dm3   แตกตัวได้                 (1.34x10-0.5)(x)/(100)        mol/dm3         
                                                                                  1.34x10-2.5(x)          mol/dm3                

                    CH3COOH(aq)           ↔       CH3COO-(aq)    +     H+(aq) 
  เริ่ม                  x  mol/dm3                             -                      -

เปลี่ยนแปลง        x-1.34x10-2.5 (x)                                      
สมดุล                 x-1.34x10-2.5 (x)           1.34x10-2.5 (x)     1.34x10-2.5 (x)

                        Ka         =       [CH3COO-]2 / [CH3COOH] 
                [CH3COOH]     =       [CH3COO-]2 / Ka

                        1           =      { [1.34x10-2.5](x)}2 / Ka
              1.8x10-5           =     (1.8x10-5)(x)2
                        x           =     1              ตอบ

หมายเหตุ  ณ อุณหภูมิคงที่  กรดอ่อนและเบสอ่อน  เมื่อมีความเข้มข้นมากขึ้น  ร้อยละในการตกตัวจะลดลง (ดูตัวอย่าง)
ตัวอย่าง  จงคำนวณหาร้อยละในการแตกตัวของกรด  CH3COOH  เมื่อสารละลายมีความเข้มข้น  4.00  mol/dm3
                ; Ka = 1.8x10-5
วิธีทำ      CH3COOH(aq) ↔  CH3COO-(aq)  +  H+(aq)  ; Ka = 1.8x10-5

         Ka         =        [CH3COO-][H+] / [CH3COOH]
  1.8x10-5        =        [CH3COO-]2 / 4
 [CH3COO-]2  =  4(1.8x10-5)
                     =   7.2 x 10-5
 [CH3COO-]   =  2.68 x 10-2.5

หาร้อยละในการแตกตัวดังนี้
สารละลาย  CH3COOH  เข้มข้น  4.00  mol/dm3  แตกตัวได้           2.68 x 10-2.5mol/dm3 
สารละลาย  CH3COOH  เข้มข้น  100.00  mol/dm3  แตกตัวได้      (2.68 x 10-2.5)(100)/4.00  =0.67x10-0.5  mol/dm3  ตอบ
(ย้อน
กลับไปดูเพื่อเปรียบเทียบกับตัวอย่างที่ 1  จะเห็นว่าในตัวอย่างนั้น CH3COOH  มีความเข้มข้น 1.00  mol/dm3  แต่มีร้อยละในการแตกตัว  1.34x10-0.5  ซึ่งมากกว่า 2.68 x 10-2.5   )

ความสัมพันธ์ระหว่างกรดอ่อนกับคู่เบส  และเบสอ่อนกับคู่กรด
                เมื่อพิจารณาความเป็นกรด – เบส  ตามทฤษฎีของบรอนสเต็ตและเลาว์รี  จะพบว่ากรดแต่ละชนิดจะมีคู่เบสของมัน(ให้สังเกตว่ากรดจะมี H มากกว่าคู่เบสอยุ่ 1 อนุภาค)  ขณะเดียวกันเบสแต่ละชนิดก็จะมีคู่กรดของมันด้วย (ให้สังเกตว่าคู่เบสจะมี H อยู่น้อยกว่าคู่กรดของมันอยู่  1 อนุภาค) มีหลักการอยู่ว่ากรดที่อ่อน  คู่เบสของมันจะมีความแรงของเบสมาก  เบสก็เช่นกัน  เบสที่อ่อนคู่กรดของมันก็จะมีความแรงของกรดมาก  ดังสมการ

 

 

ความแรงของกรดแสดงด้วยค่า  Ka  ขณะที่ความแรงของคู่เบสแสดงด้วยค่า  Kb  และ  Ka.Kb = Kw
 ถ้า  Ka  ของ  CH3COOH   เป็นดังนี้
                CH3COOH ↔  CH3COO-  +  H+  ;  Ka = 1.8 x 10-5  
 CH3COO-  ซึ่งเป็น  ;  คู่เบสของ  CH3COOH  จะมีสมดุลและค่า  Kb  ดังนี้.
                CH3COO-  +  H+  ↔   CH3COOH  ;  Kb = ?
               
                 Ka.Kb = Kw ;    Kb  = Kw / Ka   = 1.0 x 10-14 / 1.8 x 10-5   =  5.6 x 10-10

                สำหรับกรณีของเบสอ่อนก็จะเป็นทำนองเดียวกัน    เช่น  กรณีของ  NH3  ซึ่งเป็นเบส  จะมีคู่กรดของมันคือ  NH4+  ความแรงระหว่างเบสกับคู่กรดจะตรงข้ามกัน  เบสที่อ่อน  คู่กรดจะมีความแรงมาก  ดังสมการ


NH4+  ซึ่งเป็นคู่กรดของ  NH3   จะมีภาวะสมดุลดังสมการ
                NH4+  +  OH- ↔   NH3  +  H2O  ;  Ka  = …..
                ค่า  Ka  ของ  NH4+  คิดได้จากสมการ  Ka.Kb  =  Kw  ทำนองเดียวกับกรณีของกรดอ่อน  ดังแสดงต่อไปนี้
              NH3 + H2O  ↔   NH4+  +  OH-  ;  Kb = 1.8 x 10-5
                NH4+  ซึ่งเป็นคู่กรดของ  NH3  จะมีค่า  Ka  ดังนี้ 
           Ka.Kb = Kw ;    Ka  = Kw / Ka   = 1.0 x 10-14 / 1.8 x 10-5   =  5.6 x 10-10
               
หมายเหตุ  กรดอะซิติก (CH3COOH)  และแอมโมเนีย (NH3)  เป็นกรด – เบส  ที่มีค่า  Ka = Kb  คือ  1.8 x 10-5


แบบฝึกหัด       

1. Thallium(I) hydroxide is a strong base. Compute [Tl+] and [OH-] for a solution that is prepared by dissolving 1.0
    g of TlOH in enough water to make 500.0 mL of solution.  (Atomic weights: Tl = 204.4, O = 16.00, H = 1.008)
   (แทนเลียมไฮดรอกไซด์เป็นเบสแก่  ถ้าใช้  TlOH  1.0  กรัม  ทำให้เป็นสารละลาย  500  mL  อยากทราบว่าจะมีความเข้มข้น
    ของ Tl+  และ  OH-  ชนิดละกี่โมล/ลิตร)
    a)   4.5 x 10-3, 4.5 x 10-3   b)   4.5 x 10-3, 2.2 x 10-11     c)   9.0 x 10-3, 1.1 x 10-11
    d)   9.0 x 10-3, 1.1 x 10-12                 e)   9.0 x 10-3, 9.0 x 10-3

 

Bottom of Form

2.  Calculate the [NO3-], and [H3O+] in an aqueous solution containing 0.050 moles of HNO3 in 200.0 mL of water.
    (จงคำนวณหา  [NO3-]  และ [H3O+]  ในสารละลายของกรด  HNO3  จำนวน  0.050  โมล  อยู่ในสารละลาย  200 mL  ซึ่งมี
     น้ำเป็นตัวทำละลาย)
     a)   2.5 x 10-13, 2.5 x 10-1                         b)   2.5 x 10-12, 2.5 x 10-2                     c)   5.0 x 10-1, 5.0 x 10-1
     d)   5.0 x 10-2, 5.0 x 10-2  e)   2.5 x 10-1, 2.5 x 10-1

 

 

 

 

3.  Barium hydroxide is a strong base. Compute [Ba2+] and [OH-] for a solution that is prepared by dissolving
     6.0 x  10-2 mole of barium hydroxide in 500.0 mL of water. (Atomic weights: Ba = 137.33, O = 16.00, H = 1.008)
     (ถ้าแบเรียมไฮดรอกไซด์เป็นเบสแก่  จงคำนวณหา  [Ba2+] และ [OH-]  ในสารละลายที่เกิดจากแบเรียมไฮดรอกไซด์  6.0 x  
     10-2 mole  ละลายอยู่ในสารละลาย  500  mL  ซึ่งมีน้ำเป็นตัวทำละลาย)
     a)   1.2 x 10-1, 1.2 x 10-1   b)   2.5 x 10-1, 1.2 x 10-1          c)   1.2 x 10-2, 2.4 x 10-2
     d)   1.2 x 10-2, 1.2 x 10-2  e)   1.2 x 10-1, 2.4 x 10-1

 

 

4.   Write equations which represent the dissociation of each of these acids or bases in aqueous solution. Use a  
     single arrow in the case of a strong acid or base, and a double arrow to represent the equilibrium condition
     that exists in the solution of a weak acid or base. Show each step of dissociation for polyprotic acids
    (จงเขียนสมการแสดงการแตกตัวของกรด-เบสแต่ละชนิดตามที่กำหนด  เมื่อเกิดการละลายน้ำ  ถ้าเป็นกรดแก่หรือเบสแก่ให้
    ใช้ลูกศรทางเดียว  ถ้าเป็นกรดอ่อนหรือเบสอ่อนให้ใช้ลูกศร 2 ทาง  ถ้าเป็นกรดโพลิโปรติกให้แสดงขั้นตอนด้วย)
    a) KOH,             b) H3AsO4,            c) HClO4,               d) HCN,                 e) C6H5NH2 (a weak base)

 

 

 

5. Benzoic acid, C6H5CO2H, is an organic acid whose sodium salt , C6H5CO2Na, has long been used as a safe
    food additive to protect beverages and many foods against harmful yeasts and bacteria. The acid is
   monoprotic. Write the equation for it's Ka. 
   (กรดเบนโซอิก , C6H5CO2H  เป็นกรดอินทรีย์ซึ่งใช้ในการผลิตเกลือโซเดียมเบนโซเอต  , C6H5CO2Na  ที่ใช้เป็นสารกันบูดมา
    เป็นเวลานานแล้ว  กรดชนิดนี้เป็นประเภทโมโนโปรติก  จงเขียนสมการแสดงค่า  Ka  ของมัน)

 

6.  The pKa of HCN is 9.21 and that of HF is 3.17. Which is the stronger Bronsted acid: HCN or HF?
     (ถ้า  HCN  และ  HF  มีค่า  pKa  =  9.20  และ  3.17  ตามลำดับ  อยากทราบว่าชนิดใดมีความแรงของกรดมากกว่ากัน)

 

 

 

7. Periodic acid, HIO4, is an important oxidizing agent and a moderately strong acid. In a 0.10 M solution,
    [H+]=3.8 X 10-2 mol/L. Calculate the Ka and pKa for periodic acid
    (กรดพีริออดิก , HIO4  เป็นกรดแก่  พบว่าในสารละลายที่มีความเข้มข้น  0.10 M  มี  [H+]=3.8 X 10-2 mol/L  จงคำนวณหา
    ค่า  Ka  และ  pKa  ของกรดชนิดนี้)

8.  Write the equilibrium equations and the equations for Kb for each of the following Bronsted bases.
     (จงเขียนสมการแสดงภาวะสมดุล  และสมการแสดงการหาค่า  Kb  ของเบสอ่อนต่อไปนี้)
      (a) CN- (cyanide ion)


      (b) C2H3O2- (acetate ion) 

 

      (c)  C6H5NH2 (aniline)

 

      (d)  H2O

 

 

3.             Which statement is a logical consequence of the fact that a 0.10 molar solution of potassium acetate, KC2H3O2, is less basic than a 0.10 molar solution of potassium cyanide, KCN?
(ถ้าสารละลายโพแทสสเซียมอะซิเตต, KC2H3O2 ความเข้มข้น  0.1  โมลาร์  มีความเป็นเบสน้อยกว่าสารละลาย  โพแทสเซียมไซยาไนด์ ,KCN ซึ่งมีความเข้มข้น  0.1  โมลลาร์เท่ากัน  อยากทราบว่าข้อความในข้อใดสอดคล้องกับสมบัติที่ว่ามานี้)

                (A)   Hydrocyanic acid (HCN) is a weaker acid than acetic acid. (กรดไฮโดรไซยานิก  อ่อนกว่ากรดอะซิติก)

                (B)   Hydrocyanic acid is less soluble in water than acetic acid. (กรดไฮโดรไซยานิกละลายน้ำได้น้อยกว่ากรดอะซิติก)

                (C)   Cyanides are less soluble than acetates. (ไซยาไนด์  ละลายน้ำได้น้อยกว่าอะซิเตต)

                (D)   Acetic acid is a weaker acid than hydrocyanic acid. (กรดอะซิติกอ่อนกว่ากรดไฮโดรไซยานิก)

(Key ; These are both salts that contain the anion of weak acids.  The weaker the acid, the stronger it’s conjugate base will be.  The observation indicates that cyanide anion is a stronger base than acetate anion.  That means that hydrogen cyanide is a weaker acid than acetic acid.  The correct choice was A.)

 

 

 

4.    If the pKa of the acid HX is 8.0, the Kb for X- is
      (ถ้า  pKa  ของกรด  HX = 8.0  อยากทราบว่า  Kb  ของ X-  เป็นเท่าไร)

      (A)  108         (B)  10-8       (C)  106         (D)  10-6         (E)  None of these

(Key ; The relationship to know is KaKb = Kw = 10-14.    Ka = 10-pKa = 10-8. Do the math and you get
Kb = 10-6.   The correct choice was D. )

 

 

 

 

5.   A 0.30 M solution of a weak acid (HA) has an [H+] of 1.66 x10-4 M.  What is the Ka of this weak acid?
     (สารละลายกรดอ่อน  HA  ความเข้มข้น  0.3M  มี  [H+] =1.66 x10-4 M  อยากทราบว่าค่า  Ka  ของกรดดังกล่าวนี้เป็นเท่าไร)

                (A)   4.8 x 101       (B)   5.5 x 10-4      (C)   1.2 x 108       (D)   9.2 x 10-8

                (E)   The Ka cannot be calculated without additional information.

(Key ; Ka = [H+][A-]/[HA].  [H+] = 1.66 x10-4 M.  This is also the concentration of the acid anion due to the acid dissociation reaction stoichiometry.  Ka = (1.66 x10-4)2/(0.3), using the assumption that the dissociation is not significant in comparison to the initial concentration of HA.  Solve, Ka = 9.2 x 10-8.  The correct choice was D.)

 

 

 

6.  สารละลายของกรด  HF  ซึ่งมีความเข้มข้น 0.10 โมล/ลิตร  โดย  HF  แตกตัวได้ 8% จงคำนวณหาค่า Ka ของกรดนี้
     1.  5.0 x 10-2                          2.  4.5 x 10-4                          3.  6.9 x 10-4                          4.  4.2 x 10-3

 

 

7.  NH4OH เข้มข้น 0.5 mol/dm3 มีค่า Kb= 1.8 x 10–5 มีร้อยละการแตกตัวเท่าใด

 

8.  ในน้ำปูนใสมี  Ca(OH)2  ละลายอยู่  5.10 x 10-2  g/cm3  ถ้า  Ca(OH)2  เป็นเบสแก่ความเข้มข้นของ OH-ในสารละลายนี้
     เป็นเท่าใด (Ca = 40, O = 16, H = 1)

                1.  0.138 mol/dm3                                                2.  8.95 x 10-2  mol/dm3

                3.  1.38  x  10-2  mol/dm3                     4.  6.89 x 10-3  mol/dm3

 

 

9.  กรดแอสคอบิก จะแตกตัวได้ดังสมการต่อไปนี้
                 HC6H7O6 ↔   H+  +  C6H7O6-
    ณ ภาวะสมดุล กรดแอสคอบิกจะแตกตัว 0.01 % สารละลายของกรดนี้ 0.1 โมล/ลิตร จะมี  [H+]เท่าใด
   1.  1.0 x 10-2          2.  1.0 x 10-5          3.  1.0 x 10-4          4.1.0 x 10-6

 

 

 

10.  The pKa of HCN is 9.21 and that of HF is 3.17. Which is the stronger Bronsted base: CN- or F-?
       (ถ้า  pKa ของ HCN = 9.21  และ  pKa ของ HF = 3.17  อยากทราบว่า  CN-  กับ F-  ใครเป็นเบสแรงกว่ากัน)

 

 

11.  Calculate the molarity of an acetic acid solution that has [H3O+] of 9.0 x 10-4.  (Ka =  1.8 x 10-5)
       (จงหาความเข้มข้นของสารละลายกรดอะซิติก  ซึ่งมี  [H3O+] = 9.0 x 10-4  และ  Ka =  1.8 x 10-5)

 

 

12. The [H3O+] in a 0.072 M solution of benzoic acid is 2.1 x 10-3 M.  Compute the Ka.  (Benzoic acid is HC7H5O2)
      (สารละลายกรดเบนโซอิก  ความเข้มข้น  0.072 M  มี   [H3O+]  =  2.1 x 10-3 M  อยากทราบว่าค่า  Ka  ของกรดเบนโซอิก
      เป็นเท่าไร)

 

 

 13.  Calculate the concentration of the ions of a 0.100 M formic acid (HCOOH) solution. (Ka =  1.7 x 10-4)

     (สารละลายกรดฟอร์มิกความเข้มข้น  0.100 M  มีค่า  Ka =  1.7 x 10-4  อยากทราบว่าความเข้มข้นของไอออนใน
     สารละลายเป็นเท่าไร)

 

 

 

14.  Hydrocyanic acid is a weak acid with a Ka of 4.9 x 10-10.   Write the reaction for the dissociation of the acid.

      Write the expression for the acid dissociation constant (Ka). (กรดไฮโดรไซยานิกเป็นกรดอ่อน  จงเขียนสมการแสดง
      การแตกตัว  และเขียนสมการแสดงการหาค่า  Ka)

 

 

 

15.  What is the [H3O+] concentration when 0.25 moles of HCN is reacted with enough water to make 1 liter of
      solution.   Ka = 4.9x10-10 (ถ้าใช้  HCN  0.25  โมล  ทำให้เป็นสารละลาย  1  ลิตร  อนากทราบว่า   [H3O+]  เป็นเท่าไร) 





รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

Size : 72.30 KBs
Upload : 2013-07-28 07:17:00
ติชม

กำลังแสดงหน้า 1/0
<<
1
>>

ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :


K-Me
รายละเอียด Share
สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
วิทยาศาสตร์


โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
70 หมู่ 2 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170
โทรศัพท์ 0 2441 3593 E-Mail:satriwit3@gmail.com


Generated 0.846052 sec.