krusunsanee Article


การจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้วยเทคนิค Competency กับโครงการพระราชดำริ ผู้เขียน นางศันสนีย์ อรุณสินประเสริฐ
โลกยุคใหม่เป็นโลกแห่งการแข่งขัน โดยเฉพาะการแข่งขันทางประสิทธิภาพ ที่วัดได้จริง การจัดการด้านคนต้องวัดด้วยประสิทธิภาพ ใครที่เก่งและมีความรู้ด้านคนจะได้เปรียบและมีโอกาสมากกว่า ในขณะที่เทคโนโลยีสารสนเทศพัฒนาไว โลกยุคใหม่หรือยุคโลกาภิวัตน์จะสะท้อนให้เห็นว่า การจัดการทรัพยากรมนุษย์ต้องปรับตัว ต้องคิด ต้องวิเคราะห์และวางแผนให้พร้อม ให้เท่าทันและตรงกับเงื่อนไขใหม่ๆที่จะเกิดในอนาคต เทคนิคการบริหารทรัพยากรมนุษย์โดย Competency ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการแปลงกลยุทธ์ วิสัยทัศน์ หรือเป้าหมายขององค์กรมาสู่การปฏิบัติของบุคลากรในองค์กร และนำเป็นเครื่องมือในการบริหารทรัพยากรบุคคลให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร นักวิชาการที่ศึกษาเรื่อง Competency มักอ้างตามความคิดของ David C McClelland ที่กล่าวว่า Competency หมายถึงบุคลิกที่ซ่อนอยู่ในปัจเจกบุคคลซึ่งสามารถผลักดันให้ปัจเจกเหล่านั้นสร้างผลงานการปฏิบัติที่ดี หรือตามเกณฑ์ที่กำหนดในงานที่ตนรับผิดชอบ อาจสังเกต หรือวัดได้ในส่วนของทักษะ เช่น ความเชี่ยวชาญ ความชำนาญพิเศษ กับส่วนที่ไม่สารถมองเห็นได้ส่วนนี้จะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคลซึ่งเรียกว่าภูเขาน้ำแข็ง ถ้านิยามตามนี้จะมีบางส่วนที่อาศัยความสามารถของคนๆนั้นติดตัวตามมา เช่น อุปนิสัยและแรงจูงใจ David C McClelland ได้แสดงแนวคิดของเขาในเรื่องนี้ว่า” IQ (ประกอบด้วยความถนัดหรือความเชี่ยวชาญทางวิชาการ ความรู้ และความมั่งคั่งสู่ความสำเร็จ) ไม่ใช่ตัวชี้วัดที่ดีของผลงานและความสำเร็จโดยรวมแต่ Competency กลับเป็นสิ่งที่สามารถคาดหมายความสำเร็จในงานที่ดีกว่า ซึ่งสะท้อนให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า “ ผู้ที่ทำงานเก่ง”ไม่ได้หมายถึง” ผู้ที่เรียนเก่ง”แต่ผู้ที่มีความสามารถในการประยุกต์ใช้หลักการหรือวิธีการที่มีอยู่ในตัวเองเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ในงานที่ตนทำจึงจะกล่าวได้ว่าบุคคลนั้นมี Competency Competency ของคนเกิดจาก 1. พรสวรรค์ที่ติดตัวมาแต่เกิด 2. เกิดจากประสบการณ์การทำงาน 3. เกิดจากการอบรมพัฒนา 2 องค์ประกอบของ Competency ตามแนวคิดของ McClelland ประกอบด้วย 5 ส่วนดังนี้ 1. Skills สิ่งที่บุคคลกระทำได้ดีและฝึกปฏิบัติเป็นประจำจนเกิดความชำนาญ เช่นทักษะของหมอฟันในการอุดฟันโดยไม่ทำให้คนไข้เจ็บปวดหรือเสียวเส้นประสาท 2. Knowledge ความรู้เฉพาะด้านของบุคคล เช่นความรู้ภาษาอังกฤษ ความรู้ด้านบริหารต้นทุน 3. Self – concept ทัศนคติ ค่านิยมและความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของตนหรือสิ่งที่บุคคลเชื่อว่าตนเองเป็น เช่น Self – confidence คนที่มีความเชื่อมั่นในตนเองสูงจะเชื่อว่าตนแก้ปัญหาต่างๆได้ 3.Trait บุคลิกลักษณะประจำตัวบุคคล เป็นสิ่งที่อธิบายถึงบุคคลผู้นั้น เช่นเขาเป็นคนน่าเชื่อถือและไว้ใจได้ หรือเขามีลักษณะเป็นผู้นำ 4.Motive แรงจูงใจ motive หมายถึง ภาวะที่เกิดขึ้นในร่างกายเมื่อได้รับการกระตุ้นอย่างใดอย่างหนึ่งจากสิ่งเร้าภายนอกหรือเกิดจากสิ่งเร้าภายในทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมการตอบสนองออกมา การบริหารทรัพยากรมนุษย์ จึงถือเป็น ภารกิจหน้าที่สำคัญประการหนึ่งของผู้บริหาร ที่จะต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลปะ ในการจัดการวางแผนกำลังคน การสรรหา คัดเลือก และการบรรจุ บุคลากร ที่มีความรู้ ความสามารถเหมาะสมกับตำแหน่งงาน พร้อมทั้งสามารถใช้ประโยชน์ให้เกิดผลสูงสุด ธำรงรักษา และพัฒนาบุคลากรเหล่านั้น เพื่อผลสำเร็จขององค์กร โครงการของศูนย์ศิลปาชีพ บางไทร หนึ่งในโครงการในพระราชดำริ ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนารถ ทรงมีพระราชประสงค์จะจัดหาอาชีพให้ราษฎรทำเพื่อเพิ่มพูนรายได้ให้เพียงพอแก่การยังชีพในภาวะปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงสนพระทัยในงานฝีมือพื้นบ้าน หรือศิลปกรรมพื้นบ้าน พระองค์จึงส่งเสริมในเรื่องนี้ โดยการจัดให้มีครูออกไปฝึกสอนราษฎรเป็นการช่วยปรับปรุงคุณภาพของงานให้ดียิ่งขึ้น เมื่อราษฎรมีความชำนาญแล้วผลงานที่ผลิตออกมา ก็จะทรงรับซื้อไว้ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ซึ่งงานนี้ต่อมาได้ขยายออกไปเป็น มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2519 ได้ทรงจัดตั้งโรงฝึกอบรมศิลปาชีพขึ้นแห่งแรกที่พระตำหนักสวนจิตรลดา 3 วิธีดำเนินงานโครงการของศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรเป็นการบริหารทรัพยากรมนุษย์โดย ใช้เทคนิค Competency ตามแนวคิดของ McClelland เริ่มจาก 1. Knowledge ความรู้เฉพาะด้านของบุคคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถทรงรวบรวมผู้ที่มีความรู้จากถิ่นต่าง ๆ มาเป็น ครูช่าง (สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ 2534 : 174) เพื่อพัฒนาศิลปหัตถกรรมในหลายสาขา โดยเฉพาะสาขาที่กำลังจะเสื่อมถอยสูญหายไป เช่น ถมทอง คร่ำเงิน คร่ำทอง เป็นต้น เพื่ออนุรักษ์วิธีการผลิตและถ่ายทอดงานศิลปหัตถกรรมสาขาต่าง ๆ ให้แก่เยาวชนไว้เป็นการต่อเนื่อง เมื่อพบผู้มีฝีมือในหมู่บ้านต่าง ๆ จะทรงจดบันทึกไว้อย่างละเอียด เช่น คนนี้ทำลายสวย คนนั้นทอขึ้นเงา คนนี้ให้สีสวย และเมื่อต้องการครูที่จะมาฝึกสอนในเรื่องใด ๆ ก็จะทรงเปิดค้นหาจากบันทึกนี้ 2 . Skills สิ่งที่บุคคลกระทำได้ดีและฝึกปฏิบัติเป็นประจำจนเกิดความชำนาญ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้คัดเลือกลูกของเกษตรกรยากจนและไม่ได้เป็นแรงงานหลักของครอบครัว ซึ่งมีการศึกษาน้อย มาฝึกงานให้มีอาชีพและเป็นสมาชิกศิลปาชีพ ทรงพระราชทานอุปกรณ์และวัสดุฝึกงานทั้งหมด การเลือกผู้เรียน ทรงมีวิธีเลือกอย่างเข้าใจราษฎรอย่างแท้จริง เช่น จะพระราชทานคำแนะนำแก่ข้าราชการบริพารที่ตามเสด็จว่า 'อย่าดูฐานะหรือความเดือดร้อนของเขาจากการแต่งกาย เพราะบางคนเมื่อมีโอกาสเข้าเฝ้าจะเลือกเอาชุดที่สวยที่สุดมาแต่ง' ทรงแนะให้ดูที่แววตาของเขาจึงจะรู้ว่ามีความทุกข์ ความเดือดร้อนเพียงใด การเลือกคนที่มาฝึกศิลปาชีพ จึงไม่มี กฎเกณฑ์แต่ทรงมีสายใยขณะที่สัมผัสกับราษฎรของพระองค์ คนพิการก็รับเข้ามาฝึกโดยทรงรับสั่งว่า 'ตาและมือของเขายังใช้ได้ดี' ผู้ที่เข้ารับการฝึกนี้จะมีเข้ามามากทุกวัน การสอนจึงยากมากเนื่องจากผู้เรียนมี หลากหลาย ทั้งชาวเขา อิสลาม ทั้งผู้ที่อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ด้วย สำหรับผู้ที่อ่านไม่ออก ทรงรับสั่งว่า 'ช่วยสอนให้เขาอ่านออกเขียนได้ เพื่อเขาจะได้ไม่เสียเปรียบผู้อื่น' จึงมีการสอนพิเศษให้กับคนกลุ่มนี้ โดยสอนการอ่านเขียนขั้นพื้นฐาน บางครั้งก็ส่งไปเรียนที่โรงเรียนจิตรลดา ซึ่งสอดคล้องกับ David C McClelland ที่ได้แสดงแนวคิดของเขาในเรื่องนี้ว่า” IQ (ประกอบด้วยความถนัดหรือความเชี่ยวชาญทางวิชาการ ความรู้ และความมั่งคั่งสู่ความสำเร็จ) ไม่ใช่ตัวชี้วัดที่ดีของผลงานและความสำเร็จโดยรวมแต่ Competency กลับเป็นสิ่งที่สามารถคาดหมายความสำเร็จในงานที่ดีกว่า ซึ่งสะท้อนให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า “ ผู้ที่ทำงานเก่ง”ไม่ได้หมายถึง “ ผู้ที่เรียนเก่ง” แต่ผู้ที่มีความสามารถในการประยุกต์ใช้หลักการหรือวิธีการที่มีอยู่ในตัวเองเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ในงานที่ตนทำจึงจะกล่าวได้ว่าบุคคลนั้นมี Competency 4 ดังนั้น การจัดการเรียนการสอน จึงไม่กำหนดว่าแผนกไหนจะต้องใช้ครูกี่คนต่อนักเรียนเท่าไร การสอนก็ไม่มีหลักสูตรจะสอนจนกว่านักเรียนสามารถนำไปใช้งานได้ เว้นแต่ผู้ที่ต้องการอยู่ฝึกต่อจนชำนาญมาก ๆ และอาจยกฐานะขึ้นมาเป็นครู 3. Motive แรงจูงใจ motive หมายถึง ภาวะที่เกิดขึ้นในร่างกายเมื่อได้รับการกระตุ้นอย่างใดอย่างหนึ่งจากสิ่งเร้าภายนอกหรือเกิดจากสิ่งเร้าภายในทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมการตอบสนองออกมา ทรงจัดสวัสดิการให้แก่ครูและผู้เข้ารับการฝึกอาชีพในด้านที่พัก ครูและผู้ฝึกที่มาจากต่างจังหวัดจะทรงจัดที่พักอาศัยให้ พวกผู้ชายจะอยู่หอพักที่ไม่ไกลจากวังสวนจิตรลดา ส่วนผู้หญิงจะให้อยู่ในพระราชวังฝ่ายใน และถ้าเขาชอบพอกันก็จะให้ท่านผู้หญิงสุประภาดา เกษมสันต์ ราชเลขานุการในพระองค์จัดการแต่งงานให้และพระราชทานที่ที่บางไทรให้อยู่ มีรถรับ - ส่งจากบางไทรมาทำงานที่สวนจิตรลดา ทุกคนจะมีเบี้ยเลี้ยง คนที่มีฝีมือและอยู่มานานจะได้เงินเดือนซึ่งจะขึ้นให้อยู่เสมอและถ้างานฝีกมือที่ทำนั้นดีมีคุณภาพ จะพระราชทานรางวัลให้เป็นพิเศษ นอกจากนี้ในระหว่างปีจะมีการพาไปทัศนศึกษาด้วย 4. Trait บุคลิกลักษณะประจำตัวบุคคล เป็นสิ่งที่อธิบายถึงบุคคลผู้นั้น เช่นเขาเป็นคนน่าเชื่อถือและไว้ใจได้ หรือเขามีลักษณะเป็นผู้นำ การนำชาวบ้านในแต่ละหมู่บ้านมาฝึกอาชีพ จะทรงนำมาเป็นกลุ่ม โดยมีพระราชประสงค์ว่าเมื่อกลับไปแล้ว จะได้รวมตัวกันทำงานอาชีพได้ ในการคัดเลือกคนเข้ามาฝึกทรงพิจารณาจากความถนัดและสภาพภูมิลำเนาเดิม เพื่อจะได้นำความรู้กลับไปประกอบอาชีพได้อย่างแท้จริง ทรงจัดการฝึกให้โดยมุ่งเป็นวิทยาทานให้ประชาชนเหล่านั้นมีอาชีพติดตัวแล้วกลับไปพัฒนาประเทศ สมาชิกที่ได้รับการฝึกที่แสดงความสามารถถึงขั้นที่จะรับการฝึกต่อ พระองค์ท่านก็จะทรงนำกลับมาที่โรงฝึกที่สวนจิตรลดาจำนวนหนึ่ง ส่วนสมาชิกที่เหลือก็แยกย้ายกันไปทำงานตามบ้านหรือตามหมู่บ้านที่เขาอยู่ตลอดต่อไปทั้งปี ระหว่างที่เข้ารับการฝึกนี้ พระองค์ท่านก็พระราชทานเบี้ยเลี้ยงประจำวันให้และระหว่างที่เรียนตั้งแต่เช้าเวลา 8.30น.ถึง 16.00 น. ก็จะพระราชทานอาหารกลางวันให้ด้วย จัดที่พักให้อยู่ พวกผุ้ชายก็ให้อยู่ในระยะที่สามารถเดินทางไปทำงานหรือเดินมาโรงเรียนได้ ส่วนผู้หญิงพักในพระบรมมหาราชวัง ในส่วนที่เป็นที่พักของผู้หญิงของฝ่ายใน (สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ, 2533 : 179) ส่วนกำหนดเวลาว่าแต่ละคนจะอยู่ฝึกนานเท่าไรนั้น มิได้กำหนดขึ้นอยู่กับวิชาที่ฝึกและความสมัครใจ ไม่ทรงหวังว่าราษฎรทุกคนที่มาฝึกจะกลับไปทำทรงหวังแต่เพียงว่าเมื่อถึงโอกาสวันหนึ่งงานศิลปหัตถกรรมเหล่านี้จะช่วยให้เข้าได้เงินมา 5 5. Self – concept ทัศนคติ ค่านิยมและความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของตนหรือสิ่งที่บุคคลเชื่อว่าตนเองเป็น เช่น Self – confidence คนที่มีความเชื่อมั่นในตนเองสูงจะเชื่อว่าตนแก้ปัญหาต่างๆได้ โครงการฝึกอาชีพสำหรับสมาชิกศิลปาชีพฯ ในโรงฝึกศิลปาชีพสวนจิตรลดา นอกจากจะฝึกและส่งเสริมให้มีความรู้ ความสามารถในด้านของอาชีพต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือ ตนเองและครอบครัวแล้ว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงมีพระราชประสงค์ให้มี การอบรมให้สมาชิกศิลปาชีพได้รู้จักประเทศไทยดีพอที่จะภาคภูมิใจในความเป็นคนไทยผู้มีฝีมือของประเทศ ให้รู้ทั่ว ๆ ไปเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ความเป็นมา ความเป็นหนึ่งและเอกราชของชาติไทยว่ารักษาไว้ด้วยความยากลำบากเพียงไหน ซึ่งต่อไปในอนาคต เขาจะต้องมีบทบาทเพื่อธำรงชาติไทยให้อยู่อย่างเป็นเอกราช ทรงให้เรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของประเทศเพื่อนบ้าน ความล้มเหลว การที่จะต้องตกเป็นเมืองขึ้นของคนอื่น จนกระทั่งต้องสิ้นชาติ เพื่อที่เขาจะได้รู้จักรักษาเอกราชของประเทศ และความเป็นคนไทยมั่นคงขึ้น นอกจากนั้นก็ให้มีความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรต่าง ๆ ของประเทศว่ามีอะไรบ้าง ไม่ทรงต้องการให้ ละทิ้งอาชีพดั้งเดิมเพราะว่างานศิลปาชีพนี้เป็นงานเสริมอาชีพเกษตรกรรม แต่ก็ให้รู้ว่าทำไปเพื่ออะไร ไม่ใช่เฉพาเพื่อตัวเขาเอง แต่เพื่อส่วนรวมด้วย ทรงจัดหาตลาดจำหน่ายผลผลิตของสมาชิกศูนย์ศิลปาชีพ ทั้งภายในประเทศและตลาดต่างประเทศให้ด้วย ทรงเปิดร้านจิตรลดาขึ้นหลายแห่งในประเทศเพื่อเป็นสถานที่จำหน่ายสินค้าจากโครงการศิลปาชีพโดยเฉพาะ ส่วนตลาดในต่างประเทศนั้น เมื่อพระองค์ทรงพระราชดำเนินเยือนประเทศใด จะทรงนำศิลปหัตถกรรมไทย และสินค้าประดิษฐ์ของมูลนิธิศิลปาชีพพิเศษไปเผยแพร่เป็นการเปิดตลาดสินค้าหัตถกรรมของไทยให้กว้างขวางขึ้นเสมอ เช่น การเสด็จพระราชดำเนินไปยังสหรัฐอเมริกาเมื่อเดือนมีนาคม 2528 เพื่อทรงนำผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพและศิลปวัตถุโบราณของไทยไปแนะนำ เผยแพร่ตามคำกราบบังคมทูลเชิญจากลุ่มบุคคล สถาบันต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกา และเมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐอเมริกาเพื่อทรงรับรางวัลมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.ก็ได้ทรงนำงานศิลปหัตถกรรมฝีมือสมาชิกศิลปาชีพ ไปจัดแสดงนิทรรศการเผยแพร่เพื่อให้ชาวต่างประเทศมีความเข้าใจและชื่นชมในศิลปหัตถกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ไทย มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ จึงเป็นการจัดการบริหารทรัพยากรมนุษย์โดย Competency คือ พระราชทานโครงการศิลปาชีพไปทั่วทุกภาค แล้วแต่ว่าศิลปหัตถกรรมของพื้นที่ไหนจะมีลักษณะเพื่อหาพรสวรรค์และประสบการณ์การทำงานของราษฏร หลังจากนั้นให้ความรู้โดยการอบรมพัฒนา เช่น 6 ภาคเหนือ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สอนการเย็บปักถักร้อย การทอผ้าทั้งผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้าตีนจก รวมทั้งผ้าปักของพวกชาวเขา ภาคอีสาน ทรงแนะนำให้ราษฎรทอผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าแพรวา ผ้าขิด และส่งเสริมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ภาคกลาง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการสอนทำดอกไม้ประดิษฐ์การปั้นตุ๊กตาชาววัง การจักสาน รวมทั้งการถนอมอาหารเป็นต้น ภาคใต้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ทอผ้าไหม ทอผ้าฝ้าย จักสานย่านลิเภา สานเสื่อกระจูด เป็นต้น พระราชกรณียกิจของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในด้านศิลปาชีพ ได้ขยายครอบคลุมไปทุกภาคของประเทศ มีโรงฝึกศิลปาชีพสวนจิตรลดา ซึ่งตั้งอยู่ภายในบริเวณสวนจิตรลดา กรุงเทพมหานคร เป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอนศิลปาชีพแขนงต่างๆ และเป็นศูนย์กลางของผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพจากราษฎรทั่วประเทศในภาคกลางครอบคลุมทั้งกรุงเทพมหานคร พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง กำแพงเพชร พิษณุโลก ภาคตะวันออกก็ครอบคลุมจังหวัดปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี จันทบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา ภาคตะวันตกก็ได้แก่ จังหวัดเพชรบุรี ราชบุรี และตาก ภาคเหนือได้แก่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา และอุตรดิตถ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้แก่ จังหวัดนครพนม มุกดาหาร สกลนคร อุดรธานี หนองบัวลำภู หนองคาย กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี ยโสธร ขอนแก่น ชัยภูมิ เลย บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และนครราชสีมา ภาคใต้ก็ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี นครศรีธรรมราช สงขลา สุราษฎร์ธานี และยะลา (กองศิลปาชีพ, 2542 : 8) นอกจากนี้ยังมีศูนย์ศิลปาชีพต่าง ๆ อีกหลายแห่งได้แก่ ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร ศูนย์ศิลปาชีพบ้านกุดนาทม ศูนย์ศิลปาชีพบ้านจาร ศูนย์ศิลปาชีพจังหวัดแม่ฮ่องสอน ศูนย์ศิลปาชีพบ้านห้วยเดื่อ ศูนย์ศิลปาชีพบ้านแม่ต๋ำ ศูนย์ศิลปาชีพเครื่องปั้นดินเผา พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ และศูนย์ศิลปาชีพบ้านวัดจันทร์ เป็นต้น ในปัจจุบันองค์กรชั้นนำหลายแห่งได้นำแนวคิดเรื่อง Competencyมาใช้ในการพัฒนาและบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างกว้างขวาง เนื่องจากแนวคิดดังกล่าวสามารถใช้ในการสรรหา คัดเลือก พัฒนา สร้างการมีส่วนร่วมของบุคลากร และประเมินผลงานของบุคลากรได้โดยตรงวัตถุประสงค์ขององค์กรมากที่สุด ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้พอจะเป็นแนวทางนำ Competency ไปประยุกต์ ใช้ในหน่วยงานอื่นตลอดจนเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจแนวคิดนี้ต่อไป

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ติชม

กำลังแสดงหน้า 1/0
<<
1
>>

ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

1
คะแนนโหวด
สร้างโดย :


krusunsanee
รายละเอียด Share
สถานะ : ผู้ใช้ลงทะเบียน
ภาษาไทย


โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
70 หมู่ 2 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170
โทรศัพท์ 0 2441 3593 E-Mail:satriwit3@gmail.com


Generated 0.028491 sec.